Avsnitt

  • ปัญหาขยะอวกาศ เป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องจับตามอง เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลก มีการสร้างดาวเทียม และปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศเป็นจำนวนมาก และเมื่อดาวเทียมหรือสถานีอวกาศหมดอายุการใช้งาน ก็จะกลายเป็นขยะที่ลอยค้างอยู่ในวงโคจรของโลก ซึ่งขยะอวกาศเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกิจกรรมของมนุษย์บนโลก รวมไปถึงการสร้างความเสียหายให้กับดาวเทียมหรือสถานีอวกาศที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

    รายการ Sci เข้าหู ได้รับเกียรติจาก คุณอนล ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอมวัน (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งใน 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศ จากโครงการ Space Economy: Lifting Off 2021 ด้วยผลงานดาวเทียม เอมวัน เทคโนโลยีควบคุมความเร็วการโคจรวัตถุในอวกาศ เพื่อลดปริมาณขยะจากอวกาศ มาเล่าถึงปัญหาขยะอวกาศและวิธีการจัดการ

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/j2Ad7bhSVzY

  • เมื่อพูดถึงอวกาศ หลายคนคงนึกถึงสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร เราจะเห็นนักบินอวกาศและวัตถุต่าง ๆ ภายในสถานีอวกาศล่องลอยไปมา เนื่องจากอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเมื่อเด็กไทยได้คิดการทดลองทางวิทยาศาสตร์สนุกๆ ผ่านโครงการที่ชื่อว่า Asian Try Zero-G 2023 ซึ่งเป็นโรงการความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA

    วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน 7 เยาวชนไทย ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ และมีโอกาสได้เดินทางไปชมการทดลองที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดประสบการณ์และเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ให้เราฟัง

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/R4ztec-3YsQ

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • ไทยสุข คือ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ออกแบบขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงการเป็นไรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผ่านโมเดลการแข่งขันแบบออนไลน์ มาร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีด้วยกัน

    นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ หรือ ดร.เข็ม นักวิจัย กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สวทช. ผู้พัฒนาแอปไทยสุข มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าความน่าสนใจของ “ไทยสุข” ที่เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ ทั้งระบบ iOS และ Android

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/gTKPQ89F548

  • Maker Jam 2024 การรวมกลุ่มของเหล่า Maker กลุ่มนักประดิษฐ์ที่มาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะมาเผยแพร่ความรู้ของงานผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดที่บรรดา Maker สร้างกันขึ้นมา ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านการลงมือทำ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่ทำของเล่นไปจนถึงของใช้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น

    วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน หรือ ดร.หมอน ผู้จัดงาน Maker Jam 2024 และผู้ก่อตั้งเพจ Origimon มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าความน่าสนุกของงานนี้ให้เราฟัง

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/g3Z0XNn91Ts

  • นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ชาคริต ศรีประจวบวงษ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ หรือ เอ็นเทค สวทช. มาร่วมพูดคุยถึงงานวิจัยการผลิตแบตเตอรี่สังกะสีชนิดอัดประจุซ้ำได้ หรือ zinc-ion battery ซึ่งเหมาะแก่การใช้เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานแบบตั้งอยู่กับที่ ต้องการความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง หรือใช้ในภารกิจที่ต้องการความปลอดภัยเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในการทำวิจัยเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และการพัฒนากระบวนการผลิตที่คำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลดีในด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/OEoZAmrOnoA

  • นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.นครินทร์ ทรัพย์เจริญดี หรือ ดร.โอ๊ค นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเส้นใยนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือนาโนเทค สวทช. จะมาร่วมพูดคุยเพื่อบอกเล่าถึงเรื่องราวความน่าสนใจของผลงานวิจัยแบตเตอรี่สังกะสีไอออนแบบเคเบิล เพื่อใช้งานใน wearable devices เช่น สายรัดข้อมือ และสมาร์ตวอตช์ โดยมีจุดเด่น คือบิดงอได้ ทนความร้อนสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/GDKwogvxUgY

  • เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เราคงได้เห็นข่าวด้านอวกาศ ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนทั่วโลกกันมาแล้ว เมื่อยานจันทรายาน 3 ของอินเดีย ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ ทำให้อินเดียกลายเป็นชาติที่ 4 ของโลก ถัดจากอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และจีน

    และหากย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลาย 2564 ประเทศไทยของเรา ได้เคยประกาศเป้าหมาย ส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ภายใน 7 ปี โดยเกิดเป็นโครงการ Thai Space Consortium หรือ TSC ขึ้นมา เพื่อภารกิจสร้างดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์

    วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.พงศธร สายสุจริต หรือ อาจารย์ปอม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และอาจารย์ปอม และยังดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ INSTED อีกด้วยค่ะ ซึ่งอาจารย์ปอมเป็นหนึ่งในผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการสร้างดาวเทียม TSC จะมาร่วมพูดคุยและอัปเดตความคืบหน้าของโครงการให้เราได้ฟัง

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/LUz7UubqSYE

  • วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจากคุณสักรินทร์ ดูอามัน หรือเชฟริน ผู้ช่วยวิจัย โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ นาโนเทค สวทช. จะมาบอกเล่าถึงเรื่องราวที่น่าสนใจ กว่าจะมาเป็นเครื่องสำอาง มีขั้นตอนอย่างไร แล้ววิทยาศาสตร์กับศิลปะ มาบรรจบรวมกันได้อย่างลงตัว จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสู่ผู้บริโภค

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/CzOdpepCo0I

  • จากผลการศึกษาและวิจัยดีเอ็นเอ เพื่อระบุชนิดพันธุ์ปลาฉลามจากผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายอยู่ในประเทศไทย ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องการสร้างความตื่นตัว และตระหนักรู้ถึงปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากฉลาม ซึ่งอาจมาจากฉลามที่กําลังเสี่ยงสูญพันธุ์

    นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ นักวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยี การผลิตสัตว์และประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ที่ปรึกษาองค์กรไวล์ดเอด จะมาเล่าถึงงานวิจัยดีเอ็นเอ ซึ่งพบหูฉลามที่ขายในไทยกว่า 60% มาจากฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/w04zgw6tF08

  • คนไทยเรารู้จักและใช้ไผ่ ได้สารพัดประโยชน์ ทั้งกิน ก่อสร้าง ใช้เป็นภาชนะ และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสมบัติที่ดีของไผ่ คือ โตเร็ว กระจายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง สามารถหมุนเวียนและทดแทนต้นที่ถูกตัดได้เร็ว จึงถือเป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพในการทดแทนสูงและยั่งยืน

    วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ได้รับเกียรติจาก ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สวทช. จะมาร่วมพูดคุยเพื่อบอกเล่าถึงงานวิจัย การพัฒนากล้าพันธุ์ไผ่ที่มีคุณภาพดี และขยายกล้าพันธุ์ไผ่ในระดับอุตสาหกรรมด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเป็นประโยชน์ในการปลูกป่าเศรษฐกิจแก่เกษตรกรไทย

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/-sdCpKdXEvc

  • ช่วงนี้เราได้ยินข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกกันบ่อยครั้ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “แอปพลิเคชันรู้ทัน” เกิดจากความร่วมมือของ เนคเทค สวทช. และกรมควบคุมโรค ร่วมกันวิจัยและพัฒนา “ชุดซอฟต์แวร์ทันระบาด” เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหรือรับการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสาร ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันและได้รับความเสี่ยงน้อยที่สุด

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/MGefVnHwapY

  • สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องความงามพลาดไม่ได้กับงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่อง นวัตกรรมความงามด้วยเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ

    วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด หรือ ดร.ธง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NANOTEC สวทช. จะมาเล่าถึงผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ที่ได้ส่งต่อภาคเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/pVuGTkNv3es

  • ปรากฏการณ์ “เอลนีโญและลานีญา” (El Niño, La Niña ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปรากฏการณ์เอนโซ (ENSO) มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไรบ้าง ?

    ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในเรื่องของภาวะภัยแล้ง น้ำท่วม อากาศร้อนจัดหรือไม่ เรามาร่วมค้นหาคำตอบร่วมกันกับ ดร.ปิงปิง พรอำไพ นเรนทร์พิทักษ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/k_Oo7H8mBBI

  • ศูนย์อวกาศฮุสตัน (Space Center Houston) รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์นักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการของ NASA Johnson Space Center ของนาซา มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 สำหรับสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์บังคับการสำหรับภารกิจการปล่อยยานอวกาศที่สำคัญหลายโครงการ รวมถึงโครงการ Apollo 11 ที่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก

    ปัจจุบันศูนย์อวกาศฮุสตันเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าชมและเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตในอวกาศ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ หรืออาจารย์อาร์ม อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์อวกาศฮุสตัน จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และพาทุกคนเที่ยวชมแบบสุด exclusive

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/uYkzn7ByiU4

  • เมื่อเรานึกถึงสถานีอวกาศนานาชาติที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร เราจะเห็นภาพวัตถุต่าง ๆ ล่องลอยไร้ทิศทาง เนื่องจากอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ซึ่งแตกต่างกับบนโลกที่มีแรงโน้มถ่วง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้ผลลัพธ์แตกต่างจากบนโลก และเกิดเป็นนวัตกรรมมากมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันบนโลกของเรา

    และช่วงนี้เป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะได้มีโอกาสได้ส่งแนวคิดการทดลอง เพื่อให้นักบินอวกาศญี่ปุ่นได้ทำให้ดูบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผ่านโครงการ Asian Try Zero-G 2023 โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นี้

    รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน 2 เยาวชนผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการ Asian Try Zero-G 2022 และมีโอกาสได้เดินทางไปชมการทดลองที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดประสบการณ์ และแบ่งปันแนวคิดในการเสนอไอเดียการทดลองสมัครเข้าร่วมโครงการจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ หรือน้องพรีม ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 Tokyo Institute of Technologyประเทศญี่ปุ่น และนางสาวอินทิราภรณ์ เชาว์ดี หรือน้องปาย ปัจจุบันทำงานเป็นเภสัชกรปฎิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/OO8wipLMCpk

  • หุ่นยนต์ที่ชื่อ Astrobee ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ พัฒนาโดย NASA Ames Research Center มีหน้าที่ช่วยลดเวลาการทำงานประจำวันของนักบินอวกาศ โดยทำงานผ่านการสั่งการด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุม

    และเป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะมีโอกาส เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผ่านโครงการ Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 4 ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ (เว็บไซต์โครงการแข่งขัน https://www.nstda.or.th/spaceeducation/kibo-rpc-2023/)

    วันนี้รายการ Sci เข้าหู ได้ชวนตัวแทนเยาวชนโครงการแข่งขัน Kibo Robot มาร่วมพูดคุย 2 คนครับ คนแรกคือ นายธฤต วิทย์วรสกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 1 Faculty of Science, University of British Columbia ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศในการแข่งขันครั้งที่ 2 และนายภูรี เพ็ญหิรัญ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศ ในการแข่งขันครั้งที่ 3 มาร่วมพูดคุยเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการ และเผยเคล็ดลับความสำเร็จทำให้คว้าแชมป์ประเทศไทย

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/wguA59tW-lA

  • ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายสำคัญของโลก สร้างรายได้นำกลับเข้าประเทศมากกว่าแสนล้านบาทต่อปี แต่กลับไม่ได้สะท้อนถึงผลกำไรที่เกษตรกรควรได้รับ เพราะชาวนาไทยส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ รวมถึงวิกฤตโรคระบาดที่ฉุดรั้งผลผลิตข้าวไทย

    เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ทีมวิจัยจาก สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนา ‘ไลน์บอทโรคข้าว’ แชตบอตสำหรับให้บริการวินิจฉัยโรคข้าวผ่านภาพถ่าย เพื่อให้คำแนะนำในการควบคุมโรคอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีแก่เกษตรกร เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกปัญหาการรับมือกับโรคระบาด ลดต้นทุนการใช้สารเคมีที่ และยกระดับผลผลิตข้าวไทยให้มากขึ้น

    นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก คุณวศิน สินธุภิญโญ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค - สวทช. และ ผศ. ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล อาจารย์ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาร่วมพูดคุยบอกเล่าแพลตฟอร์มไลน์บอทโรคข้าวที่จะมาช่วยเกษตรกรไทยผู้ปลูกข้าว

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/ln9AMQm_7R4

  • วันนี้เราจะมาอัปเดตความก้าวหน้างานวิจัยอาหารอวกาศของทีม KEETA ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วมแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีอาหารอวกาศ “Deep Space Food Challenge” ที่จัดขึ้นโดย NASA CSA และ Methuselah Foundation เป็นการแข่งขันเพื่อเตรียมอาหารสำหรับนักบินอวกาศ 4 คน ให้สามารถทำงานอยู่นอกโลกนานถึง 3 ปี

    และในครั้งนี้เราจะได้พูดคุยกับทีม KEETA เป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยห่างจากครั้งแรกเกือบ 2 ปี ใครที่สนใจอยากย้อนไปฟังจุดเริ่มต้นของทีม KEETA สามารถดูย้อนหลังได้ที่ EP20 โดยในวันนี้แขกรับเชิญพิเศษของเรา 2 ท่าน เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน เข้ามาส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป คือ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร หรืออาจารย์ปอ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ หรืออาจารย์เกีย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/yTsvhVw6f-c

  • ปัจจุบันนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีนะคะว่าประเทศไทยของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมอายุยืน” อย่างเต็มรูปแบบ แล้วเราจะทำอย่างไรให้การมีชีวิตยืนยาวนั้นมีคุณภาพ ลดการพึ่งพา และยังมีคุณค่าต่อสังคม

    เพื่อตอบคำถามนี้ ทางนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. ได้ออกแบบนวัตกรรมบอดี้สูท สำหรับผู้สูงอายุที่มีชื่อว่า “เรเชล” (Rachel – Motion-assist Bodysuit) ที่สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เสริมแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ เคียงคู่กับผู้สูงอายุได้ตลอดในกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นยืน เดินขึ้นบันได ทำงานบ้าน

    วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ หรือ ดร.แม นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สวทช. จะมาเล่าถึงนวัตกรรมเรเชล แชร์ประสบการณ์ความท้าทายในการออกแบบวิจัยและพัฒนาที่มีการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/KszVLQCO0iM

  • หากเราพูดถึงปัญหาการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุภายในบ้าน นอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต หรือการเสื่อมถอยของร่างกายอย่างเฉียบพลันแล้ว ยังส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวอีกด้วย

    จากโจทย์ปัญหานี้ทางนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. จึงได้ออกแบบนวัตกรรม ที่มีชื่อว่า “กันเธอ บาธ” ระบบตรวจจับการพลัดตกหกล้มด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งในสิ่งแวดล้อม เช่น ผนังห้อง และใช้โครงข่ายประสาทเทียมทำนายเหตุการณ์พลัดตกหกล้ม ซึ่งจะติดตั้งในบริเวณที่อยู่อาศัย ใช้เทคโนโลยีไร้สายรับส่งสัญญาณการเคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ หากเกิดเหตุการณ์พลัดตกหกล้ม ระบบจะแจ้งเตือนหรือส่งสัญญาณไปยังผู้ดูแลให้ทราบ

    วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ หรือ ดร.ตั้ม ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มาร่วมพูดคุย บอกเล่าถึงนวัตกรรมตรวจจับและแจ้งเตือนการหกล้มในห้องน้ำ ที่ชื่อ Gunther Bath

    ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/ https://youtu.be/4g7irNN6NYM