Avsnitt
-
ไม่มีอะไรสำคัญเท่าธรรมะหรอก ถ้าใจทรงธรรมแล้ว ใจสัมผัสธรรมะแล้ว อย่าว่าแต่เกิดสงครามโลกเลย โลกจะแตก จักรวาลจะดับ จิตยังไม่หวั่นไหว อย่าว่าแต่จะตาย หรือว่าตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร จะมีกินหรือเปล่า ใจก็ไม่หวั่นไหวหรอก จะหาอะไรที่ทำให้ใจ สงบ สันติ ร่มเย็น อยู่ได้ในทุกๆสถานการณ์ แสวงหาในโลก ไม่มีทางได้หรอก ถ้าเราเป็นปลา เราแสวงหาอยู่ในโลกของเรา ในน้ำ ก็ไม่มีวันได้ -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีนออนไลน์ 16 มิถุนายน 2565
-
ภาวนาแล้วต้องเป็นไปเพื่อความลดละ ความปล่อยวางจางคลายไปเป็นลำดับ ไม่ใช่ยิ่งภาวนายิ่งพะรุงพะรัง ยิ่งภาวนายิ่งแบกโลกไว้มากขึ้นๆ ยิ่งภาวนาแล้ว ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น กิเลสละเอียด กิเลสมันประณีต บางคนชนะกิเลสหยาบได้ พอเจอกิเลสที่ละเอียดเข้า สู้ไม่ได้แล้ว ติดกับ ทุกอย่างต้องพอดีพอเหมาะและสมดุล ต้องรู้จักสังเกต ไม่ตึงไปไม่หย่อนไปทุกตัว การภาวนาของเราจึงจะราบรื่น -- อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ สวนธรรมประสานสุข 5 กรกฎาคม 2566
-
Saknas det avsnitt?
-
เราไม่มีหน้าที่รักษาจิต คนที่ทำหน้าที่รักษาจิตคือสติ ตัวนี้ต้องชัด หน้าที่ของเราคืออะไร หน้าที่ของเราคือมีหน้าที่เจริญสติ ถ้าเรามีความรู้สึกว่าเรามีหน้าที่รักษาจิต สิ่งที่เราทำก็คือแทรกแซงอาการของจิตดัดแปลงจิต แทรกแซงไม่เก่งดัดแปลงไม่เก่งก็เป็นมิจฉาสมาธิ แทรกแซงเก่ง ดัดแปลงเก่ง แทรกแซงสบายๆ ดัดแปลงสบายๆ สูงที่สุดก็เป็นสัมมาสมาธิแบบพักผ่อน ดีแบบได้พักผ่อน แต่พักผ่อนทั้งชาติไม่ได้มรรคผล
--
อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ
สวนธรรมประสานสุข
7 มิถุนายน 2566 -
การปฏิบัติธรรมต้องเป็นไปตามลำดับ อะไรต้องฝึกก่อน ต้องฝึกก่อน อันดับแรกมุ่งเอาสติเป็นหลัก เอาความรู้สึกตัวเป็นหลัก หลังจากนั้นถึงจะก้าวไปสู่สมาธิที่ถูกต้อง ถ้าไม่มีสติแล้วมุ่งฝึกสมาธิเลย จะได้มิจฉาสมาธิ เคลิบเคลิ้ม น้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์ เคร่งเครียด บีบบังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน ถ้าเราไม่เห็นสภาวะคือไม่มีสติ ผลของมันคือเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ได้ประกอบด้วยสติ มีสมาธิที่ถูกต้องแล้วถึงจะเจริญปัญญาได้ สมาธิมีสองขา ขาที่พักผ่อนให้จิตสดชื่น ขาที่ตั้งมั่นอยู่ ไม่ไหลไป จริงๆ ก็คิอเกิดจากจากการไหลแล้วรู้ ต้องแม่นว่า สมาธิแปลว่าตั้งมั่น สมาธิเกิดจากรู้ทันจิตที่เคลื่อน สมาธิไม่ได้เกิดจากการจงใจรักษาไว้ไม่ให้เคลื่อน สิ่งเหล่านี้ต้องแม่น -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สคนลาว โดยบ้านสติ 18 มิถุนายน 2566
-
งานทางโลก ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะกิเลสเราไม่เคยหยุด แต่งานทางธรรมมีวันจบ จบแล้วจบเลย ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก จะเอาความสุขที่เหนื่อยยากแทบตาย หามาได้ แล้วก็ต้องเสียไปอีก จะให้พลังงานทั้งชีวิต เพื่อการนี้ หรือจะใช้ทรัพยากรในชีวิต เพื่อแสวงหาความสุขที่เที่ยงกว่านี้ เลือกเอา -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สคนลาว โดยบ้านสติ 17 มิถุนายน 2566
-
หาบ้านให้จิต แทนที่จะปล่อยให้มันเป็นเด็กเร่ร่อน ก็ให้มันมาอยู่ในบ้านซะ บ้านนี่คือ อารมณ์กรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานของเรา จะเป็นพุทโธก็ได้ จะเป็นร่างกายก็ได้ จะเป็นบทสวดมนต์ก็ได้ อะไรก็ได้ให้ใจมันมีเครื่องระลึก เพื่อที่จะทำให้มันไม่คิดฟุ้งซ่าน สะเปะสะปะ หลงลืมตัวเองไปตลอดเวลา -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สคนลาว โดยบ้านสติ 17 มิถุนายน 2566
-
การภาวนา เร่งไม่ได้ รีบมากไม่ได้ ยิ่งเร่งจะยิ่งเพ่ง ยิ่งอยากดีจะยิ่งอึดอัด เดินไปสบาย ๆ แล้วสติ สมาธิ ปัญญาจะค่อย ๆ งอกงามขึ้นมาเอง การภาวนาจะเป็นอย่างนี้ทุกคน ถูกบ้าง ผิดบ้าง ทำไป ไม่มีถูกตลอด เราต้องรักษาศีล ฝึกสมาธิ 2 แบบ (สมาธิพักผ่อนและสมาธิจิตตั้งมั่น) จนถึงจุดหนึ่งเราจะเดินปัญญา เรารู้ว่าหลักการที่ถูกคือไม่เผลอไม่เพ่ง ถ้าเรารู้จักหลักการพวกนี้ เวลาเราผิด เราจะไม่ผิดไกลมาก เราต้องอดทน เพราะความคุ้นชินของเรา ถ้าไม่หลง เราก็เพ่ง ทีนี้เราจะฝึกหลงแล้วรู้เร็ว ๆ เพ่งเราก็รู้ จนถึงจุดหนึ่งจะเป็นความคุ้นชิน ที่จะรู้สึกตัวแบบไม่เผลอและไม่เพ่ง แล้วก็จะพบว่าการภาวนาง่ายขึ้น ๆ ตามลำดับ -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สคนลาว โดยบ้านสติ 16 มิถุนายน 2566
-
เวลาที่เราเรียนรู้ใจตัวเอง เราวางความรู้สึกผิดชอบชั่วดีไว้ก่อน เรากำลังมาเรียนว่าอะไรเกิดขึ้นในใจเราจริงๆ อย่าใช้ความคิดมาสวมหรือมาหลอก เวลาเราอยู่ในโลก เราต้องทำทุกอย่างตามเหตุผล พฤติกรรมทางกายวาจาต้องไม่ชั่ว ต้องถูกต้องตามจริยธรรม หน้าที่มีอะไรก็ต้องทำ แต่ในกระบวนการเรียนรู้ใจตัวเอง เราจะซื่อสัตย์กับใจตัวเอง จะไม่ดัดจริต จะไม่แกล้งดี สนใจว่าอะไรเกิดขึ้นในใจเราจริง ๆ แปลว่า สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ได้หมด เบื่อก็ได้ หลงไปคิดก็ได้ ไม่ว่า เราจะไม่กด ไม่ข่ม ไม่แก้ -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สคนลาว โดยบ้านสติ 16 มิถุนายน 2566
-
เราทำกรรมฐานโดยจะไม่พยายามทำสิ่งที่ถูก เพราะทำไม่ได้ เราจะรู้ทันจุดที่ผิด เช่น หลงไปไม่ถูก แต่หลงไปแล้วรู้ เราจะได้จุดที่ถูกขึ้นมา ถ้าจงใจจะรู้ จงใจทำให้ถูก จะไม่ถูก ที่ถูกทำไม่ได้ ที่ถูกจะได้มาจากการรู้จุดที่ผิด แต่เราฝึกได้ ฝึกรู้ทันจิตที่ไหลออกไปบ่อย ๆ ฝึกจนสติรู้ทันเร็วขึ้นทุกครั้งที่ใจไหลไป ทุกครั้งที่รู้ เราจะได้สมาธิที่ถูกต้องแบบพุทธ ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนกับจิตที่ทรงฌาน แต่มันเกิดแป๊บเดียว เราจะทำให้สมาธิแบบนี้เกิดเยอะ ๆ เกิดบ่อย ๆ จนในที่สุดจะรู้สึกว่าสมาธิหรือตัวรู้นี้อยู่ได้นานขึ้น -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สคนลาว 16 มิถุนายน 66
-
ต้องแม่นในกิจ ในหน้าที่ต่ออริยสัจ คือหน้าที่ต่อทุกข์ หรือรูปนาม เรามีหน้าที่รู้มัน เห็นมันตามความเป็นจริง หน้าที่ต่อสมุทัยหรือตัณหา คือละมัน หน้าที่ต่อนิโรธหรือความดับทุกข์ หรือพระนิพพาน มีหน้าที่เห็นมันเฉยๆ เราเห็นเอง เราไม่ได้ทำพระนิพพานให้เกิดขึ้นหรอก ความดับทุกข์นี่ เป็นผลของมรรค ที่เราเจริญเต็มที่แล้ว -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีนออนไลน์ 16 พฤษภาคม 2566
-
วิปัสสนา เราใช้เครื่องมือ อยู่ 2 ตัว เครื่องมือตัวที่หนึ่ง เราต้องฝึกจนสติอัตโนมัติเกิด ไม่ใช่เกิดแค่ครั้งเดียว เกิดจนเป็นความคุ้นชินที่สติอัตโนมัติ จะเกิดบ่อยๆ อันที่สอง จิตต้องตั้งมั่น ใจไม่จมแช่ลงไปในอารมณ์ ช่วงนี้ยังไม่ใช่ช่วงสนใจเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ช่วงเวลาสนใจไตรลักษณ์ จะคิดไตรลักษณ์ได้ คิดไปก่อน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องฝึก เพื่อให้ได้เครื่องมือสองตัวนี้ขึ้นมาให้ได้ก่อน -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีนออนไลน์ 14 พฤษภาคม 2566
-
สิ่งทั้งหลายเจริญแล้วเสื่อม ภายใต้เงื่อนไขที่เราอดทนภาวนาสม่ำเสมอ ถึงจุดหนึ่งเราจะเจอสภาวะหนึ่งที่รออยู่ข้างหน้าคือความเสื่อม ถ้าความเสื่อมเกิดขึ้น ไม่ต้องทำอะไรเยอะ ให้อดทนภาวนาไปสม่ำเสมอ จนถึงจุดหนึ่งเราจะเข้าใจ ว่าเราไม่ได้ภาวนาเพื่อจะเอาความเจริญ ความเสื่อมและความเจริญเป็นของโลก จิตที่เข้าใจและยอมรับความเสื่อมและความเจริญ ถึงจะเห็นธรรม -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีนออนไลน์ 13 พฤษภาคม 2566
-
ถ้าสติอัตโนมัติเกิดเมื่อไหร่ ก็แปลว่าเราตื่นแล้ว ทุกครั้งที่สติอัตโนมัติเกิด เราก็จะได้สิ่งที่เรียกว่า สมาธิอัตโนมัติด้วย ฉะนั้นหัวใจสำคัญของ ศีล สมาธิ ปัญญา รากฐาน อยู่ที่ สติ -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีนออนไลน์ 13 พฤษภาคม 2566
-
เราทุกคนสำคัญ เพราะเราเป็นคนเดียวในโลกทั้งสิ้น ใครก็ไม่เหมือนเรา เราก็ไม่เหมือนใคร ใครจะมาเลียนแบบเราก็ไม่ได้ เราจะไปเลียนแบบคนอื่นเราก็เป็นไม่ได้ จับหลักแล้วเป็นตัวของตัวเอง เราจะพึ่งตัวเอง ต้องเชื่อในเรื่องกรรม เรื่องผลของกรรม พุทธศาสนาเป็นกรรมวาที เราก็กระทำกรรมที่ดีที่เป็นกุศลเรื่อยๆ ต้องเชื่อในเรื่องวิริยะวาที ต้องเชื่อในศักยภาพของตนเอง -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สบ้านสติ 17 เมษายน 2566
-
การเห็นชัดแล้วไม่เห็นไตรลักษณ์ ไม่มีประโยชน์ การเห็นไม่ชัดแล้วเห็นไตรลักษณ์ มีประโยชน์มากกว่า เราโกรธขึ้นมาก็แค่รู้สึก ไม่ต้องชัดมาก เบื้อขึ้นมาก็แค่รู้สึก ไม่ต้องชัดมาก แต่ถ้าใจเราแยกได้ว่า นี่โกรธ นี่โลภ นี่หลง แล้วเห็นไม่ชัดเลย แค่รู้สึกขึ้นมา ความโกรธ โลภ หลง ทุกตัวเปลี่ยน ถ้าเห็นทุกตัวเปลี่ยนได้ แสดงว่าเราเข้าเป้าของการปฎิบัติ เพราะเห็นไตรลักษณ์ของสภาวะ -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีนออนไลน์ 12 พฤษภาคม 2566
-
ทุกคนถ้ายังไม่ทำที่สุดแห่งทุกข์ อย่าประมาทกิเลส แล้วก็อย่าพึงพอใจในความดีที่มีอยู่ มันจะต้องพัฒนาขึ้นไปจนถึงวันหนึ่งอะไรๆ ก็ทำให้เราทุกข์ไม่ได้ อย่างนั้นถึงจะถึงหน้าที่ที่มีต่อตัวเองจะสิ้นสุด เราพลาดเมื่อไร เราก็ทุกข์เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนว่า ธรรมะทั้งหลายรวมลงที่ความไม่ประมาท -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ สวนธรรมประสานสุข 31 พฤษภาคม 2566
-
ธรรมะแท้ๆ ต้องเป็นไปเพื่อความมีสติ มีศีล มีสมาธิที่ถูกต้อง มีปัญญาเพื่อจะรู้เท่าทันสภาวะต่างๆ ตามความเป็นจริง เพื่อจะถอดถอนจิตใจออกจากความทุกข์ ออกจากความยึดถือทั้งปวง ต้องเป็นไปเพื่อวิมุต คือความบริสุทธิ์หลุดพ้น คือความปล่อย วาง จาง คลาย จากเครื่องโดยร้อยรัดต่างๆ -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สจีนออนไลน์ 11 พฤษภาคม 2566
-
หน้าที่ต่างๆทางโลกอะไรควรทำต้องทำ การทำงานทางโลกที่สุจริต ที่เป็นสัมมอาชีวะ ที่ไม่ใช่มิจฉาอาชีวะทั้งหลาย ไม่ขวางการปฏิบัติธรรม ไม่ขวางการบรรลุธรรม ถ้าเราทิ้งหน้าที่ของเรา อะไรควรทำแล้วเราไม่ทำ เราโกงเวลาของคนนั้นคนนี้มาภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ เพื่อเราจะได้เจริญ ขณะนั้นเรากำลังทำอกุศลอยู่คือเห็นแก่ตัว องค์มรรคไม่บริบูรณ์ ไม่มีสัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) รู้ลงไปให้ชัด สังเกตดีๆว่าเป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นกุศลหรืออกุศล -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สบ้านสติ 18 เมษายน 2566
-
อยู่กับปัจจุบัน อดีตเลยมาแล้วทั้งสิ้น อนาคตก็ยังไม่ถึง เราก็อยู่กับปัจจุบันไป เวลามันปรุงดี ก็เห็นมันปรุงดีในปัจจุบัน แล้วก็แล้วกัน ความปรุงดีมันก็หมดหน้าที่แล้ว มันปรุงชั่ว เราก็เห็นความปรุงชั่วเกิดขึ้น ความปรุงชั่วมันก็ทำหน้าที่ของมันแล้ว แล้วมันก็เลิกไป คนทั้งหลายมีภาระเยอะ เพราะชอบไปยุ่งกับขันธ์ ซึ่งมันต้องทำงานของมันเอง บางทีมันก็ปรุงดี บางทีมันก็ปรุงชั่ว ธรรมชาติของเขาเป็นอย่างนั้น เราก็มีหน้าที่สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นไป แล้วมันก็ผ่านไป อะไรมาก็ผ่านไป -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สบ้านสติ 15 เมษายน 2566
-
เวลาที่พวกเราต้องการอะไรก็แล้วแต่ ต้องการความรัก ต้องการสิ่งนั้น สิ่งนี้ พวกเราจะโกยเอาเข้าตัวตลอดเวลา คือมันหิว มันก็โกย เอาอารมณ์ที่ชอบบ้าง เอาสิ่งที่ชอบบ้าง ยศถาบรรดาศักดิ์ สิ่งที่ตัวเองเห็นว่าดี โกยเข้าตัวเรื่อยๆๆๆ ทำไมมันไม่มีวันเต็ม เพราะตัณหามันไม่มีวันเต็ม ใจเรามันพร่องอยู่เสมอ -- อ. ประสาน พุทธกุลสมศิริ คอร์สบ้านสติ 17 เมษายน 2566
- Visa fler