Avsnitt
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/YTl3nqu84G8
เดินหนี ทำเป็นมองไม่เห็น ไม่อยากรับรู้ หรือพล็อตคลาสสิกในละครอย่างการตำหนิวิจารณ์ เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริงเมื่อเกิดเหตุการณ์พ่อแม่ไม่ยอมรับแฟน แถมเรื่องจริงก็ไม่ได้ตลกแต่ชวนเครียด แก้ยาก และเป็นปัญหาโลกแตก
หลายคนใช้วิธีการต้อง ‘เลือก’ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่ากระทบต่อความสัมพันธ์ Open Relationship จึงอยากชวนมองให้เห็นว่าภายใต้การไม่ยอมรับของพ่อแม่ แท้จริงแล้วมีความรู้สึกอะไรซ่อนอยู่ และถ้าต้องเจอปัญหามีทางเลือกไหนที่ทำได้บ้าง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังอยากแก้ปัญหานี้ร่วมกันหรือเปล่า
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/tdHk3nmqZL8
Open Relationship พูดอยู่เสมอว่า ‘ในความรักมีความเจ็บปวด’ เพราะทุกความสัมพันธ์อาจพาเราไปเจอความผิดหวัง ตั้งแต่ถูกปฏิเสธ ทะเลาะเบาะแว้ง จนถึงสถานการณ์อย่างการมีมือที่สาม ซึ่งเมื่อถึงทางที่ต้องเลือกหลายคนอาจมีคำถามว่า ‘ถ้าต้องมีใครเจ็บสักคน คนนั้นควรเป็นใคร?’
Open Relationship ไม่มีคำตอบให้ แต่อยากชวนพิจารณาทางเลือกทั้ง 3 ทางว่าการทำให้คนรักเจ็บ ทำให้มือที่สามเจ็บ หรือเราเลือกที่จะเจ็บเอง แต่ละทางมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และถ้าอยากจัดการปัญหาให้ถูกจุด ควรเริ่มที่ตรงไหน เพราะไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ต้องมีคนเจ็บอยู่ดี
-
Saknas det avsnitt?
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/MzxVgxyiPyM
การตัดสินใจบอกเลิก บางทีเกิดขึ้นเพราะอารมณ์โมโห ความน้อยใจ หรือความโกรธ และฝ่ายบอกเลิกอาจเต็มไปด้วยความลังเล แต่เมื่อความสัมพันธ์เดินมาจนสุดทาง การบอกเลิกอย่างมีสติ ไร้ความขุ่นเคือง อาจเป็นทางออกที่หลายคนปรารถนา
เพื่อให้การบอกเลิกไม่เต็มไปด้วยอารมณ์ Open Relationship ชวนมองถึงปัจจัยว่ามีสถานการณ์อะไรบ้างที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าความสัมพันธ์กำลังสิ้นสุด และให้การบอกเลิกครั้งนี้เป็นครั้งที่แน่ใจจริงๆ
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/telcru8vF6c
หลังเลิกงานเหนื่อยๆ อยากมีคนให้กำลังใจ วันเสาร์-อาทิตย์ที่ว่างอยากมีคนไปเที่ยวด้วย แต่ความรู้สึกนั้นไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะอยากแบ่งเวลาไปอยู่กับตัวเองและทำงาน อย่างนี้อยากมีแฟนแค่บางเวลาได้ไหม?
Open Relationship ชวนมองความคาดหวังที่มีต่อความสัมพันธ์ใหม่ๆ ที่ต่างจากความเชื่อเดิมว่าความสัมพันธ์รักต้องอยู่ด้วยกัน ต้องซัพพอร์ตกันตลอดเวลา เพราะการมีแฟนอาจถูกมองให้งดงามก็ได้ เป็นภาระก็ได้ แล้วอย่างนี้การมีแฟนแค่บางเวลาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงไหม?
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/JgYTT-3lj2o
เพราะความรักเป็นผู้มาเยือน บางทีความรักก็มาหาเราฝ่ายเดียว แต่ไม่ได้มาหาเขาผู้เป็นเป้าหมายด้วย อาการตกหลุมรักอยู่ฝ่ายเดียวจึงเกิดขึ้น
Open Relationship อยากชวนคิดว่าเพราะความรักเป็นเรื่องบังคับกันไม่ได้ แต่จะรอให้เป้าหมายชอบเราตอบก็อาจจะช้าไปหน่อยหรือไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถึงเขาจะไม่ตกหลุมรักเราตั้งแต่แรก แต่เราก็เพิ่มโอกาสตัวเองให้เขาชอบมากขึ้นได้ ทำอย่างไรจึงจะไม่ล้ำเส้นจนเขาอึดอัด และปล่อยให้เวลาทำงานอย่างเป็นธรรมชาติ
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/UlTOM3H_Omc
รักคนมีเจ้าของ, มีเจ้าของอยู่แล้วแต่ดันไปรักอีกคน, รักเจ้านาย, รักแฟนเพื่อน, รักเพื่อนของแฟน ทั้งหมดล้วนเป็นความรักที่ผิดกติกา ท้าทายศีลธรรม แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้
Open Relationship ชวนสำรวจสถานการณ์ ‘รักต้องห้าม’ ที่หลายคนมักถูกแนะนำให้ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม หยุดสร้างโอกาส ไม่ใกล้ชิด และห้ามใจ แต่ใจคนไม่ใช่เรื่องที่จะห้ามกันได้ง่ายๆ เพราะแรกรักมักรุนแรงเสมอ ดังนั้นแล้วจะเลือกอยู่ในกรอบกติกาหรือยอมกระโดดข้ามกำแพง มาพิจารณาพร้อมกันในเอพิโสดนี้
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/Jt50C3-54mw
ใกล้ถึงวันที่ 11 เดือน 11 Open Relationship เลยขอถือโอกาสพูดถึงคนโสดที่กำลังอยู่ในโลกที่ให้คุณค่ากับความสัมพันธ์แบบโรแมนติกสูงว่า การไม่มีคนรักอาจไม่ได้ทำให้คุณค่าของคุณและความหมายของการมีชีวิตอยู่ลดน้อยลง
เพราะการมีคู่ที่หลายคนให้คุณค่าไม่ได้หมายถึงการมีความสัมพันธ์กับใครสักคนเท่านั้น แต่หมายถึงต้องมี ‘ความสัมพันธ์ที่ดี’ ด้วย ฉะนั้นแล้วการยืนเดี่ยวอาจไม่ใช่เรื่องแย่ เพราะถ้าเปิดตาให้กว้างเรายังมีความสัมพันธ์ชุดอื่นๆ ที่ช่วยประคับประคอง แบ่งปัน ให้เราผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ไปได้ รวมถึง ‘ความสุข’ ที่สามารถสร้างได้แม้ว่าจะอยู่คนเดียวไปจนตายก็ตาม
-
ความรักเป็นฝ่ายมาเยือนเราโดยไม่เลือกเวลา ไม่เลือกคน และบางครั้งก็มาเยือนในขณะที่เรามีคนรักอยู่แล้ว!
Open Relationship พูดอยู่เสมอว่ามนุษย์สามารถรักคนได้มากกว่า 1 คน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ‘รักที่มากกว่าหนึ่ง’ จึงนำไปสู่ความสับสนว่าคนนั้นก็ดี คนนี้ก็ใช่ เพราะคนคนเดียวอาจตอบโจทย์ความต้องการไม่ได้ทุกอย่าง
ในสถานการณ์ยากลำบากที่ต้องตัดสินใจ Open Relationship ขอนำข้อเสนอ 4 ข้อที่จะช่วย ‘เลือก’ คนที่ตรงกับใจเรามากที่สุด
-
ไม่ว่าจะเพิ่งรู้ตัวว่ารักมากแค่ไหน หรืออยากลองพยายามกันใหม่ แต่หลายคู่ที่เลิกรากันอาจมีความคิด ‘อยากให้แฟนเก่ากลับมา’ รักกันเหมือนเดิม
Open Relationship ไม่ได้อยากช็อตฟีลใคร แต่อยากชวนคิดว่า การอยากให้แฟนเก่ากลับมามักผูกติดอยู่กับความทรงจำที่เรามักจำแต่เรื่องราวดีๆ แล้วเขาคนนั้น ‘เป็น’ อย่างที่เราคิดจริงๆ หรือเป็นเพียงคนในเวอร์ชันที่เราอยากให้เป็น รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่ทำให้แยกย้ายกันไปนั้นได้รับการจัดการหรือยัง
ความรู้สึกโหยหาแฟนเก่าจึงเป็นเรื่องซับซ้อนกว่าที่คิด ดังนั้นลองตั้งสติและถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ให้ดีเสียก่อน
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/HKdjhloRlxY
รักครั้งเก่าที่ฝังใจ ไม่เพียงแค่ทำให้วนอยู่ที่เดิม ไปต่อไม่ได้ แต่ทุกครั้งที่นึกถึงกลับพาความรู้สึกของคืนวันเก่าๆ กลับมา และกลายเป็นมุมมองที่ใช้เปรียบเทียบกับรักครั้งใหม่
Open Relationship เข้าใจว่าหลายคนอยากจัดการกับ ‘รักสลักจิต’ ด้วยการ ‘ลืม’ เลยอยากชี้ชวนว่านั่นอาจไม่ใช่คำตอบ เพราะแท้จริงแล้วความทรงจำลบทิ้งไม่ได้ สิ่งที่ทำได้คือการไม่วิ่งตามความรู้สึกที่เกิดขึ้น และเตือนตัวเองว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงมีทั้งบวกและลบ และเขาคนนั้นเป็นเพียงช่วงหนึ่งของชีวิตที่ผ่านไปแล้ว
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/Uigwc6x1bG8
ไม่ว่าจะเลิกกันไม่นานหรือผ่านไปนานเป็นปี การออกจากความสัมพันธ์ล้วนสร้างความเจ็บปวดและเสียใจไม่มากก็น้อยเสมอ
เพื่อตัดใจให้ได้ Open Relationship ขอเสนอวิธี No Contact Rule คือกฎเหล็กของการตัดขาด ทั้งโซเชียลมีเดีย สถานที่ สิ่งของ และกิจกรรมที่เคยทำด้วยกัน เพื่อให้มีเวลาตั้งหลักกับตัวเอง มองความสัมพันธ์ที่ผ่านไปให้ชัดเจนขึ้น
แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องยาก และหลายคนอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถจะ ‘No Contact’ กันได้ แต่การเริ่มต้นสร้างระยะห่างทางใจและการเตือนตัวเองให้ชัดเจนว่า “เราเลิกกันแล้ว” อาจเป็นสเต็ปแรกที่ทำให้ชีวิตก้าวไปข้างหน้า
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/OBSU8-55rbg
เห็นชื่อเอพิโสดหลายคนตอบได้ทันทีว่าสำคัญเท่ากัน แต่มันคนละแบบ
แต่ช้าก่อน Open Relationship เอพิโสดนี้อยากชวนดูความสัมพันธ์กับแฟนและเพื่อนแบบใกล้ๆ เพราะแท้จริงแล้วมันคือความสัมพันธ์ซ้อน!
เพราะองค์ประกอบของความสัมพันธ์ที่ประกอบด้วยความรักแบบโรแมนติก เซ็กซ์ และการเป็นเพื่อนคู่คิด บางครั้งเพื่อนก็ทำหน้าที่ได้มากกว่า เพื่อนรู้ใจ เข้าใจ แถมยังซัพพอร์ตทางอารมณ์ แบบที่บางทีแฟนก็ให้ไม่ได้ แล้วอย่างนี้ใครสำคัญกว่า? และถ้ามันสำคัญพอๆ กัน เราจะจัดการหรือวางระยะห่างอย่างไรให้ทั้ง ‘แฟน’ และ ‘เพื่อน’ เป็นคนสำคัญที่ยังอยู่ในชีวิต
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/beBj70uj-EE
ความสัมพันธ์กับพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว พูดง่ายๆ ว่าคบกับคนมีลูกติด เป็นความสัมพันธ์ที่แตกต่าง เพราะนอกจากครอบครัวและเพื่อนฝูงของอีกฝ่ายแล้ว ยังมีคนสำคัญที่สุดคือ ‘ลูก’ ของเขาที่ความสัมพันธ์ของเราไป ‘ซ้อน’ เข้าเต็มๆ
Open Relationship ชวนคิดว่าถ้าจะคบกับคนที่เป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว มีอะไรที่ต้องตระหนัก ทั้งการแบ่งเวลา ความต้องการ รวมถึงการเข้าไปเล่นบทบาทพ่อหรือแม่ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะไม่มีใครแทนใครได้ และที่สำคัญคือเมื่ออีกฝ่ายมีคนที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือ ‘ลูก’ ทุกคนในความสัมพันธ์จะจัดวางระยะและตำแหน่งอย่างไรให้เหมาะสม
และแน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/yCChxNmNbCs
เซ็กซ์นอกความสัมพันธ์ เซ็กซ์กับคนที่ไม่ได้แต่งงานด้วย เป็นเรื่องผิดบาปในสายตาของใครหลายคน โดยเฉพาะเซ็กซ์ที่มาจากการซื้อบริการ บางคู่รับได้ บางคู่รับไม่ได้
Open Relationship ชวนตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ในฐานะคนคนหนึ่งว่า เราสามารถตอบสนองคู่ของเราได้ทุกเรื่องจริงหรือ โดยเฉพาะรสนิยม รูปแบบ และความต้องการเรื่องเซ็กซ์ที่ไม่ตรงกัน เพราะอะไรการซื้อบริการทางเพศของผู้ชายเป็นเรื่องที่สังคมรับได้มากกว่าผู้หญิง และหากรู้ว่าคู่ของเราซื้อบริการทางเพศ จะทำอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/K89QPwecYxw
ความรักกับอำนาจ ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้าม
เพราะความรักคือการทะนุถนอม ดูแลเอาใจใส่ และปรารถนาให้คนรักเป็นสุข ส่วนอำนาจคือการห้ำหั่น ต่อสู้แย่งชิง ฟาดฟัน กระทั่งถึงการใช้กำลัง
แต่หากลองพิจารณาให้ดี ความรักความสัมพันธ์มีอำนาจอยู่ในนั้นเสมอ อยู่ในองค์ประกอบเล็กๆ จนถึงเรื่องใหญ่ ทั้งอำนาจการตัดสินใจ อำนาจการต่อรองให้อีกฝ่ายทำอย่างที่ต้องการ หรืออำนาจการบังคับขู่เข็ญ ความรักจึงเป็นการต่อสู้เชิงอำนาจที่ไม่ว่าใครก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงพ้น
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/ejpv2-orlRQ
Love Bombing คือยุทธวิธีความรักที่ล็อกเป้าหมาย เร่งให้เข้าสู่ความสัมพันธ์ เมื่ออีกฝ่ายตอบตกลงก็พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
และคุณอาจกำลังตกเป็นเหยื่อ!
Open Relationship ชวนให้รู้จัก Love Bombing ที่คุณอาจเป็นผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ชวนให้สังเกตสัญญาณความรักที่โรแมนติกจนเหนือจริง สปีดความสัมพันธ์ที่เร็วกว่าปกติ ความเข้ากันได้อย่างไร้ที่ติ เมื่อตกลงเป็นแฟนก็เปลี่ยนกลายเป็นอีกคน ทั้งหมดเพื่อกลับมาพิจารณาความสัมพันธ์ว่าเรากำลังเป็นเหยื่อในกำมือของใครหรือไม่
-
สำหรับคนส่วนใหญ่อาจคิดว่าการจากเป็นดีกว่าการจากตาย เพราะอย่างน้อยในอนาคตอาจมีโอกาสได้กลับมาพบเจอกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน คืนดี หรือแม้แต่การแก้แค้น แต่สำหรับการจากตายคือการสิ้นสุดที่ไม่มีวันได้พบเจอกันอีก
Open Relationship ชวนตั้งคำถามกับการจากตายว่า จริงหรือที่เราไม่สามารถทำแบบนั้นได้?
เพราะในความรัก เราไม่ได้สัมพันธ์กันเพียงแค่สังขารเท่านั้น แต่เป็นเจ้าของความรู้สึก ความทรงจำ และประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งไม่มีวันจากไปไหน และจะยังคงอยู่ตลอดไป
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/dOCnzivcwfY
เมื่อความสัมพันธ์หนึ่งจบลง บางคนเลือกที่จะไม่เว้นวรรค แต่กระโดดเข้าสู่ความสัมพันธ์ใหม่ทันทีโดยไม่ได้มาจากความรัก ซึ่งนั่นอาจกลายเป็นเพียงความสัมพันธ์คั่นเวลา
Open Relationship ชวนมองความสัมพันธ์คั่นเวลา หรือ Rebound Relationship ทั้งในมุมของผู้เลือกความสัมพันธ์รูปแบบนี้ที่ใจยังอยู่กับคนเก่า แต่กลับดึงคนใหม่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาเดิม และในมุมของอีกฝ่ายจะพิจารณาอย่างไรว่าตัวเองเป็นแค่ ‘คนคั่นเวลา’ ไม่ใช่คนรักตัวจริง
แม้ว่าความสัมพันธ์คั่นเวลาอาจไม่สามารถตัดสินได้ว่าถูกหรือผิด แต่ก็สร้างความสับสนและเจ็บปวดให้กับทุกฝ่ายได้เช่นกัน
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/2vFElRD39KU
พ่อแม่ ครอบครัว คือความสัมพันธ์ชุดแรกที่เรารู้จัก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ความสัมพันธ์ชุดนี้จะกรอบการมองโลกและรูปแบบความรัก ที่หลายครั้งก็วิ่งหาในสิ่งที่ขาดและต้องการเพิ่มในสิ่งที่เกินอยู่เสมอ
และเมื่อลูกมีความรัก เซ็ตความต้องการของพ่อแม่กับคนรักก็ชนเข้าอย่างจัง! ทั้งการให้ความสำคัญ เวลา การใส่ใจดูแล กลายเป็น ‘คนกลาง’ ที่ปวดหัว และถูกบีบบังคับให้ต้องเลือก
Open Relationship คลี่ให้เห็นอิทธิพลของพ่อแม่ว่ามีผลต่อความสัมพันธ์อย่างไร ทั้งการมองโลก จนถึงความต้องการที่ปะทะกัน และเมื่อเกิดปัญหาทุกฝ่ายจะหาทางออกร่วมกันได้อย่างไร
-
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/y-boCBuAlHg
แฟนรายการ Open Relationship ที่ฟังมาจนถึงเอพิโสดที่ 89 อาจเกิดความรู้สึกว่าความรักมีแต่ความทุกข์ ไม่อยากมีความรักแล้ว หรือเผลอๆ ก็คิดว่าความรักเป็นเรื่องน่ากลัว
ความรักอาจเป็นเรื่องน่ากลัวอย่างที่ว่า เพราะเป็นสิ่งที่นึกจะมาเมื่อไรก็มา คาดเดาและควบคุมไม่ได้ วิ่งไล่ตามหาเท่าไรก็ไม่เจอ เหนี่ยวรั้งไว้ก็ไม่ค่อยสำเร็จ และอาจสูญสลายหายไปเมื่อไรก็ไม่รู้
Open Relationship เอพิโสดนี้พูดถึงแก่นความกลัวของมนุษย์ ‘เจ็บ ตาย อาย เหงา’ ซึ่งในแง่มุมความรักก็เช่นกัน และการสำรวจให้เห็นแง่มุมความกลัวในความสัมพันธ์อาจนำมาสู่ความจริงในแง่ที่ว่า สุดท้ายแล้วความกลัวกับความรักเป็นสิ่งที่มาด้วยกันไม่ใช่หรือ?
- Visa fler