Avsnitt

  • ขอขอบคุณพี่ฝนจากช่อง Young Journey

    ติดตาม Young Journey ได้ผ่าน:

    Youtube: https://youtube.com/@YoungJourney?si=FSRB5Zw3TwsrfaQc

    FB: facebook.com/youngjourney.me

    IG: instagram.com/youngjourney.me

  • หนังสือ: เทคนิคอ่านให้ไม่ลืมที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ

    ผู้เขียน: คะบะซะวะ ชิอง

    สำนักพิมพ์: We Learn

    Photo by Yuri Efremov on Unsplash

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • เราควรได้รับการนอน 7-9 ชม. ต่อวัน เพราะการพยายามกู้คืนเวลานอนที่เสียไปนั้นอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิด

    .

    ในวันทำงานเรามักจะนอนน้อย พอเสาร์อาทิตย์เราเลยพยายามนอนเยอะๆเพื่อที่จะกู้คืนเวลานอนที่เสียไป

    .

    เราสามารถกู้คืนมาได้แค่ 25% เท่านั้น แปลว่าเรายังติดลบอยู่ 75% ตลอด ซึ่งถ้าไม่แก้ตั้งแต่ต้นเหตุ มันจะทบต้นไปเรื่อยๆ

    .

    คุณภาพการนอนของเราก็เสียไปนั้นคือช่วงการหลับลึกหรือ Deep Sleep ซึ่งมักจะอยู่ในช่วง Recovery Sleep ของเรา

    .

    เวลาตื่น-นอนของเราก็ผิดเพี้ยนไปเพราะ Melatonin ไม่หายไปในช่วงเช้า โดยเฉพาะวันจันทร์ ไม่น่าทำไมเราถึงเกลียดวันจันทร์กัน เพราะ Melatonin ยังอยู่ทำให้เราไม่อยากตื่น

    .

    นอนน้อยทำให้เรากินขนมเยอะขึ้น ไม่แปลกที่น้ำหนักก็ตามมา

    .

    Key Message: ไม่ได้แปลว่าถ้านอนน้อยแล้วพยายามกู้เวลานอนช่วงวันหยุดผิด แต่มันคือการที่เราควรรักษาสิทธิพื้นฐานในการนอนของเราไม่ว่าจะเป็นวันไหนก็ตาม

    .

    Source: The Matt Walker Podcast - Catchup Sleep

  • Source: CHANG CAN DUNK Disney+ Hotstar

    ดูหนังเรื่อง Change Can Dunk ผ่านช่องทาง Disney+ Hotstar https://www.hotstar.com/th/onboarding?ref=%2Fth

    #mrhabit #รีวิวหนัง #ข้อคิดดีๆ #พัฒนาตัวเอง #impostersyndrome #changcandunk #ดิสนีย์

  • Source: #เทคนิคเปลี่ยคุณให้เป็นคนไม่ผัดวันประกันพรุ่งและลงมือทำทันที #MrHabit #MrHabitDiary #รีวิวหนังสือ #welearn #ข้อคิดจากหนังสือ


  • วิธีเลิกนิสัยแย่ๆ


    .


    นิสัยแย่ๆของเราเกิดจากแรงกระตุ้นข้างใน มันเป็นความไม่สบายใจที่เราอยากจะหนีแต่หลายทีเราไม่ได้สังเกตุแรงกระตุ้นนั้น... เราไม่ได้ทำความเข้าใจมัน


    .


    **เทคนิคที่เราสามารถเริ่มทำได้เลย**


    .


    ทุกครั้งที่เราเริ่มรู้สึกความไม่สบายใจนั้นให้เราลองจดโน๊ตไว้ดู เรารู้สึกอย่างไร และหลังจากนั้นแทนที่เราจะไปทำพฤติกรรมแย่ๆที่เรามักจะทำ เราจะบอกกับตัวเองว่า เดี๋ยวเราค่อยทำในอีก 10 นาทีข้างหน้า


    .


    **เทคนิค 10 นาที vs การห้ามตัวเองแบบเด็ดขาด**


    .


    การที่เราอนุญาติให้ตัวเองทำได้ แต่ทำได้ในอีก 10 นาทีแตกต่างจากการห้ามตัวเองแบบเด็ดขาดตรงที่เราไม่สร้างแรงกดดันให้ตัวเอง ถ้าเราห้ามตัวเองไม่ให้ทำพฤติกรรมที่ไม่ดีอย่างเด็ดขาดมันจะสะสมแรงกดดันไปเรื่อยๆ จนถึงจุดนึงมันต้องคลาย ซึ่งสุดท้ายอาจไปจบที่พฤติกรรมแย่อันเดิมที่เราห้ามแต่แรก


    .


    แต่การที่เราบอกตัวเองว่าทำได้นะ แต่ค่อยทำในอีก 10 นาทีมันเป็นการฝึก Delayed Gratification ซึ่งบอกกับตัวเองว่าเราสามารถควบคุมความอยากของตัวเองได้นะ เราเลือกได้ แค่เลือกที่จะไม่ทำตอนนี้


    .


    **แบ่งเวลาไว้เพื่อเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง**


    .


    หลังจากจดโน๊ตไว้แล้ว ใช้เทคนิค 10 นาทีไปแล้ว เราก็กำหนดเลยครับว่าเราจะมาดูโน๊ตของเราอีกทีเมื่อไหร่ เมื่อทำแบบนั้นแล้วสมองเราจะไม่มัวแต่คิดเรื่องความรู้สึกนั้นตลอด ถ้าเปรียบเทียบกับการที่เราไม่จดไม่แบ่งเวลาไว้สมองเราจะมัวแต่คิดเรื่องนั้นเพราะมันมองว่ามันเป็นปัญหาที่ยังไม่ถูกแก้ครับ


    .


    แถมหลายทีปัญหาหลายๆเรื่องมันแก้ได้ด้วยตัวมันเองครับ ย้อนกลับมาดูอีกทีมันก็คลายแล้ว ส่วนปัญหาที่ยังเหลืออยู่เราก็สามารถใช้เวลากับมันได้อย่างเต็มที่ครับ


    .


    Source: Unbelievable Secret To Break ANY Habit In Just 10 Minutes! Nir Eyal https://www.youtube.com/watch?v=bz_G56XXu9s

  • Mark Manson อยากบอกอะไรกับคนช่วงอายุ 20s

    Mark Manson ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Subtle Art of Not Giving a F*ck เขาได้ทำวิดิโอที่เล่า 6 สิ่งที่เขาอยากบอกกับคนช่วงอายุ 20 พวกเราจะได้ไม่พลาดเหมือนเขา

    .

    1) The willingness to be disliked is a superpower

    .

    เราโตมากับการที่ต้องเป็นอย่างคนอื่นรึเปล่า สังคมบางที่ยังบอกเลยว่าคุณควรทำแบบคนอื่น คิดแบบคนอื่น อย่าทำตัวแตกต่างและทุกคนจะชอบคุณ แต่ลองมาคิดดูถ้าทำแบบนั้นเราก็เหมือนคนทั่วไปเลยนะสิ เราก็ไม่มีลักษณะโดดเด่น ไม่มีตัวตนที่ชัดเจน ถ้าผมเปรียบเสมือนเกมก็คงเป็นตัวละคร NPC ตัวนึงที่ไม่ได้มีส่วนสำคัญของเนื้อเรื่องหลักเลย คงถูกมองข้ามไปด้วยซ้ำ ซึ่งทุกอย่างมันเกิดจากการที่เราอยากให้ทุกคนชอบเรา แต่การที่เราจะรักษาตัวตนของเราไว้มันก็ต้องเจอกับคนที่ไม่ชอบเราบ้างเป็นเรื่องธรรมดา นี้ไม่ได้แปลว่าเราต้องทำตัวขวางโลกทำตัวแตกต่างเพื่อที่จะแตกต่างนะครับ เราแค่ต้องเรียนรู้ที่จะคิดและทำในสิ่งที่ถูกในวันที่คนรอบตัวเราไม่ทำ ยอมรับคำติจากคนอื่นเพื่อพัฒนาตัวเองถึงแม้ว่ามันอาจรุนแรง กล้าที่จะถูกเกลียดเพราะเมื่อคุณสามารถรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นได้ จะไม่มีใครหยุดคุณได้

    .

    2) You can't fundamentally change yourself or others

    .

    ไม่ใช่ทุกการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องง่ายและเห็นได้ในพริบตา เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงความคิดของคนอื่นได้และไม่สามารถไปบังคับเขาได้ ยิ่งเราโตขึ้นเรายิ่งเรียนรู้ว่าสุดท้ายเราแค่ต้องรู้จักยอมรับในสิ่งที่เราเป็นและคนรอบข้างของเรา ผมฟังช่วงนี้แล้วตีความได้ว่า อย่าฝืน บางการเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถทำได้ แต่มันมีสิ่งที่เราเปลี่ยนไม่ได้เช่นกันหรือเป็นสิ่งที่เปลี่ยนยาก พอนึกแล้วก็นึกถึงการที่เราควรเน้นไปที่การพัฒนาจุดแข็งของเรามากกว่าการมาเปลี่ยนจุดอ่อนของเรา อาจไม่ได้ Perfect สมบูรณ์แบบนะครับแต่คำว่า Perfect มันมีจริงหรอ? อย่างน้อยเราได้เข้าใกล้คำนั้นเรื่อยๆ ผมว่าก็เป็นความก้าวหน้านะ

    .

    3) If you're not embarrassing yourself regularly, you're not trying hard enough

    .

    ช่วงอายุนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต ถ้าเราพลาดถ้าไม่ได้พลาดไปอย่างน้อยเราก็กลับมาตั้งตัวใหม่ได้ด้วยแรงและเวลาที่เรามี ลองทำอะไรใหม่ๆ กล้าออกไปเสี่ยง ยอมรับว่าเรายังเรียนรู้อยู่จะให้เก่งเลยคงไม่ได้ อยากเสริมว่าเรายังไม่จำเป็นต้องรู้ว่าตัวเองชอบอะไรก็ได้นะช่วงนี้เพราะฉะนั้นใช้ช่วงนี้แหละในการค้นหาตัวเอง อย่างมากก็เลิกซึ่งเราก็สามารถเปลี่ยนได้เสมอ อ่อนโยนกับตัวเองค่อยๆหาทางของตัวเองแต่สำคัญสุดคือต้องเริ่มออกไปเจออะไรใหม่ๆลองทำอะไรที่ Challenge ตัวเองบ้าง

    .

    4) Most relationships are supposed to end, and that's okay

    .

    ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่มักจะจบไปและนั้นเป็นเรื่องปกติ คุณไม่ต้องฝืนรักษาความสัมพันธ์เพราะเมื่อคุณฝืนความสัมพันธ์ที่จะจบอยู่แล้วมันอาจจะยิ่งจบไม่ดีเข้าไปใหญ่ พอโตขึ้นก็เริ่มมีหน้าที่ มีภาระ มีความรับผิดชอบที่อาจทำให้ความสัมพันธ์ดีๆนั้นจางหายไปบ้าง แต่อย่าให้ความสัมพันธ์มาหยุดคุณกับการที่คุณจะได้โฟกัสกับตัวเอง

    .

    5) Your dreams are overrated

    .

    ความฝันใหญ่ เป้าหมายในชีวิตเราอาจไม่ได้ทำให้ชีวิตเราดีขนาดนั้นก็ได้ ถ้าเราไปได้ถึงฝันเราก็คงมีความสุขแต่ความสุขนั้นคงมีแค่ระยะนึง เพราะสุดท้ายชีวิตคุณก็ต้องไปต่อ คงมีฝันใหม่และเป้าหมายใหม่ตามเข้ามา แต่ถ้าคุณไปไม่ถึงฝันละแล้วชีวิตคุณจะล้มเหลวเลยรึเปล่า ฟังแล้วผมนึกถึงเรื่องการมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวกำหนดเส้นทางของเราแต่เราก็ต้องหาความสุขจากการได้เดินตามเส้นทางนั้นด้วยเช่นกันซึ่งพาไปสู่ข้อถัดไป

    .

    6) The only way to feel better about yourself is to do things worth feeling good about

    .

    การที่มีสิ่งของมาครอบครอง ได้รางวัลที่ยิ่งใหญ่ ได้ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก สิ่งเรานี้ถ้าเราได้มาก็จะสร้างความสุขให้เราได้แต่คงสร้างได้แค่ชั่วขณะ ลองเลิกมองความสุขจากสิ่งที่มี (สิ่งของภายนอก) และเริ่มมองหาความสุขจากการได้ทำ ซึ่งคือความสุขจากการได้ทำในสิ่งที่มีความหมายสำหรับเรา

    .

    Credit: 20 icons20 icons created by LAFS - Flaticon

    https://www.flaticon.com/free-icons/20

    .

    Source: The Life-Changing Advice I Wish I Knew in My 20s

    https://www.youtube.com/watch?v=pIX_FwIoFPo

  • วันนี้เป็นวันที่ผมว่ามันคือสัญญาณแห่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย เป็นวันที่เราได้ออกไปใช้เสียงและเสียงของพวกเราก็ได้ถูกส่งออกไป ซึ่งผมอยากชวนทุกคนมาใช้โอกาสนี้ Ride the wave of change นั้นคือการขี่คลื่นลูกนี้ไปด้วยกัน

    .

    จังหวะชีวิตกับการเปลี่ยนแปลง

    .

    ในหนังสือเรื่อง How to change เขากล่าวไว้ว่าคนเรามักจะเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในจังหวะชีวิตเช่นช่วงปีใหม่ ช่วงวันเกิด ช่วงได้งานใหม่ ช่วงย้ายที่อยู่ จังหวะชีวิตเหล่านี้เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลง ขอเน้นคำว่าเริ่มนะครับ แล้วเราจะเริ่มได้ยังไงละ?

    .

    ตั้งเป้าหมายตามตัวตนที่เราอยากเป็น

    .

    เริ่มจากการตั้งเป้าหมายกันครับ เราอยากเป็นคนแบบไหน แล้วคนแบบนี้เขาทำอะไรกันละ? เช่นอยากเริ่มเป็นคนที่อ่านหนังสือเป็นนิสัย แล้วคนที่อ่านหนังสือเป็นนิสัยเขาทำอะไรกันเป็นเรื่องปกติของเขาละครับ

    .

    หลังจากนั้นลองมาแบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นเป้าหมายเล็กๆครับ ลองดึงตัวอย่างด้านบนมาต่อนะครับ คนที่เริ่มอ่านหนังสือเขาคงหยิบหนังสือมาอ่านบ่อยๆ เขาน่าจะมีหนังสือติดตัวอยู่เสมอ ถ้าเรามีหนังสืออยู่กับเราตลอดที่เหลือแค่เปิดหนังสือมาอ่านครับ

    .

    จุดสำคัญคือขอแค่ได้ทำ

    .

    ช่วงแรกไม่ต้องเน้นทำเยอะครับ เน้นทำทีละนิด ค่อยๆทำแต่ทำอย่างต่อเนื่องดีกว่า การอ่านหนังสือเริ่มจากอ่านวันละหน้าหรือตั้งเป้าว่าได้หยิบหนังสือมาเปิดอ่านวันละครั้งก็ดีแล้ว สิ่งเหล่านี้เขาเรียก Starter Step นั้นคือก้าวแรกครับ เราเน้นไปที่การได้เริ่มก้าวเพราะเมื่อเรามีก้าวแรก ก้าวสอง ก้าวสามก็มา อันนี้ยังไม่ได้ก้าวไกลนะ เป็นก้าวเล็กๆแต่เมื่อมันสะสมมันจะไกลเองครับ

    .

    Credit: Mentoring icons created by Uniconlabs - Flaticon

    https://www.flaticon.com/free-icons/mentoring

  • ถ้าคุณลองค้นหาว่าจะสร้างนิสัยต้องใช้เวลากี่วันคุณจะเจอหลายศาสตร์มากเช่น 21 วันบ้าง 30 วันบ้าง 60 วันบ้าง ซึ่งถ้าผมตอบจริงๆมันไม่มีวันที่เราสามารถสร้างนิสัยได้ถ้าเราหยุดทำ

    แปลว่าอะไร แปลว่าถ้าเราหยุดทำนิสัยนั้นเร็วแค่ไหนโอกาสที่นิสัยเก่าๆของเราจะเริ่มกลับมาและนิสัยใหม่ที่คุณพึ่งทำได้ _____ วันนั้นก็จะถูกกลืนไป

    การสร้างนิสัยนั้นขึ้นอยู่กับความต่อเนื่อง ถ้าเจอสถานการณ์นี้คุณจะทำ________ ซ้ำๆไปเรื่อยๆ นั้นคือนิสัย แต่ถ้าคุณเริ่มหยุดแล้วปล่อยให้เราพลาดอย่างต่อเนื่องหลายๆวัน นิสัยใหม่ที่คุณพยายามสร้างก็จะค่อยๆหายไป นิสัยเก่าๆก็จะคืบคลานเข้ามาเหมือนดั่งเงาที่เกาะติดคุณไม่มีวันหาย

    ลองนึกภาพตามนะครับ เงานั้นจะเห็นได้ชัดต่อเมื่อมันสว่าง การสร้างนิสัยนั้นเหมือนเป็นการดับไฟให้พฤติกรรมนั้นค่อยๆหายไปแต่จริงๆมันหายไปรึเปล่า เงานั้นไม่เคยหายไปครับ มันจะกลับมาเสมอเมื่อเราเริ่มหยุดและไฟของนิสัยเก่านั้นสว่างขึ้นเรื่อยๆ

    ทั้งนี้มันมีทั้งมุมดีและแย่เพราะนิสัยเก่าๆที่ดีของคุณมันก็ยังซ่อนอยู่ เราแค่ต้องหาไฟสว่างให้มันได้แสดงตัวตนของมันออกมา

    Source: How to Change - Book by Katy Milkman

    Credit รูปภาพ: Calendar icons created by Freepik - Flaticonhttps://www.flaticon.com/free-icons/calendar
  • ถ้าใครติดตาม James Clear จาก Atomic Habits น่าจะพอคุ้นชินกับความสำคัญของสภาพแวดล้อมกับนิสัยที่เราอยากสร้าง

    ไม่ว่าจะเป็นการงดซื้อขนมขบเคี้ยวมาในบ้านหรือการนำตัวเองไปสู่สังคมที่มีนิสัยที่เราอยากสร้าง สภาพแวดล้อมนั้นมีผลต่อการสร้างนิสัยของเราอย่างมาก ซึ่งผมอยากเน้นไปที่ตัวอย่างแรกที่ว่าถ้าเราอยากสร้างนิสัยอะไรก็ควรออกแบบสภาพแวดล้อมของเราให้เตือนเราให้ทำสิ่งนั้นและทำให้เราไม่ออกนอกลู่นอกทาง

    “The people who exhibits the highest self-control are often the people who attempted the least.” - James Clear ในบทสัมภาษณ์ Master These Habits So You DON'T WASTE Another Year Of Your Life AWAY! | James Clear & Lewis Howes

    คนที่มีพลังในการควบคุมตัวเองมากที่สุดมักจะเป็นกลุ่มคนที่ต้องทำน้อยที่สุด ซึ่งแปลว่าอะไร แปลว่าคนกลุ่มนี้ที่ดูเหมือนว่าเขามีพลังในการควบคุมตัวเองไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางนั้นเขาแค่ไม่ค่อยมีสิ่งรบกวนที่มาทำให้เขาไขว้เขว เพราะฉะนั้นถ้าอยากไดเอทเราก็ไม่ควรมีขนมขบเคี้ยวมาอยู่ในบ้านแต่แรก เราไม่ต้องฝืนห้ามใจตัวเอง พอเราไม่มีสิ่งรบกวนเราก็สามารถอยู่ในเส้นทางการสร้างนิสัยได้ Stay the course!

    หลังจากนั้นเราก็พยายามนำสิ่งที่อยากทำมาทดแทนเช่นเปิดตู้เย็นไปมีแต่อาหารเพื่อสุขภาพที่เราเตรียมไว้แล้ว สั่งมาแล้ว ประเด็นหลักคือทำให้มันง่าย ยิ่งเปิดมาอยู่ในระดับสายตาเลยยิ่งดี

    ตัวอย่างที่ผมขอให้แทนคงเป็นเรื่องการทดแทนการใช้โทรศัพท์กับการอ่านหนังสือ

    สิ่งที่ผมเริ่มทำทุกครั้งที่ออกจากบ้านคือผมต้องมีกระเป๋าครับ แต่ก่อนโทรศัพท์กับกระเป๋าตังค์ผมจะใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงเสมอ เดินไปไหนยังไงก็รู้สึกครับโทรศัพท์อยู่แนบขาเราเลย หยิบก็หยิบง่าย แค่มีกระเป๋าใบนึงจะใบเล็กๆก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกยากขึ้นนั้นถือเป็นตัวเปลี่ยนเกมเลยครับ นอกจากนั้นเวลาคันไม้คันมือเวลานั่งรถไฟฟ้าไปทำงานผมก็หาอะไรมาทดแทนนั้นคือหนังสือที่ต้องมีติดตัวเสมอ ถ้าได้นั่งนี้สบายเลยครับอ่านไปยาวๆระหว่างทำงานเลย เพราะฉะนั้นมาสังเกตุดูนะครับ

    เราเลือกที่จะทำให้ตัว CUE (ตัวกระตุ้น) ในการเล่นโทรศัพท์นั้นยากขึ้นโดยการเอาโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋าจากที่แต่ก่อนนั้นอยู่แนบขาตัวเองในกระเป๋ากางเกง

    เราหาสิ่งอื่นมาทดแทนความอยากของเรานั้นคือหนังสือที่พกติดตัวมาตลอด (แนะนำให้เริ่มจากหนังสือเล็กๆครับ ไม่ต้องหนักมากถ้าถืออ่านมือเดียวได้ยิ่งดีโดยเฉพาะถ้าคุณนั่งรถไฟที่ต้องใช้อีกมือจับราวเสมอ)

    Exercise สำหรับวันนี้ครับสำหรับนิสัยที่คุณอยากสร้าง คุณจะเลือกตัด CUE ไหนออกไปและทดแทนด้วยอะไรแทน

    Source: Master These Habits So You DON'T WASTE Another Year Of Your Life AWAY! | James Clear & Lewis Howes

    https://youtu.be/kD2IQWP25Yc?t=4284

  • ข้อคิดจากการ์ตูน Teen Titans เส้นทางสู่ยอดเขา

    .

    วันนี้จากการที่เล่นโซเชียลมีเดียก็ได้เห็น Reels (วิดิโอสั้น ใน IG) เรื่อง Teen Titans หนึ่งในการ์ตูนไวเด็กที่ผมชอบมาก ตอนเด็กๆเราดูเราดูเอาสนุกครับไม่ได้จับใจความอะไรเน้นมันส์ เน้นแอคชั่น แต่พอมาเห็น Reels นี้เราก็ได้เห็นข้อคิดที่ถูกใส่ไว้

    .

    ใน Episode The Quest คือช่วงที่โรบิน..หนึ่งในตัวละครเอก ต้องผ่าฟันไปบนเขาเพื่อเข้าไปฝึกฝนกับปรมอาจารย์ด้านศิลปะป้องกันตัวเพราะเขาได้พ่ายแพ้กับศัตรูตนนึงนามว่าคิทาโร่ซึ่งระหว่างทางเขาก็ได้พบกับคุณยายแปลกหน้าที่เหมือนจะร่วมเดินทางขึ้นเขาไปกับเขา ระหว่างทางโรบินต้องต่อสู้กับอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นหมี งู ลิง ซึ่งหารู้ไม่เลยว่าคิทาโร่นั้นแอบติดตามโรบินอยู่ เพียงรอให้โรบินจัดการอุปสรรคข้างหน้าคิทาโร่ก็จะสามารถขึ้นเขาอย่างสบาย ซึ่งพอโรบินอยู่ใกล้ยอดเขาแล้วคิทาโร่ก็ปรากฏตัวขึ้นและล้มโรบินได้ ในช่วงเวลาที่โรบินล้มลงนั้นเขานึกถึงการยอมแพ้จนกระทั่งยายแปลกหน้าก็ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้ง

    .

    ยายแปลกหน้า: ตอนที่คุณเริ่มเดินทางคุณยังมีความตั้งใจว่าไม่มีอะไรหรอกที่สามารถหยุดคุณได้ และในตอนนี้ที่คุณใกล้ถึงเป้าหมายแล้ว คุณจะยอมแพ้ง่ายๆเลยหรอ

    .

    โรบิน: ก็มันง่ายกว่าเมื่อตอนเริ่มหนิ

    ยายแปลกหน้า: ช่วงแรกๆมักจะง่ายเสมอ แต่ลองคิดถึงสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ระหว่างทางสิ

    .

    โรบิน: เราจะทุกข์ทรมานกับการต่อสู้ขึ้นเขาทำไมถ้ามีคนที่สามารถเดินขึ้นมาในทางที่ง่ายกว่า

    .

    ยายแปลกหน้า: มันมีคนที่เลือกทางที่ง่ายกว่าอยู่แล้ว แต่มันไม่ควรหยุดคุณในการเลือกทางที่ถูกต้อง

    .

    หลังจากนั้นโรบินได้ใช้ประสบการณ์ที่ได้จากการผ่านอุปสรรคต่างๆมาใช้เพื่อล้มคิทาโร่ ซึ่งคิทาโร่ผู้ไม่ได้ต่อสู้กับหมี งู และลิงก็ไม่สามารถเอาชนะโรบินที่มีทักษะใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งหลังจากเอาชนะคิทาโร่ได้ ในที่สุดปรมอาจารย์ที่แท้จริงก็ปรากฏตัว คิทาโร่นั้นอยากที่จะฝึกกับปรมอาจารย์เช่นกันแต่เขาไม่ได้ใช้เส้นทางที่ถูกต้อง เขาเลือกเส้นทางที่ง่ายกว่าแต่โรบินนั้นได้เลือกเส้นทางที่ถูกต้อง สุดท้ายปรมอาจารย์ก็เลือกรับโรบินเข้ามาฝึกฝนร่วมกัน

    .

    เราลองมาสรุปบทเรียนกันนะครับ

    .

    ในชีวิตมันมีเส้นทางที่ง่ายกว่าเสมอแต่เส้นทางที่ไร้อุปสรรคอาจไม่ใช่เส้นทางที่ถูกต้อง

    .

    การเริ่มต้นอาจเป็นสิ่งที่ง่ายเพราะเราไม่รู้ว่าข้างหน้าเราจะเจออะไรบ้าง แต่อย่าลืมนึกถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้และความคืบหน้าระหว่างทาง

    .

    Source: Teen Titans EP. The Quest

  • ช่วงนี้อ่านหนังสือติดกันบ่อยขึ้นครับ อยากให้มันเป็นนิสัยติดตัวไปมาทดแทนการใช้มือถือของเราเอง ซึ่งตอนช่วงแรกๆเราเริ่มจากการอ่านวันละบท (ประมาณวันละ 10-20 หน้าแล้วแต่หนังสือแล้วแต่บท) ส่วนใหญ่จะอ่านเกิน 1 บทด้วยซ้ำ

    .

    หลังๆเริ่มนำเทคนิค Pomodoro มาใช้มากขึ้นนั้นคือการจดจ่อไปกับสิ่งใดสิ่งนึง ตัดสิ่งรบกวนออกในช่วงเวลา 25 นาที อุปกรณ์ที่ใช้มีแค่ดินสอ นาฬิกา และหนังสือที่เราอยากอ่านครับ แล้วอย่าลืมนำสิ่งรบกวนอย่างมือถือเราไว้ห่างๆตัวนะครับ

    .

    หนังสือที่เลือกอ่านวันนี้คือเล่ม “แค่นี้ก็ดีมากแล้ว”โดยอาจารย์นภดล ร่มโพธิ์ครับ มีอยู่ 45 บทสั้นๆรวมแล้ว 200 หน้าซึ่งผมว่าการอ่านจบภายใน 1 วันเป็นเรื่องที่เราทำได้แน่นอนก็เลยลองทำช่วงวันหยุดดูครับเป็นการ Challenge ตัวเองเล่นๆ (ลองสังเกตุนะครับ เราไม่ได้ซีเรียสว่าจะทำได้จริงรึเปล่า แค่อยากลองนะครับ เป็นการตั้งเป้าหมายไว้ แต่ถ้าทำไม่สำเร็จเราก็ไม่ได้กดดันอะไรตัวเอง เพราะสุดท้ายความสุขของผมมันอยู่ที่การอ่านไม่ได้อยู่ที่อ่านจบ)

    .

    การใช้เทคนิค Pomodoro นั้นผมว่าดีต่อการอ่านเพราะว่ามันเป็นช่วงเวลาที่เราจดจ่อไม่นานเกินไปแถมหลัง 25 นาทีเราได้พักซัก 5 นาทีให้สมองเรียบเรียงข้อมูล ให้ดีลองใช้เวลาจดโน๊ตทบทวนพูดคุยกับหนังสือไปด้วย ทำซ้ำแบบนี้ 4 ครั้งอ่านจบเลยครับ ซึ่งบทเรียนที่ผมได้เรียนรู้จากการนำเทคนิคนี้มาปรับใช้คือ

    .

    คนที่อ่านหนังสืออเยอะ เขาอาจไม่ได้อ่านเร็วนะครับ เขาแค่มีเวลาจดจ่อกับมัน อยากจดจ่อกับอะไรลองใช้แค่ 25 นาทีครับ

    เอาสิ่งรบกวนออกไปเลย ทำทีละอย่าง พวกโทรศัพท์เอาไว้ห่างๆได้ดีเลยครับเพราะถ้ามันอยู่ใกล้มือเรามองเห็นได้มันห้ามใจตัวเองค่อนข้างยากครับ

    หลัง 25 นาทีอย่าลืมพักนะครับ ลองลุกขยับตัวไปดื่มน้ำหน่อย พักอย่างน้อยซัก 5 นาทีครับ

    .

    เทคนิคเสริมเวลาอ่านหนังสือ

    .

    ใช้ปากกา ดินสอ หรือ Highlight ในการอ่านครับ

    .

    นอกจากจะใช้ขีดเขียนข้อความสำคัญจดโน้ตไว้เราลองใช้ปากกา ดินสอ หรือ Highlight ของเราในการเป็นตัวช่วยด้านการอ่านครับหรือนั้นคือ Visual Pacer นึกภาพตอนเด็กที่เราอ่านเราใช้นิ้วชี้ตามตัวอักษรครับ ผมว่าเทคนิคนี้ถือว่าช่วยมากยิ่งเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจมีสิ่งรบกวนเสมอ การที่เรามีอะไรช่วยชี้ทำให้สมาธิเราไปจดจ่อกับจุดๆนั้น

    .

    เลือกหนังสือที่อ่านแล้วชอบ ไม่ใช่หนังสือที่เราควรอ่าน

    .

    มีข้อแตกต่างนะครับ หนังสือที่เราควรอ่านอาจเป็นหนังสือที่ท่านอื่นแนะนำแต่ด้วยสถานการณ์ของเรา อาจยังไม่ถึงเวลาของหนังสือเล่มนั้นๆบ้าง เราอาจยังไม่สนใจหนังสือเล่มนั้นบ้าง อย่าฝืนครับ เอาเวลามาจดจ่อกับสิ่งที่เราชอบดีกว่า

    .

    คิดตามเสมอ ว่าเราสามารถนำข้อคิด/บทเรียนมาปรับใช้ในชีวิตเราได้อย่างไร

    .

    สุดท้ายการอ่านเร็ว อ่านให้จบผมว่ามันจะเป็นแค่ข้อมูลที่เราใส่เข้าไปในสมองครับ แต่การที่เราจะสามารถจำและดึงสิ่งนั้นมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันคือการคิดตามครับ คิดว่าเราจะนำสิ่งนี้มาปรับใช้กับชีวิตเราอย่างไร หรือ… ลองหาวิธีเล่าเรื่องนี้ให้ท่านอื่นฟังในแบบฉบับความเข้าใจของตัวเองครับ เป็นการฝึกที่ดีเลยทีเดียวเพราะเมื่อเราได้เล่าต่อ เราได้เรียนรู้และทบทวนสิ่งนั้นอีกครั้ง

    Credit รูปภาพ: Pomodoro icons created by Flat Icons - Flaticon

    www.flaticon.com/free-icons/pomodoro

  • ทุกปัญหามีหนังสืออย่างน้อย 1 เล่มช่วยเราได้เสมอ - นภดลร่มโพธิ์

    สำหรับผมแล้ว หนึ่งในหนังสือเล่มนั้นผมขอยกให้ “แค่นี้ก็ดีมากแล้ว” เป็นเล่มที่อ่านได้เรื่อยๆ เพลินและสบายมาก แต่ที่สำคัญผมอยากหยิบบทเรียนที่ผมอ่านแล้วมันเข้ากับจังหวะชีวิตผมมาแชร์ให้ทุกท่านได้ฟังครับ ผมจะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ คือบทเรียนทางด้านการสร้างนิสัยและบทเรียนด้านความสุขครับ

    บทเรียนทางด้านการสร้างนิสัย

    ทุกอย่างเริ่มต้นจากก้าวเล็กๆก้าวแรก

    ถ้าเราไม่เริ่มก้าวแรกก็ไม่มีก้าวสอง สาม สี่ บางทีสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผมคือการได้เริ่มทำครับ แต่เมื่อได้เริ่มทำเมื่อไหร่เดี๋ยวมันก้าวต่อไปได้เอง

    พอเห็นความก้าวหน้าเดี๋ยวแรงจูงใจจะมาเอง

    ต่อจากข้อแรกเลย ถ้าเราได้เริ่มก้าวแรกแล้วมันได้ก้าวต่อไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ทำให้เราไปต่อคือการเห็นความคืบหน้าครับ ตัวอย่างในหนังสือจะไปด้านการอ่านการเขียนบ้างซึ่งสำหรับผมแล้วมันตรงมากเลย ยิ่งถ้าเรามีการวัดผลให้เห็นการก้าวหน้าที่ชัดเจนได้นี้เรายิ่งมีแรงจูงใจในการทำครับเช่นถ้าวิ่งแล้ววิ่งได้ไกลขึ้นเร็วขึ้นในเวลาเท่าเดิม อ่านหนังสือก็เห็นครับว่าแต่ละทีเราอ่านแล้วเรามาไกลแค่ไหน

    เพิ่มโอกาสการเห็นช่วงเวลามหัศจรรย์ได้แค่ทำให้เยอะทำให้บ่อย

    อันนี้ผมมองถึงมุมมองที่เป็น Content Creator ด้วยเพราะการทำเพจให้โตทำ Podcast ให้โตเราต้องมี Content ที่ปังใช้ไหมครับ แต่ทำไปบางทีสิ่งที่เราคิดว่าดีไม่มียอดเข้าชมบ้างไม่เห็นมีคนมาอ่านบ้างเลย จนวันนึงลองโพสท์อะไรไปอยู่ดีๆก็เริ่มมีคนเห็นคนแชร์ถือเป็นช่วงเวลามหัศจรรย์เลยครับ แต่มันก็ไม่ได้มาบ่อยๆ ทั้งนี้ที่ผมอัด Podcast ถี่ขึ้น เขียนโพสท์เยอะขึ้นก็จะได้สร้างโอกาสให้เวลามหัศจรรย์นั้นมีมากขึ้นครับ

    การทำอะไรให้เป็นนิสัยแล้วยังไม่ได้แปลว่าเราจะเห็นผลลัพท์

    แนวทางนึงที่อาจารย์นภดลกล่าวไว้ในหนังสือคือการทำอะไรให้ต่อเนื่องซัก 6 เดือนซึ่งผมว่าเป็นแนวทางที่ดีเลย เพราะมันจริงครับ ทำอะไรให้เป็นนิสัยแล้วไม่ได้แปลว่าเราจะเห็นผลลัพท์มันทันที อย่างน้อยเวลา 6 เดือนนี้ถ้าเราเปรียบเทียบกับตอนที่เราเริ่มเราน่าจะเห็นความก้าวหน้าที่ชัดเจนระดับนึงเลย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนิสัยที่เราเลือกครับ บางอย่างยิ่งช่วงแรกๆเราเน้นไปที่การทำก่อน ทำให้มันต่อเนื่องเพราะถ้าเราทำแล้วคาดหวังผลที่เร็วไปมันจะท้อเอาครับ ทำเพราะมีความสุขกับการได้ทำด้วยยิ่งดีเลยครับ

    บางทีแค่ยังไม่ถึงเวลา

    เรื่องบางเรื่องถึงแม้เราตั้งใจ เรามองว่าเป็นไอเดียที่ดีแต่ใช่ว่ามันจะสำเร็จเสมอไป ซึ่งบางทีมันแค่ยังไม่ถึงเวลาของมันครับ สำหรับผมแล้วบางเล่มที่อ่าน อ่านไม่นานเราวางลงไปแล้วหยิบเล่มอื่นมาแทน แต่พอเวลาผ่านไปเราลองย้อนกลับไปอ่านเล่มที่เราวางลงใหม่แล้วรู้สึกว่ามันตอบโจทย์ปัญหาที่เราเจออยู่ช่วงนั้น ก็ทำให้รู้ว่าทุกอย่างมันมีเวลาของมันครับ

    บทเรียนด้านความสุข

    รู้จักมีความสุขให้ง่ายขึ้น มีความสุขที่เห็นคนอื่นสำเร็จ

    อันนี้ชอบมากเพราะส่วนตัวชอบ Concept การฉลองชัยชนะเล็กกับการทำอะไรเล็กๆอยู่แล้ว เราไม่ต้องรอความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อย่างการได้รับการโปรโมทหรือขึ้นเงินเดือนหรอกครับ หาความสุขเล็กๆในแต่ละวันมาเติมเต็มใจได้ผมว่ามันยั่งยืนกว่า แล้วก็ฝึกมีความสุขเมื่อเห็นคนอื่นสำเร็จด้วยก็ดีครับ ยิ่งในโซเชียลมีเดียเห็นคนอื่นสำเร็จถ้าเราไปอิจฉาเขาคงมีแต่ทุกข์นะ ฉลองความสำเร็จของคนอื่น เอาเป็นแรงบันดาลใจแล้วเติมเต็มความสุขในแต่ละวันของตัวเองดีกว่าครับ

    ใช้เวลาให้คุ้มค่า เราจะได้ไม่เสียดายภายหลัง

    ข้อนี้ผมหยิบเรื่องการใช้เวลากับการบริหารเงินมาครับ ผมชอบช่วงที่อาจารย์เขาเล่าว่าถ้าเรามีสิ่งที่อยากทำแต่มันต้องใช้เงินลองคิดดูว่าถ้าเราแก่ไปแล้วมีเงินเราจะมาทำสิ่งนี้ไหวไหม อ่านแล้วก็ตกผลึกได้ครับว่าถ้าในอนาคตเราไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งนั้นแล้วถึงแม้ว่าเรามีเงิน เราเลือกที่จะทำสิ่งนั้นวันนี้เลยดีกว่าซึ่งอย่างนึงที่เราให้ความสำคัญมากขึ้นคือความสัมพันธ์ครับ ความสัมพันธ์ของครอบครัว เพื่อน สัตว์เลี้ยง จงใช้เวลาให้เต็มที่เราจะได้ไม่เสียดายภายหลัง

    อย่าไปฝากความสุขไว้กับใคร

    เรื่องนี้มีตั้งแต่ความคาดหวังกับการพึ่งพาตัวเองครับ เราไปคาดหวังกับคนอื่นไม่ได้แปลว่าเขาจะทำตามเราเสมอนะ สุดท้ายผลเป็นยังไงความเจ็บมันขึ้นอยู่กับเราเนี้ยแหละที่คาดหวังแค่ไหน ส่วนเรื่องการพึ่งพาตัวเอง ถ้าเรามัวแต่ยึดติดว่าความสุขเราอยู่กับการกระทำของคนอื่นเราจะควบคุมความสุขของเราเองไม่ได้เลย รู้จักที่จะมีความสุขได้ด้วยตัวเอง

    อย่ามองข้ามความเป็นธรรมดาที่เราเจออยู่ทุกวัน

    เราอยู่ในสังคมที่มองบนเสมอครับ…นั้นคือเราเปรียบเทียบกับคนด้านบนเสมอ ถ้ามนุษย์เรามีความสามารถพิเศษในการขยับรายจ่ายตามรายได้ในฉบับพี่หนุ่ม The Money Coach ผมว่ามนุษย์เราก็มีความสามารถพิเศษในการเปรียบเทียบตัวเองกับคนข้างบนเสมอเช่นกัน ซึ่งการที่เราจะมีความสุขได้มันเริ่มจากคำว่าพอ เราขอบคุณสิ่งที่เรามีไว้เพราะถ้าวันนึงสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกๆวันที่เรามองว่ามันธรรมดานั้นหายไปสิ่งที่เราอยากขอมากที่สุดก็เพียงแค่อยากได้สิ่งธรรมดาๆนี้กลับมา

    เมื่อประตูบานหนึ่งปิดลง ประตูอีกบานจะเปิดขึ้นเสมอ

    ถ้าประตูบานหนึ่งปิดลงจริงๆ มันก็จะมีประบานใหม่เปิดขึ้นแต่เรามัวแต่ไปมองประตูบานเก่ารึเปล่า ถ้าโอกาสนึงปิดเราลองเรียนรู้จากความผิดพลาดและมองหาโอกาสใหม่ๆครับ

    Source: แค่นี้ก็ดีมากแล้ว - นพดล ร่มโพธิ์

  • ความมั่นใจเป็นตัวแปลสำคัญในการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่ใช่ว่าเราสามารถเปลี่ยนได้ เราก็จะไม่เปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มต้นจากการเชื่อมั่นในตัวเอง เราต้องมีความมั่นใจ

    จะสร้างความมั่นใจยังไง?

    ลองนึกย้อนไปช่วงที่ๆอยู่ๆก็มีคนมาแนะนำอะไรคุณ ด้วยความหวังดีเขาอยากจะสอนอะไรเราบางอย่าง แต่เรากลับรู้สึกไม่ชอบใจเลย ทำไมอยู่ๆต้องมาสอนด้วย เราไม่ได้ขอซักหน่อย เผลอๆความหวังดีนี้ยิ่งทำให้เสียความมั่นใจในตัวเองซะอีกเพราะมันแอบส่งข้อความให้เราว่าเราทำเองไม่ได้ แต่ถ้าเรามองในมุมกลับกันละ

    ลองนึกถึงช่วงที่อยู่ๆคนมาขอคำแนะนำจากเรา ถึงแม้ว่าเราเองอาจไม่ได้เก่งเรื่องนั้นมากนักในชีวิตจริงแต่เราก็สามารถให้คำแนะนำที่ถือว่าดีเลย เราเพียงแค่ไม่ได้นำคำแนะนำนั้นไปใช้เองรึเปล่า แต่ถ้าลองสังเกตุ เมื่อมีคนมาขอคำแนะนำจากคุณ คุณจะรู้สึกมั่นใจขึ้นเพราะมันแอบส่งข้อความว่าคนๆนั้นเชื่อคุณ เขานึกถึงคุณว่าคุณเป็นคนเก่ง ที่สำคัญไปกว่านั้นเมื่อคุณได้ให้คำแนะนำกับใครส่วนใหญ่แล้วมันเป็นคำแนะนำที่เหมาะสมกับคุณเองเพราะมันมาจากประสบการณ์ของคุณ มันมาจากการที่คุณคิดว่า “ถ้าเป็นเรา เราจะทำอย่างไร” แต่พูดแล้วก็ต้องทำด้วย ใช้ Cognitive Dissonance ให้เป็นประโยชน์นั้นคือความรู้สึกไม่สบายใจเมื่อเราพูดอย่างทำอย่าง ใช้โอกาสที่คนเขาอุตส่าห์เชื่อในตัวคุณสร้างคุณให้เป็นคนที่เก่งตามที่พวกเขาเชื่อ

    เพราะฉะนั้นถ้าอยากสร้างความมั่นใจให้คนอื่นอย่าไปสอนเขาครับ ลองขอคำแนะนำจากเขาแล้วเขาจะเริ่มคิดถึงไอเดียดีๆที่เผลอๆเหมาะกับเขาเองที่สุด ส่วนถ้าเราอยากเสริมความมั่นใจให้ตัวเองโดยที่ไม่มีคนอื่นมาขอความช่วยเหลือ ลองนึกภาพว่าถ้ามีคนมาขอความช่วยเหลือด้านนี้แล้วคุณจะแนะนำเขาอย่างไร

    นอกจากนั้นเวลาการเปลี่ยนแปลงเราต้องคำนึงถึงความผิดพลาดที่มาเป็นช่วงๆ เราต้องเป้าว่าจะทำสิ่งนึงทุกวันแต่ก็จะมีบางวันที่พลาดไปบ้าง

    กับดักนึงที่ต้องระวังคือ “What the hell effect” ไหนๆก็พลาดแล้ว งั้นช่างมันเลยละกัน เช่นพลาดเรื่องไดเอทไปงั้นเรากินให้เละไปเลยละกัน สิ่งนี้ถือเป็นศัตรูอย่างนึงที่เรียกว่าอีโก้เพราะเราเชื่อว่าถ้าพลาดครั้งเดียวเราพังยับ

    วิธีแก้คือให้โอกาสตัวเองในการผิดพลาด เช่นเราควรออกกำลังกายทุกวันนะ แต่ในอาทิตย์นึงเรายอมพลาดได้ 2 วัน นี้เป็นการที่เราให้โอกาสตัวเองเด้งกลับมาจากการผิดพลาดเพราะเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความแน่นอน ถ้าลองนึกดูแล้วเราจะสังเกตุเห็นโปรแกรมพัฒนาตัวเองด้านการกินและออกกำลังกาย ทำไมเขาถึงมี Cheat Meal ทำไมถึงมี 2 Days Rule เพราะบางวันเราอาจจะพลาดไปบ้าง แต่การที่เราให้โอกาสตัวเองก็จะกันไม่ให้เราติดกับดัก “What the hell effect”

    นอกจากนั้นเราต้องรู้จักให้กำลังใจตัวเองบ้าง ใช้ให้บ่อยขึ้นครับพวกคำว่า “ไม่เป็นไร แล้วมันก็จะผ่านไป เดี๋ยวเอาใหม่” พยายามสร้าง Growth Mindset ที่คอยย้ำเตือนว่าเรากำลังพัฒนาอยู่ เราแค่ต้องเดินต่อไปเรื่อยๆ

    โดยสรุป เราต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองก่อนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เราสามารถเสริมความมั่นใจโดยการได้เป็นคนแนะนำคนอื่นเพราะคำแนะนำนั้นมันมาจากประสบการตัวเองและคุณรู้จักตัวเองดีที่สุด เหลือแค่คุณต้องนำมันไปปรับใช้จริง อ่อนโยนกับตัวเองโดยการให้โอกาสเราในการลองใหม่อีกครั้งถ้าเราผิดพลาดเพราะว่าไม่ใช่ทุกวันจะเป็นวันของเรา รับรู้ว่าเราเป็น Work-in-process

    Source: How to Change book by Katy Milkman

  • มนุษย์เรามักเลือกทำสิ่งที่ใช้กำลังน้อยที่สุดเสมอตาม Concept “Path of least resistance” มันเป็นวิธีที่ฉลาด จะฝืนให้เปลืองแรงไปทำไม

    แล้วเราจะใช้ประโยชน์จาก “Path of least resistance” อย่างไรมาดูกันครับ

    สร้างค่าเริ่มต้น (Default) ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

    คุณเคยโหลดโปรแกรมแล้วมันมีการตั้งค่า (Setting) ให้เลือกไหมครับ ส่วนใหญ่คนก็จะเลือกการตั้งค่าแรกสุดเพราะเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ผู้สร้างระบบเขาแนะนำมาให้แล้ว แถมการตั้งค่าอื่นๆดูต้องศึกษา ดูวุ่นวายถึงแม้จะมีตัวเลือกให้เราเล่นมากกว่า เราก็จะเลือกการตั้งค่าแรกเพราะมันคือ Path of least resistance

    Default ในมนุษย์คือนิสัย (Habit) ที่สามารถพัฒนาได้

    ลองมาดูนิสัยของพวกเราครับ มันเป็นพฤติกรรมที่แทบจะไม่ต้องใช้ความคิดเลยและที่สำคัญมันสามารถพัฒนาได้ ถ้าคุณอยากมีนิสัยอ่านหนังสือ ฟัง Podcast แต่คุณพึ่งเริ่ม ช่วงแรกๆอาจต้องใช้ความพยายามเยอะหน่อยแต่เมื่อเราทำซ้ำๆไป ความพยายามที่ต้องใช้ก็ลดลง

    สูตรสำเร็จในการสร้างนิสัยขึ้นอยู่กับความต่อเนื่อง

    ยิ่งทำบ่อยในสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่คุ้นชินมันก็จะเป็นนิสัยครับ พฤติกรรมที่เป็นนิสัยนั้นมี 3 ปัจจัยหลักๆนั้นคือ CUE-ROUTINE-REWARD ซึ่งผมอยากเจาะลึกไปในส่วนของ CUE

    CUE นั้นคือสิ่งที่บอกว่าได้เวลาทำพฤติกรรมนี้แล้ว มันสามารถเป็นทั้ง สถานที่ เวลา หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมก่อนหน้า

    เช่นตื่นเช้าแล้วต้องไปล้างหน้า

    CUE ของการล้างหน้าคือการที่เราพึ่งตื่น

    พอล้างหน้าเสร็จเราแปรงฟัง

    CUE ของการแปรงฟันคือการที่เราพึ่งล้างหน้าเสร็จ

    แล้วจะสร้างนิสัยยิ่งมี CUE ที่เป๊ะหรือมีความยืดหยุ่นจะดีกว่ากัน?

    หลายทีผมเจอคำแนะนำที่ว่าถ้าอยากทำให้พฤติกรรม______เป็นนิสัย เราต้องทำสถานที่เดิมเวลาเดิม แต่ปัญหาคือคำแนะนำนี้มันเหมาะสมเฉพาะโลกที่เหมือนเดิมทุกวัน แต่เราอยู่ในโลกที่มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

    การยึดติดมากไปสำหรับการสร้างพฤติกรรมนั้นทำให้เราสามารถทำสิ่งนั้นเป็นนิสัยได้ต่อเมื่อทุกอย่างมันเป๊ะ เช่นนั่งสมาธิตอนเช้า 7 โมงในเก้าอี้ประจำหลังอาบน้ำเสร็จ ถ้าคุณตื่นสายละ ถ้าวันไหนคุณไม่ได้อยู่บ้านแล้วไม่มีเก้าอี้ประจำคุณละ ถ้าคุณไม่ได้อาบน้ำละ คุณจะนั่งสมาธิอยู่ไหม?

    เราเลยต้องพยายามฝึกตัวเองให้สามารถทำพฤติกรรมที่เราต้องการให้เป็นนิสัยให้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไหนก็ตาม เพราะฉะนั้นความเป๊ะในการสร้างนิสัยนั้นไม่จำเป็น

    ถ้าอยากสร้างนิสัยต้องคอยติดตาม

    การที่เราคอยติดตามนิสัยของเรามันเป็นการที่เราได้คอยเตือนตัวเองให้ทำนิสัยนั้น ได้ฉลองความสำเร็จเล็กๆและได้รับรู้ถึงส่วนที่พลาดไป ยิ่งได้เห็นความคืบหน้าในแต่ละวันของเรามันยิ่งเป็นกำลังใจให้เราได้ทำต่อ เพราะฉะนั้นถ้าได้เห็นความคืบหน้าแล้วให้ตั้งเป้าหมายเป็นความต่อเนื่อง

    Photo by Frida Aguilar Estrada on Unsplash

    https://unsplash.com/photos/rYWKAgO7jQg

    Source: How to Change book by Katy Milkman

  • ปีศาจตนนี้เป็นปีศาจที่ชอบวนมาหาเราบ่อยๆ ไม่ว่าจะมาในรูปแบบการคาดหวังที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง หรือการคาดหวังที่มาจากคนอื่น

    ในหนังสือเรื่อง “แค่นี้ก็ดีมากแล้ว” เขียนโดยอาจารย์นภดล ร่มโพธิ์ เขาก็ได้กล่าวถึงความคาดหวังเช่นกันซึ่งเป็นความคาดหวังที่เรามีให้กับคนอื่น สุดท้ายไม่ว่าจะคาดหวังเยอะหรือน้อยก็ไม่ได้กระทบเลยว่าคนอื่นจะทำตามสิ่งที่เราต้องการรึเปล่า แต่คาดเจ็บปวดมันต่างกัน ยิ่งคาดหวังเยอะยิ่งเจ็บเยอะ ยิ่งคาดหวังน้อยยิ่งเจ็บน้อย

    ผมมองว่าความคาดหวังเปรียบเสมือนการแบกหินก้อนใหญ่ที่ไม่จำเป็น จะเดินไปไหนก็ไม่สะดวกไม่ว่าจะเป็นหินของเราเองหรือหินของคนอื่น ถ้าเราเอาหินเราไปให้คนอื่นแบกก็เหมือนตั้งความคาดหวังกับคนอื่นให้แบกหินนี้ไปสู่เป้าหมายของเราแต่ถ้าเขาไม่ทำละ ความเจ็บปวดก็อยู่ที่เราแต่เราจำเป็นต้องแบกหินก้อนนั้นไว้ไหม

    แล้วถ้าความคาดหวังมาจากคนอื่นละ เป็นหินที่คนอื่นอยากให้เราแบก ถ้าไปไม่ถึงเป้าก็รู้สึกเจ็บที่ทำให้เขาผิดหวังเปรียบเสมือนโดนหินเหล่านั้นทับเราลงไป เราตอบตกลงเพียงเพราะเราไม่อยากทำให้เขาผิดหวังแต่หารู้ไม่เลยว่าคำตกลงนั้นคือการปฏิเสธหลายๆสิ่งที่มาจากเราเอง

    สุดท้ายการกระทำนั้นเหมือนกันแต่ความคาดหวังต่างกัน ถ้าคาดหวังเยอะก็เจ็บเยอะ ถ้าคาดหวังน้อยก็เจ็บน้อย แต่ไม่ใช่ว่าเราจะทำอะไรโดยไม่มีเป้าหมาย เหมือนนักกีฬาไปแข่งก็คงไม่ลงสนามโดยที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อชนะ แต่เขาคงเล่นได้สบายขึ้นเยอะถ้าเขาไม่ต้องแบกหินที่ไม่จำเป็นที่เรียกว่าความคาดหวัง ซึ่งหินนั้นมันไม่ได้มีอยู่จริง มันเป็นปีศาจในหัวเราที่เข้ามา

    Photo by petr sidorov on Unsplash

    https://unsplash.com/photos/tQNoMWOvhXs

  • วันที่ผมเขียนบทความนี้เป็นวันที่ซีซั่นของทีมมิลวอกี้ บัคส์ได้จบลงในการแข่งขันเพลย์ออฟรอบแรกให้กับทีมไมอามี่ ฮีตในเกมที่ 5

    หลังจากจบเกมมีนักข่าวมาสัมภาษณ์ยานนิส อันเททูคุมโปอดีตแชมป์และผู้เล่นระดับ MVP (Most Valuable Player) ว่าเขามองซีซั่นนี้เป็นซีซั่นที่ล้มเหลวรึเปล่า ถึงแม้ว่าพาทีมเป็นอันดับ 1 ในฝั่งตะวันออกแต่กลับตกรอบแรกให้กับทีมที่แข่งเพลย์อินมา

    หลังได้ฟังคำถามยานนิสก็ได้ถอนหายใจและตั้งคำถามกลับว่า “ทุกปีคุณได้เลื่อนขั้นรึเปล่า ไม่ แล้วแบบนี้คุณคิดว่าทุกปีที่คุณไม่ได้เลื่อนขั้นเป็นปีที่ล้มเหลวหรือไม่?” หลังจากนั้นเขาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทุกปีที่คุณทำงาน คุณทำงานด้วยเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการได้เลื่อนขั้นหรือเลี้ยงดูครอบครัว มีบ้านให้พวกเขาดูแลพ่อแม่ ทุกคนทำเพื่อเป้าหมายอะไรซักอย่าง มันเป็นขั้นตอนสู่ความสำเร็จ … ไม่เคิลจอร์แดนเล่นบาสมา 15 ปี เขาได้แชมป์ 6 ครั้งแล้ว 9 ปีที่เหลือนับเป็นความล้มเหลวหรอ” นักข่าวก็ตอบไม่ซึ่งสุดท้ายยานนิสเลยปิดด้วยคำกล่าวว่า “นั้นนะสิ ก็มันเป็นคำถามที่ผิด ในกีฬามันไม่มีคำว่าล้มเหลว มันมีวันที่ดีวันที่แย่ บางวันคุณประสบความสำเร็จบางวันไม่ตาของคุณบางวันไม่ใช่ และนั้นคือกีฬาเราไม่ได้ชนะเสมอ กลุ่มอื่นก็คงชนะบ้างและปีนี้ก็คงมีใครที่ได้ชัยชนะไป ซึ่งไม่ต่างกันปีหน้าพวกเราก็จะกลับมา พัฒนาขึ้น มีนิสัยที่ดีขึ้น เล่นดีขึ้น ไม่มี 10 วันจากการเล่นที่แย่ ซึ่งหวังว่าเราคงได้แชมป์ 50 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 71-21 ที่เราไม่ได้แชมป์เลยมันเป็น 50 ปีของความล้มเหลวหรอ ไม่! มันไม่ใช่ มันมีขั้นตอนเพื่อจะไปคว้าแชมป์ซึ่งเราก็สามารถได้แชมป์มาครั้งนึงหวังว่าเราทำได้อีกครั้ง”

    สำหรับผมมุมมองของยานนิสไม่ได้นำมาปรับใช้ได้แค่ในกีฬาแต่ก็สามารถปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทุกคนมีเป้าหมาย เราอยากประสบความสำเร็จซึ่งความสำเร็จไม่ได้เห็นได้ทุกวัน บางทีเราต้องใช้เวลาพัฒนากว่าจะเริ่มเห็นแม้กระทั่งเงาของความสำเร็จ บางวันก็เป็นวันของคุณ บางวันก็ไม่ใช่ แต่คุณจะรอให้มีคำว่าแชมป์ มีคำว่าถึงเป้า มีคำว่าชนะหรอ ทุกอย่างมีขั้นตอนของมันอยู่ คำว่าล้มเหลวมันไม่มีหรอก ขอเสริมจากบทเรียนในหนังสือแค่นี้ก็ดีมากแล้วจากอาจารย์นภดล ร่มโพธิ์นะครับเรื่องความล้มเหลว เราจะล้มเหลวได้ต่อเมื่อเราไม่มีการเรียนรู้จากมัน ใช้โอกาสนี้หาบทเรียนและพัฒนาตัวเองต่อ

    ส่วนประกอบสำคัญถ้าคุณเราแยกออกมาดูทีละจุดนะครับ

    ความสำเร็จไม่ได้เห็นได้ทุกวัน

    ทุกอย่างใช้เวลาและมันมีขั้นตอนของมัน

    ไม่มีหรอกคำว่าล้มเหลว

    Photo by Chris Greenhow on Unsplash

    https://unsplash.com/photos/3FjIywswHSk

    Source: https://youtu.be/jVPQDcAvPW4

  • เรื่องเด็กวัดดอนเป็นเรื่องราวของดร.นิเวศน์ที่เคยมีฐานะยากจนมาก่อนแต่ด้วยความขยัน การเอาตัวเองออกจากกรอบ การใฝ่รู้เล่าเรียน และการวางแผนเขาได้ไต่จากเด็กสลัมขึ้นไปเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีของประเทศไทย

    ที่อยากโตเพราะโดนเหยียดมาก่อน

    พ่อแม่ของดร.นิเวศน์เป็นผู้อพยพจากจีนมาเป็นคนงานก่อสร้าง คนจีนที่อพยพมาใช่ว่าทุกคนจะได้รับการปฏิบัติที่ดี จริงๆส่วนใหญ่โดนเหยียดด้วยซ้ำ ถ้าไม่มีฐานะดีมาก่อนจะโตได้โอกาสแทบจะไม่มีเลย แต่ก่อนดร.นิเวศน์ไม่ได้มีชื่อนี้เขามีชื่อว่า เหงียน แซ่หว่อง ที่เปลี่ยนนามสกุลเพราะอยากมีนามสกุลไทย เขาอยากเป็นคนไทย แต่ด้วยนามสกุลใหม่ เหมวชิรวรากร ที่ยาวเฟื้อยก็โดนล้อเหมือนกันเพราะไม่มีคนไทยที่มีนามสกุลยาวอย่างนี้ ด้วยความที่ถูกเหยียดก็เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้เขาอยากโตขึ้น อยากเปลี่ยนสถานะ ซึ่งวิธีที่เขาเลือก เขาเลือกทำผ่านการศึกษา

    ไต่เต้าขึ้นมาได้เพราะการศึกษา

    ดร.นิเวศน์ถือเป็นคนที่เรียนดีส่วนใหญ่จะได้ที่ 1 ที่ 2 ตลอด พอเรียนดีเขาก็เริ่มได้รับโอกาสไปเรียนกับคนที่มีฐานะสูงกว่า (อีลีท) ได้เรียนที่เตรียมอุดม เรียนต่อที่มหาลัยจุฬาคณะวิศวะ การศึกษาทำให้เขาได้อยู่กับสังคมอีลีท วิธีคิดของเขาก็ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มสังคมที่เข้าได้มาอยู่ด้วย ส่วนนึงของความสำเร็จด้านการศึกษาเป็นผลพลอยจากความขยันที่ได้รับมาจากพ่อแม่ แต่ดร.นิเวศน์เองก็เป็นคนที่ใฝ่รู้ คอยหาความรู้ให้ตัวเองเสมอซึ่งแน่นอนว่าไม่พ้นการอ่านหนังสือและความขยันเรียน ด้วยการเรียนดีนำพาเขามาสู้สังคมที่ดีโอกาสทางด้านการงานและรายได้ก็เลยตามมาด้วยเช่นกัน แต่จุดที่เปิดโลกและให้โอกาสเขามากที่สุดคือช่วงที่เขาได้ไปศึกษาต่อที่อเมริกา ทั้งเจอคู่ชีวิต เจอโลกภายนอก และพบแนวคิดเรื่อง Value Investing (VI) สมัยที่ประเทศไทยยังไม่รู้จำคำว่าวีไอเลย สิ่งนี้เขาเรียกมันว่าเมล็ดพันธุ์ทางปัญญา

    จุดด้อยกว่าก็มีเยอะแต่ถ้าได้เตรียมตัวเมื่อไหร่เราชนะแน่

    ในชีวิตของดร.นิเวศน์เขามักเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังเสมอ เขายอมรับว่าเขาเป็นคนที่พูดไม่เก่ง จะให้ไปโต้วาทีกับคนอื่นถือเป็นสนามที่เขายอมรับว่าด้อยกว่าคนอื่น แต่สิ่งที่เขาบอกเสมอคือถ้าเขาเลือกสนามแล้วและเขามีโอกาสได้เตรียมตัวเขาชนะแน่ๆ การที่ดร.นิเวศน์ลงทุนในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งนอกจากความจำเป็นที่ต้องหาวิธีอยู่ให้ได้เพราะถูกเชิญออก เขาก็เตรียมตัวมาอย่างดี วิเคราะห์เกมจนรู้ว่ายังไงเกมนี้เราชนะเป็นแน่ ไม่ว่ายังไงก็เตรียมตัวเองให้ดี อ่านเกมให้ออก เลือกเข้าเกมที่เราไม่มีวันแพ้

    มุมมองแก้ว 3 ประการของการลงทุน

    แก้ว 3 ประการของการลงทุนประกอบไปด้วย เงินต้น ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน และระยะเวลา

    เงินต้นเราสามารถได้รับจากพ่อแม่ซึ่งสำหรับตัวดร.นิเวศน์เองก็ถือว่าแสงนี้ค่อนข้างลิบหลี่แต่อย่างน้อยเขาก็ทำงานหารายได้และเก็มออมเพื่อสะสมเงินต้นมาเรื่อยๆ

    ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนสำหรับดร.นิเวศน์ที่เป็นสาย Value Investing (VI) นั้นเขาเลือกที่จะลงทุนในหุ้นที่ดีในราคาที่เหมาะสม ยิ่งเป็นช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งเขายิ่งค้นพบหุ้นดีราคาถูกเต็มไปหมด ในระหว่างที่คนโลภเราต้องกลัว แต่ขณะที่คนกลัวเราต้องโลภ (ทั้งนี้ควรศึกษาก่อนการลงทุนเสมอนะ)

    ระยะเวลา ยิ่งมีเวลาเยอะยิ่งมีโอกาสที่เราจะได้เห็นผลตอบแทนของการลงทุนของเรา ถ้าเราเริ่มเร็วยิ่งดีแต่ก็ควรศึกษาว่าเราจะลงทุนอย่างไร สำหรับดร.นิเวศน์เองก็ถือว่าเขาเริ่มต้นช้าในอายุช่วงสี่สิบ แต่ทุกวันนี้ดร.นิเวศน์ก็ยังคงลงทุนอยู่ แถมยังรักษาสุขภาพเพื่อยืดเวลาในแก้วประการที่ 3 ของเขา

    แน่นอนว่าจะทำให้แก้วทั้ง 3 นี้ส่องแสงสว่างได้นั้นต้องมีทั้ง “โชค” และความ “พยายาม”

    เป็นเศรษฐีแต่ใช้ชีวิตแบบงกๆ เพราะความสุขไม่ได้อยู่ที่การใช้เงิน

    ถ้าลองมองชีวิตของมหาเศรษฐีคนนี้เราจะเห็นว่าเขาไม่ได้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเลย บ้านก็ไม่ได้อยู่บ้านที่ใหญ่โตอะไร รถก็ไม่ได้ขับรถหรูๆ เขาเล่าว่าที่เขาใช้ชีวิตแบบงกๆนี้เป็นเพราะมันไม่มีความจำเป็น เขาไม่ได้ผูกความสุขไว้กับการใช้เงิน เขารู้ว่าความสุขของเขาอยู่ที่ไหน แถมนิสัยการเก็บออมก้เป็นนิสัยที่เขาได้มาแต่เด็กๆจากที่เป็นเด็กวัดดอนที่ยากจนมาก่อน

    แล้วทำไมเขาถึงยังลงทุนต่อละ?

    การลงทุนสำหรับเขาก็คือความสุข เขามีความสุขที่จะได้ทำ การได้เห็นพอร์ตของตัวเองโตก็สร้างความสุขเล็กๆให้เขาแล้ว เราทำสิ่งที่มันมีความหมาย มันสร้างความสุขให้เราแล้วการทำงานจะไม่เหมือนการทำงาน

    ความคิดจะเปลี่ยนได้เราต้องใฝ่รู้ (แถม เป็น extra)

    มุมมองต่างๆของดร.นิเวศน์นั้นได้มาจากการอ่านหนังสืออย่างเช่นเรื่องการเมืองที่แต่ก่อนเขาเป็นอนุรักษ์นิยมและเปลี่ยนเป็นเสรีนิยมซึ่งมันไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันแต่เป็นการเก็บความรู้เรื่อยๆจากการอ่าน การศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมือง ซึ่งนอกจากการอ่านแล้วเขาก็สะท้อนความคิดตัวเองเสมอซึ่งสามารถเห็นได้จากบทความต่างๆที่เขาเขียน นอกจากนั้นเขายังเริ่มศึกษาเรื่องยีนและพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งเขาสามารถนำมาปรับใช้เป็นมุมมองการลงทุนและอธิบายพฤติกรรมของเขาได้เช่นกัน ยีนของมนุษย์ต้องการที่จะ “อยู่รอด” และ “สืบพันธุ์” เพราะฉะนั้นธุรกิจที่ตอบสนอง 2 สิ่งนี้ได้ก็จะมีโอกาสเติบโต เช่นธุรกิจความงามที่ไม่มีวันตาย การแต่งตัวดี ดูแลตัวเองให้ดีเพราะต้องการดึงดูดเพศตรงข้าม

    Photo by Mathieu Stern on Unsplash

    https://unsplash.com/photos/1zO4O3Z0UJA

    Source: เด็กวัดดอน เล่าโดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เขียนโดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

    #เด็กวัดดอน #ดร.นิเวศน์ #ลงทุนแบบวีไอ