Avsnitt

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/turZwbT9zeE

    ผลสำรวจในโลกตะวันตกพบว่า วันที่คนเลิกกันมากที่สุดคือวันที่ 11 ธันวาคม และวันจันทร์คือวันที่คนไปจดทะเบียนหย่ากันมากที่สุด

    แต่ถ้านับเป็นเดือน ‘มีนาคม’ คือเดือนที่คนเลิกกันมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องน่าประหลาดใจว่า เมื่อ ศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ ลองสำรวจกับคนไทยก็พบว่า เลิกกันมากที่สุดเดือนมีนาคมเช่นเดียวกัน!

    Open Relationship ชวนคลี่คลายว่า เหตุใดเดือนมีนาคมจึงกลายเป็นเดือนที่คนไทยเลิกกันมากที่สุดในรอบปี เกี่ยวพันอย่างไรกับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เพราะคาดว่าหลายคนที่มีความคิดจะเลิกราและเพิ่งพบกับความตึงเครียดในครอบครัว จะได้วางแผน ตัดสินใจ และหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/St-yXMeplRc

    ขอแนะนำให้รู้จักกับความสัมพันธ์รูปแบบ Solo Polyamory

    หลายคนคงรู้จัก Polyamory ความสัมพันธ์ที่มีสมาชิกมากกว่า 2 คน ที่ทุกคนในความสัมพันธ์นั้นรับรู้ และยินยอมพร้อมใจ แต่สำหรับ Solo Polyamory คือคนที่มีรูปแบบ Polyamory อยู่ฝ่ายเดียว ทำตัวเหมือนคนโสด มีเซ็กซ์กับคนหลายคน และที่สำคัญคือไม่ต้องการเข้าสู่ความสัมพันธ์ใดๆ

    Open Relationship ชวนเข้าใจนิยามความสัมพันธ์แบบ Solo Polyamory พร้อมทั้งพิจารณาว่าคนที่เรามีความสัมพันธ์อยู่ด้วยนั้น มีแนวคิดลักษณะนี้หรือไม่ และหากใช่ เราจะรับมือและไปต่อกับอีกฝ่ายอย่างไรดี

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/FMhA8x0ixJ4

    ถึงจะทรมาน แต่ความเจ็บปวดก็ไม่ได้นำไปสู่การเลิกราเสมอไป

    อาจเพราะเชื่อว่ายังมีหวังที่จะทำให้ดีขึ้น, เชื่อว่ามันเคยดีก็ต้องกลับมาดีได้เหมือนเดิม, เพราะกลัวการอยู่คนเดียว หรือเหตุผลสำคัญคือเพราะยังรัก ทั้งหมดเลยทำให้หลายคนไม่ยอมยุติความสัมพันธ์แต่ยังเจ็บปวดต่อไป

    คำถามสำคัญคือ แล้วคุ้มค่าหรือไม่ที่จะทำให้ความรักครั้งนี้ไปต่อ
    Open Relationship ชวนคนที่กำลังอยู่ในทางแยก ทั้งเสียใจ แต่ไม่กล้าที่จะเลิก ลองเช็กทีละข้อว่าความรักครั้งนี้ควรจะไปต่อหรือไม่ เพราะตัวคุณเองเท่านั้นที่จะประเมินความคุ้มค่ากับการลงแรงลงใจครั้งนี้

  • เคยเจอสถานการณ์เหล่านี้กันหรือไม่ ‘ถ้าไม่มีใจก็ไม่น่าคิดนาน’ หรือ ‘ที่ผ่านมาทำไมไม่บอก’

    เพราะจังหวะที่กำลังเข้าสู่ความสัมพันธ์ ฝ่ายหนึ่งกำลังคิดว่าคนตรงหน้าคือคนที่ใช่ แต่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังคิดว่าเป็นการศึกษาดูใจ และเป็นไปได้ว่าคำตอบสุดท้ายคือการไม่ได้ตกลงเป็นอะไรกัน แน่นอนว่าจะต้องมีฝ่ายที่เสียความรู้สึก

    Open Relationship พาไปดูว่าการไม่ได้รักแต่ก็ไม่ได้บอกไปตรงๆ จนอีกฝ่ายคิดว่ามีใจ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และแม้ว่าสุดท้ายการไม่ได้เป็นอะไรกัน จะสร้างความเจ็บปวดแค่ไหน แต่การยอมรับความจริงให้ได้คือการปลดปล่อยตัวเองจากความทุกข์นั้นได้ในที่สุด



  • ความรักที่สังคมว่าดีมักมีองค์ประกอบร่วมกัน 3 ข้อ คือ 1. ต้องอยู่ด้วยกัน 2. ต้องรักกัน และ 3. ต้องมีเซ็กซ์กันเองเท่านั้น ดังนั้นจึงมี 2 ปรากฏการณ์สำคัญที่ไม่ตอบโจทย์ความรักที่ดีทั้ง 3 ข้อ คือ Live Apart Together ไม่ได้อยู่ด้วยกันแต่ผูกพันกัน และ Live Together Apart ถึงจะอยู่ด้วยกันแต่ใจไม่อยู่ด้วยแล้ว

    Open Relationship เอพิโสดนี้ขอโฟกัสความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Live Together Apart’ ที่แม้ว่าจะมีอีกคนอยู่ข้างๆ หรือแม้กระทั่งอยู่ร่วมชายคาเดียวกัน แต่กลับไม่รักกัน ไปรักหรือมีเซ็กซ์กับคนอื่นนอกความสัมพันธ์ อะไรคือสาเหตุสำคัญจนทำให้เกิดเหตุการณ์ ‘อยู่แค่กาย แต่ใจไม่อยู่ด้วยแล้ว’



  • เคยมีคำถามกับตัวเองไหมว่า สิ่งที่เขากำลังทำให้เราอยู่นั้นเขารักหรือสงสาร?

    ความรักและความสงสารคืออารมณ์คนละชุดที่มีความใกล้เคียงกัน จนบางครั้งอาจแยกไม่ออก ซึ่งหลายคนก็ใช้ความสงสารเป็นปัจจัยให้เข้าสู่ความสัมพันธ์ หรือทำให้ยังอยู่ในความสัมพันธ์

    แต่เพราะความสงสารเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเฉพาะ เมื่อสถานการณ์นั้นจบลง ความสงสารอาจกลายเป็นภาระที่ต้องรับผิดชอบ Open Relationship จึงชวนแยกความรักและความสงสารให้ออก เพราะสุดท้ายถ้าความสัมพันธ์นั้นเหลือเพียงความสงสาร แต่ความรักไม่เหลืออยู่แล้ว อาจไม่เป็นผลดีกับใคร

  • จริงหรือที่เขาบอกกันว่า ยิ่งแก่ยิ่งไม่ควรมีความรัก และไม่ควรยุ่งเรื่องเซ็กซ์?

    ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วความรักเป็นสิ่งที่ไม่เลือกคน ไม่เลือกเวลาและวัย แต่ข้อกำหนดของสังคมหลายอย่างกลับกำหนดให้มี ‘ช่วงเวลาที่เหมาะสม’ สำหรับมีความรักและเซ็กซ์ในช่วงวัยหนึ่งเท่านั้น เลยเกิดเป็นปรากฏการณ์ ‘ห้ามเด็ก ประณามคนแก่’ ที่มีความรัก


    Open Relationship ชวนมองความรักและเซ็กซ์ของคนที่โตขึ้น แบบที่เรียกง่ายๆ ว่า ‘แก่’ ว่ามีมุมมองอะไรบ้างที่เปลี่ยนไป ชวนผู้ฟังที่มีอายุทบทวนชีวิต พร้อมชวนผู้ฟังวัยหนุ่มสาวกลับไปมองวัยพ่อแม่ของตัวเองอย่างเข้าใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

  • เคยถามตัวเองไหมว่าจริงๆ แล้ว ‘ไม่อยากมีความรัก’ หรือกำลัง ‘วิ่งหนีความรัก’ กันแน่


    Open Relationship ชวนค้นหาสาเหตุของการไม่อยากมีความรัก ทั้งคนที่ไม่มีเวลา คนที่มองตัวเองว่าไม่น่าสนใจ คนที่ชอบอยู่คนเดียว หรือคนที่กลัวจะเจ็บ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหน เมื่อความรักวิ่งเข้าชนก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงทั้งพลังที่มหาศาล และความรู้สึกที่เกินจะควบคุม แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรดี เพราะไม่มีใครวิ่งหนีความรักไปได้ตลอด

  • เป็นโสดดีจริงไหม?

    ประเด็นที่โต้เถียงกันอย่างไม่จบสิ้น เพราะแม้แต่งานวิชาการหลายแหล่งก็ได้ผลการวิจัยที่แตกต่าง Open Relationship ชวนเจาะลึกความโสดตั้งแต่การให้ความหมายที่แตกต่าง ประเภทของคนโสดที่มีทั้งเลือกที่จะเป็นโสด และโสดแบบไม่ได้เลือก โสดแบบชั่วคราว หรือบางคนโสดถาวร ซึ่งทั้งหมดต่างมองความโสดไม่เหมือนกัน จนนำไปสู่การจัดการความโสดที่แตกต่าง ซึ่งไม่ว่าจะโสดประเภทไหนต่างก็มีข้อดีและมีเรื่องที่ต้องรับมือด้วยเช่นกัน

  • Contra-dating คือเทรนด์การเดตล่าสุดในปี 2024 ที่เชื่อว่าปกติแล้วคนมักจะเดตกับคนที่มีรูปร่าง หน้าตา บุคลิก และแบ็กกราวด์ทางสังคมแบบเดิมๆ แต่จะเป็นอย่างไรถ้าหากเราเดตกับคนที่ต่างออกไป พูดง่ายๆ ว่าเลือกมองคนที่ต่างไปจากสเปกที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจนำมาสู่ความเป็นไปได้และโอกาสใหม่ๆ


    รายการ Open Relationship ชวนคุยถึงเทรนด์ Contra-dating พร้อมชวนกลับมาทบทวนตัวเองว่า ในการเลือกที่จะสร้างสัมพันธ์กับใครสักคน อะไรคือ ‘แก่น’ ที่เรายึดไว้ และ ‘องค์ประกอบ’ ที่บางครั้งอาจไม่ต้องมีก็ได้

  • เป็นธรรมดาที่เมื่อความสัมพันธ์เดินมาถึงวันที่ต้องเลิกรา หลายคู่จึงต้องเสียน้ำตาให้กับสิ่งที่เกิดขึ้น Open Relationship ชวนพิจารณาถึงน้ำตาที่ไหลออกมาว่าสามารถเกิดได้จากอารมณ์หลายชุด ทั้งความเศร้า เสียใจ โกรธ ฯลฯ เพราะน้ำตาอาจไม่ได้หมายถึงความเสียดายที่ไม่สามารถมีความทรงจำดีๆ ร่วมกันอีก แต่ยังหมายถึงความผูกพันทางใจและความเชื่อมโยงกันทางสังคม รวมถึงคำถามที่ว่า หากอยากร้องไห้ควรร้องกับใครดีถึงจะปลอดภัยทางใจที่สุด

  • เพราะความจริงของการเป็นคนรักกัน คือไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายมีความสุขได้ตลอดเวลา และการทำร้ายจิตใจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Open Relationship จึงอยากคลี่ให้เห็นว่าสาเหตุของการทำร้ายจิตใจคนรักมีที่มาอย่างไรได้บ้าง ซึ่งสุดท้ายไม่มีใครสามารถเปลี่ยนใครได้ มีเพียงตัวเราเองเท่านั้นที่จะประเมินว่ารับการทำร้ายทางใจได้มากน้อยแค่ไหน


    ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ หรือมีปัญหา สามารถส่งคำถามมาถึงรายการ Open Relationship ด้วยการโพสต์ใน X พร้อมติดแฮชแท็ก #OpenRelationship หรือส่งมาทางอีเมล [email protected]

  • “รักอย่างเดียวเพียงพอจริงหรือไม่” คือคำถามที่ผู้ชมรายการส่งมาถึง Open Relationship เพราะจากประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์ที่เป็นรักทางไกล ทั้งยังเป็นรักต่างวัยในครั้งนี้ ต้องใช้แรงพยายามเป็นอย่างมาก และต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างมากกว่าความรัก

    แน่นอนว่า Open Relationship ไม่สามารถให้คำตอบในความสัมพันธ์ของใคร แต่อยากชวนให้เห็นถึงแง่มุมในการที่จะไปต่อกับความสัมพันธ์ที่มีเงื่อนไขตั้งแต่ต้นว่าแรงกาย แรงใจ และความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นควรพิจารณาอย่างไร เพราะสุดท้ายเราคือผู้เลือกสุขและทุกข์ให้กับตัวเอง


    ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ หรือมีปัญหา สามารถส่งคำถามมาถึงรายการ Open Relationship ด้วยการโพสต์ใน X พร้อมติดแฮชแท็ก #OpenRelationship หรือส่งมาทางอีเมล [email protected]

  • แม้จะมีมุมมองทางเพศต่อตัวเองว่าเป็น ‘ชายแท้-หญิงแท้’ ที่ชอบเพศตรงข้าม แต่เมื่อนึกย้อนไปถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาก็พบว่า มีบางคนจำได้ว่าบางครั้งกลับเคยรู้สึกดีๆ รัก หรือแม้กระทั่งร่วมเพศ กับคนเพศเดียวกัน

    Open Relationship ชวนทำความเข้าใจ Heteroflexibility คำศัพท์ที่จะมาอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวว่าคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร และชวนทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องผิด เพราะความรักทำให้เรารู้สึกกับที่ ‘ตัวคนคนนั้น’ ก่อน ‘เพศสภาพ’ ด้วยซ้ำไป

    ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ หรือมีปัญหา สามารถส่งคำถามมาถึงรายการ Open Relationship ด้วยการโพสต์ใน X พร้อมติดแฮชแท็ก #OpenRelationship หรือส่งมาทางอีเมล [email protected]

  • เพราะในความเป็นจริง ความสัมพันธ์ของมนุษย์ไม่ได้จบเป็นคนๆ หรือเป็นเรื่องๆ อย่างชัดเจน แต่ยังมีความทับซ้อนของรักครั้งเก่าและรักครั้งใหม่อยู่เสมอ นำมาซึ่งคำถามที่มีมาถึง Open Relationship ในเอพิโสดนี้ว่า ถ้าจะกลับไปเป็นเพื่อนกับแฟนเก่า จำเป็นต้องบอกแฟนใหม่หรือไม่ แน่นอนว่า Open Relationship ไม่มีคำตอบ แต่ชวนคลี่ให้เห็นข้อควรคิด สิ่งที่ควรพิจารณา และแนวทางที่เป็นไปได้ เพราะสุดท้ายการตัดสินใจทั้งหมดอยู่ที่ตัวคุณเอง


    ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ หรือมีปัญหา สามารถส่งคำถามมาถึงรายการ Open Relationship ด้วยการโพสต์ใน X พร้อมติดแฮชแท็ก #OpenRelationship หรือส่งมาทางอีเมล [email protected]

  • เมื่อมีความสัมพันธ์เกิดขึ้น บางคนอาจตั้งคำถามว่า ‘สิ่งที่กำลังเจอ’ หรือ ‘คนที่กำลังเจอ’ อยู่นี้ใช่ความรักหรือไม่ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับนิยามที่คาดหวังไว้ในใจ องค์ประกอบของความรักมักมีความใกล้ชิดผูกพัน (Intimacy), ความดึงดูด (Passion) และคำยืนยันสัญญา (Commitment) แล้วเมื่อมีข้อใดข้อหนึ่งพร่องไป เราจะเรียกสิ่งนี้ว่าความรักได้หรือเปล่า?


    Open Relationship เอพิโสดส่งท้ายปี ชวนชี้ให้เห็นถึง ‘ความรักสมบูรณ์แบบ’ ที่ใครหลายคนเชื่อว่ามีและกำลังวิ่งตามหา เพราะต้องการรักที่ครบทั้ง 3 ข้อ หรือตามเกณฑ์ที่เช็กลิสต์ไว้ แต่ลืมไปว่าความสมบูรณ์แบบอาจเกิดได้เพียงชั่วเวลาหนึ่ง และอีกฝ่ายที่กำลังสัมพันธ์อยู่ด้วยนั้นคือ ‘มนุษย์’ ที่ไม่มีใครสมบูรณ์พร้อมได้ตลอดเวลาแม้กระทั่งตัวเราเอง

  • ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ คุณอยากกลับไปแก้ไขช่วงเวลาไหน และเรื่องอะไร?

    คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับอดีต ว่าหากมีโอกาสอีกครั้งจะทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยผิดพลาดดีขึ้นได้อย่างไร แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครทำอย่างนั้นได้ เพราะเส้นทางของเวลาคือการพุ่งไปข้างหน้า และมีช่วงเวลาที่ผ่านมาอยู่ข้างหลัง

    แต่ก็มีคนอีกไม่น้อยที่ติดหล่มเวลา ไม่อนุญาตให้ตัวเองเคลื่อนไปข้างหน้า ซึ่งไม่ว่าจะเพราะสุขมาก หรือทุกข์มาก ก็ล้วนผูกเราไว้กับอดีตได้เช่นกัน แต่ในเมื่อเราต้องใช้ชีวิต จะทำอย่างไรให้ชีวิตที่เหลือต่อจากนี้เคลื่อนไปพร้อมเวลา ยอมรับและเข้าใจว่าสิ่งเดียวที่พามาได้คือบทเรียนจากความสัมพันธ์ที่เคยเกิดขึ้นเพียงเท่านั้น



  • ‘เป็นผู้ชายทำไมดูไม่แมน’ ‘เป็นผู้หญิงจะแมนไปไหน’ เมื่อรูปลักษณ์ภายนอกและลักษณะนิสัยไม่ตรงกับความคาดหมายของนิยาม ‘ชายจริง หญิงแท้’ ที่สังคมกำหนด ทำให้หลายๆ คนถูกเหมารวมและตัดสินจากภายนอก จนกลายเป็นผู้ไม่ถูกเลือกและไม่ได้เข้าสู่ความสัมพันธ์


    Open Relationship เอพิโสดนี้ ชวนสนทนากันในประเด็น ‘Soft Boy’ ผู้ชายที่มีลักษณะอ่อนหวานและนุ่มนวล ว่าสิ่งเหล่านี้มีผลอย่างไรทั้งในแง่ตัวตน ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อความสัมพันธ์ มาร่วมเปิดกว้างและทำความเข้าใจถึงความหลากหลายของอัตลักษณ์ และการแสดงออกทางเพศในโลกสมัยใหม่ผ่าน Open Relationship เอพิโสดนี้

  • อยู่ก่อนแต่ง หรือ Cohabitation เป็นทางเลือกที่หลายคู่ใช้เพื่อทดลองชีวิตคู่และเรียนรู้นิสัยกันและกัน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การเงิน ความสะดวกสบาย การผ่อนเบาภาระ หากแต่ปลายทางของการ ‘อยู่’ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการ ‘แต่ง’ เสมอไป

    Open Relationship เอพิโสดนี้จะพาคุยถึงอีกมุมมองของการอยู่ก่อนแต่ง พร้อมกับสำรวจความคาดหวัง ความท้าทายที่คู่รักอาจพบเจอ รวมถึงคำถามสำคัญที่ต้องตอบ และสร้างความเข้าใจให้ตรงกันว่า การอยู่ร่วมกันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำความรู้จัก หรือเป้าหมายเพื่อการแต่งงานกันแน่



  • บางคนมีความเชื่อว่า ‘รักแท้’ คือการเสียสละ ต้องสามารถเสียสิ่งที่สำคัญ และสละสิ่งที่รักให้คนรักอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่ Open Relationship อยากชี้ชวนให้มองลึกลงไปกว่านั้น เพราะในความเสียสละ นอกจากจะมีการสูญเสียที่แท้จริงเกิดขึ้นแล้ว หลายต่อหลายครั้งยังเป็นความต้องการที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ให้กับผู้รับ หรือแง่มุมของการได้รับจนเป็นความเคยชิน ซึ่งอาจกระทบความรู้สึกและความสัมพันธ์ได้ แล้วถ้าความรักไม่ใช่การเสียสละ เราจะนิยามมันว่าอย่างไร ติดตามได้ใน Open Relationship เอพิโสดนี้