Avsnitt

  • ถ้ายังจำกันได้ ในยุคสมัยหนึ่ง ‘แก้วเก็บความเย็น’ ถือเป็นของฮอตฮิตที่ใครๆ ก็ต้องมี และจะเท่ยิ่งกว่าถ้าแบรนด์นั้นได้ชื่อว่า YETI ด้วยเก็บความเย็นได้ดีเยี่ยม แถมยังแข็งแรงทนทาน และปลอดภัย จนชื่อนี้กลายเป็นชื่อเรียกแก้วเก็บความเย็นทุกชนิด คล้ายกับที่เราเรียกผงซักฟอกว่าแฟ้บ หรือเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็นรูปว่ามาม่า

    แท้จริงแล้ว YETI ไม่ได้กำเนิดจากแก้วเก็บความเย็น แต่สินค้าแรกคือถังเก็บความเย็นสองพี่น้องอย่าง Roy  และ Ryan Seiders ผู้ที่ซึ่งรักการตกปลาและใช้ชีวิตกลางแจ้งต้องการแก้เพนพอยต์ถังเก็บความเย็นทั่วไปที่ไม่ทนทานและเก็บความเย็นได้ไม่ดีพอ

    เรื่องราวของ YETI ที่น่าสนใจมากกว่านั้น คือสินค้าชิ้นแรกอย่างถังเก็บความเย็นนั้นได้แรงบันดาลใจจากถังเก็บน้ำแข็งของไทย และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา YETI ก็ยังได้เปิดสาขานอกสหรัฐอเมริกาเป็นที่แรกที่ไทย โดยความดูแลของ Element 72 

    เพื่อคลายร้อนนี้อย่างต่อเนื่อง Capital ขอพาไปฟังเรื่องราวทางธุรกิจที่คุณอาจไม่เคยได้ยินที่ไหนของ YETI จากแง่มุมของชาว Element 72 ไปพร้อมๆ กัน

  • ถ้าภาพยนตร์รักแห่งสยาม (2007) นำเสนอสยามสแควร์ยุค 2000 ต้นๆ ที่มี center point เป็นแหล่งรวมตัว และมีร้านดีเจสยาม ซอย 4 เป็นร้านประจำที่ต้องแวะไปบ่อยๆ ซีรีส์วายแนวโรแมนติก GELBOY สถานะกั๊กใจ (2025) ก็นำเสนอสยามในมุมของเจนซี ตั้งแต่การไปทำเล็บเจลในซาลอน ไปคาเฟ่เก๋ๆ ตามไปให้กำลังใจศิลปินที่มาร่วมรายการที่ Flex 102.5 ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ ไปจนถึงการแรนดอมแดนซ์เพลง T-Pop ที่ลานหน้าตึกสยามสเคป

    ถ้าจะบอกว่าสยามสแควร์เป็นย่านวัยรุ่นที่ไม่มีวันตายก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะสยามเดินทางผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน แม้จะมีช่วงที่ซบเซาลงไปบ้าง แต่ก็ได้ปรับตัวจนกลับมาเป็นจุดนัดพบของวัยรุ่น มีร้านค้า ร้านอาหารตามเทรนด์ใหม่ๆ มาเปิด และมีพื้นที่ให้มาแสดงดนตรีสดกัน เรียกว่าสร้างเสียงฮือฮามากๆ จนใครที่มีวงดนตรีก็คงอยากมาแสดงที่สยามสแควร์เป็นที่แรกๆ แน่นอน สยามสแควร์จึงเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตชีวาและเต็มไปด้วยความหลากหลายมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแฟชั่น ดนตรี ศิลปะ หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ และเป็นเหมือนศูนย์กลางของการแสดงออกทางตัวตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ 

    สยามสแควร์เป็นมายังไง ทำไมถึงเป็นย่านของวัยรุ่นมาทุกยุคทุกสมัย รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมเล่าให้ฟังแล้วใน Podcast Capital City EP.42 ตอนนี้

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเดินหน้านโยบาย ‘Drill, Baby, Drill’ คือการเน้นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอเมริกา อย่างต่อเนื่อง และยังสนับสนุนให้ทั่วโลกพึ่งพาพลังงานฟอสซิลให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

    สวนทางกับเทรนด์ทั่วโลกที่สนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสนับสนุนการลงทุนในพลังงานสะอาดเพื่อพัฒนาสภาพภูมิอากาศให้ดีขึ้นตามข้อตกลง Paris Agreement คำถามต่อมาคือหลังจากนี้ภาคธุรกิจควรโฟกัสไปที่การใช้พลังงานจากฟอสซิล ทั้งถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติหรือพลังงานทดแทนกันแน่ รวมถึงคนไทยจะมีโอกาสได้ใช้พลังงานสะอาดในราคาที่เข้าถึงได้หรือไม่

    หนึ่งในผู้ที่ตอบคำถามนี้ได้ดีคงหนีไม่พ้นบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานแบบครบวงจร รายการ Business Summary EP.22 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล จึงพามาพูดคุยกับหัวเรือใหญ่อย่างสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ถึงทิศทางการใช้พลังงานทั้งในไทยและทั่วโลก พร้อมเผยถึงพลังงานที่เป็นตัวเปลี่ยนเกมของพลังงานสะอาดในอนาคต จนถึงเรื่องใกล้ตัวอย่างคนไทยสามารถเป็นทั้งผู้ผลิตพลังงานทดแทนและใช้พลังงานทดแทนได้เต็มรูปแบบหรือไม่

    #Capital #BusinessSummary #บ้านปู #พลังงานทดแทน #พลังงานสะอาด

  • หน่วยกู้ชีพ, อินฟลูเอนเซอร์ หรือเพื่อนรักสี่ขาจอมพลัง เหล่านี้คือภาพจำของผู้คนที่มีต่อ ‘โกลเด้นรีทรีฟเวอร์’ สุนัขพันธุ์นิยม ที่มีคาแรคเตอร์น่ารักน่ากอด เฉลียวฉลาด และยังคงไว้ลายสัญชาติญาณความปราดเปรียวจากอดีต จึงไม่แปลกใจที่มันจะกลายเป็นขวัญใจของบรรดาทาส หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยเลี้ยงสุนัขก็ตาม

    แต่ก่อนจะได้รับความนิยมเฉกเช่นทุกวันนี้ แท้จริงแล้วประวัติความเป็นมาของเจ้าสุนัขขนสีทองก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตั้งแต่ถูกเพาะเลี้ยงสายพันธุ์โดยขุนนางแห่งสกอตแลนด์ ก่อนจะกลายเป็นลูกมือในกิจกรรมล่าสัตว์ สู่แผ่นดินสหรัฐฯ ในฐานะสุนัขอารักขาและสุนัขประจำทำเนียบข้างกายประธานาธิบดี กลายเป็นดาวดังบนจอเงิน และแน่นอนว่าเป็นสมาชิกที่ทุกบ้านใฝ่ฝันอยากจะมี

    อะไรทำให้สุนัขสายพันธุ์โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ได้รับความนิยมถึงเพียงนี้ และพวกมันมีความสัมพันธ์ต่อหน้าประวัติศาสตร์ในแง่ไหนอีกบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราขอชวนไขคำตอบผ่านหน้าประวัติศาสตร์สุดนุ่มฟูได้ในพอร์ดแคสต์รายการทรัพย์คัลเจอร์ EP.4

  • เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ไม่เพียงทำให้ประชาชนตื่นกลัว แต่ยังส่งผลให้เมืองถูกฟรีซ หลายคนหาทางกลับบ้านไม่ได้ บางส่วนต้องเดินกลับบ้าน หรือบางคนก็เลือกนอนค้างคืนในสวนสาธารณะ เนื่องจากการเดินทางในกรุงเทพฯ เป็นอัมพาต
    .
    ที่สำคัญ เรายังได้เห็นว่านอกจากโครงสร้างอาคารที่ต้องแข็งแรงแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว โครงสร้างพื้นฐานอย่างสวนสาธารณะ ทางเท้า ทางจักรยาน พื้นที่โล่ง พื้นที่กึ่งสาธารณะก็ควรเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ที่พร้อมรองรับผู้คนยามเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินด้วย
    .
    ประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่าเจอแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดนั้นเอาตัวรอดยังไง และเมืองควรออกแบบเมืองยังไงให้พร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมเล่าให้ฟังแล้วใน Podcast Capital City EP.41 ตอนนี้

  • ถนนที่สร้างยาวนานกว่าพีระมิดแห่งกีซา และถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยจนคร่าชีวิตผู้คนมานักต่อนัก ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึงถนนพระราม 2 เส้นทางหลักที่เชื่อมกรุงเทพมหานครกับภาคใต้ของประเทศไทยที่ตั้งใจให้เดินทางไปภาคใต้โดยไม่ต้องขับผ่านตัวเมืองนครปฐมและราชบุรี เหมือนถนนเพชรเกษม ซึ่งทำให้เดินทางใกล้ขึ้นและเร็วขึ้นถึง 40 กม. และไม่ต้องเจอกับปัญหารถติด

    ฟังดูแล้วการสร้างถนนพระราม 2 เป็นโอกาสของเมืองในแง่ทำให้คนเดินทางง่ายขึ้น ไวขึ้น และขนส่งสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ถนนพระราม 2 กลับประสบปัญหาอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จากข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2561-2567 พบว่าเกิดอุบัติเหตุรวม 2,242 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 132 ราย และบาดเจ็บ 1,305 ราย โดยสาเหตุของอุบัติเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนที่ยืดเยื้อ ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า ‘ถนนพระราม 2 จะสร้างเสร็จกี่โมง’

    รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนมาเข้าใจหลักการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศชั้นนำทำ และเปิดทามไลน์ถนนพระราม 2 ตรงไหนที่สร้างเสร็จไปแล้ว ตรงไหนที่กำลังจะขยายต่อจนทำให้สร้างไม่เสร็จต่อไปเรื่อยๆ แล้วถ้าสร้างเสร็จคนเมืองจะได้ประโยชน์อะไรจากถนนเส้นนี้บ้างใน Podcast Capital City EP.40 ตอนนี้

  • ปลายเดือนนี้แล้วที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเวียนกลับมาอีกครั้ง ท่ามกลางกองหนังสือมากมายที่มีให้เลือกช็อป หรือโอกาสที่จะได้พบปะนักเขียนในดวงใจ บรรดาหนอนหนังสือรู้หรือไม่ว่าจุดกำเนิดงานหนังสือสุดครึกครื้นนี้ ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 500 ปีที่แล้ว หรือก็คือช่วงศตวรรษที่ 12 โดยมีหมุดหมายสำคัญคือ ‘แฟรงค์เฟิร์ต’ ประเทศเยอรมนี

    คร่าวๆ ถึงสาเหตุที่ทำให้แฟรงค์เฟิร์ตเป็นจุดกำเนิดงานหนังสือ นั่นคือการที่เมืองแห่งนี้เป็นแหล่งจัด ‘งานแฟร์’ (fair festival) จำหน่ายสินค้าหลากประเภทซึ่งรวมไปถึงหนังสือเขียนมือ ขณะเดียวกันยังเป็นเมืองที่ ‘โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก’ ชายผู้คิดค้นเทคโนโลยีการพิมพ์ ลงหลักปักฐานโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง

    ทว่าทำไมต้องเกี่ยวข้องกับกูเตนเบิร์ก งานหนังสือที่แฟรงค์เฟิร์ตเฟื่องฟูเพราะปัจจัยใดบ้าง และงานหนังสือเผยแพร่ไปทั่วโลกได้อย่างไร เราขอชวนทุกท่านหาคำตอบไปพร้อมกันได้ในรายการทรัพย์คัลเจอร์ EP.3 

  • แก้วน้ำรีไซเคิล จานรีไซเคิล เฟอร์นิเจอร์รีไซเคิล –คำว่า ‘รีไซเคิล’ น่าจะเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งอาจเข้าใจแค่การแยกขยะหรือการนำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ แต่จริง ๆ กระบวนการรีไซเคิลเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน ลดของเสีย และนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่แทนที่จะใช้แล้วทิ้ง 
    ในปี 2025 คาดว่าจะมีขยะกว่า 2,220 ล้านตัน อย่างในฮ่องกงเองก็ได้ตั้งเป้าว่าจะให้เจ้าของธุรกิจเก็บขยะพลาสติกของตัวเองกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิล หรืออย่างประเทศในแถบสแกนดิเนเวียก็ได้มีการนำขยะมูลฝอยมารีไซเคิลเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในประเทศ จะเห็นว่าแต่ละเมืองนั้นมีการจัดการกับปัญหาขยะแตกต่างกัน ซึ่งก็เป็นโอกาสให้เกิดธุรกิจรีไซเคิลตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งมีทั้งมุมที่ดีต่อโลกและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างเราๆ ด้วยเช่นกัน
    เนื่องในวันรีไซเคิลโลก (Global Recycling Day) ที่ตรงกับวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนทุกคนมาฟังโอกาสของธุรกิจรีไซเคิลในยุคนี้ และชวนหาคำตอบว่าคนทั่วไปจะช่วยโลกรีไซเคิลได้ยังไงบ้างไปด้วยกันใน Podcast Capital City EP.39 ตอนนี้

  • หนึ่งในข่าวใหญ่ที่น่าจับตามองในแวดวงธุรกิจการบินและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย คงหนีไม่พ้นการประกาศผลการดำเนินงานปี 2567 ของการบินไทย หลังจากขาดทุนหนักถึงหลักแสนล้านบาท ล่าสุดได้พลิกกลับมามีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงิน ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวอยู่ที่ 4.15 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 3.2% จากปี 2566

    ถึงแม้ภาพรวมของงบการเงินจะขาดทุนสุทธิกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท แต่เป็นผลขาดทุนทางบัญชีที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันดีว่าการบินไทยเตรียมจะ Take Off ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการและ Landing กลับเข้าสู่ตลาดหุ้นภายในเดือนมิถุนายนนี้

    รายการ Business Summary EP.21 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล จึงพามาตีตั๋วพูดคุยกับหัวเรือใหญ่อย่าง ‘ชาย เอี่ยมศิริ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถึงรายละเอียดการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการ เปิดทิศทางอนาคตใหม่ของการบินไทย ไปจนถึงการใช้ซอฟต์พาวเวอร์แบบไทยๆ มาขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน

  • แม้ปัจจุบันแบรนด์เคสโทรศัพท์มือถือจะมีให้เลือกมากมาย แต่เชื่อว่าชื่อของ CASETiFY แบรนด์เคสโทรศัพท์มือถือสัญชาติฮ่องกง ก็ยังคงครองใจผู้คนเป็นอันดับต้นๆ 

    ไม่เพียงเพราะความแข็งแรงทนทานเท่านั้น แต่การผลิตสินค้าลิขสิทธิ์แท้ก็เป็นอีกหนึ่งแก่นสำคัญที่ทำให้แบรนด์เป็นที่พูดถึง ไม่ว่าจะเป็นลิบสิทธิ์ศิลปิน K-POP ศิลปินในแวดวงศิลปะ หรืออย่างล่าสุดที่มีเคสลิขสิทธิ์น้องหมีเนย Butter Bear และ RAVIPA ก็สะท้อนว่า CASETiFY รันทุกวงการ

    กลยุทธ์การขยายฐานแฟนด้วยสินค้าลิขสิทธิ์ก็เรื่องหนึ่ง แต่ยังมีปัจจัยอีกมากที่ทำให้ CASETiFY เติบโตเป็นแบรนด์ระดับโลกและกวาดรายได้หลักร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐไปได้ รายการพอดแคสต์ Biztory ตอนนี้จึงขอพาไปทำความรู้จักเรื่องราวและวิธีที่ทำให้ CASETiFY เป็นที่รักของผู้คน  

  • เมืองไม่ใช่แค่สถานที่ที่เราอาศัยอยู่ แต่เป็นพื้นที่ที่กำหนดคุณภาพชีวิตของเรา ตั้งแต่การเดินทางในแต่ละวัน พื้นที่พักผ่อน ไปจนถึงโอกาสในการพบปะและใช้ชีวิตร่วมกับผู้คน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ปัญหาจราจร ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
    .
    ในปี 2025 นี้ เมืองต่างๆ ทั่วโลกจึงกำลังพัฒนาเมืองให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น ทั้งเรื่องการเดินทาง สิ่งแวดล้อม และพื้นที่สาธารณะ เพราะเมืองที่น่าอยู่คือเมืองที่คนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือถ้าพูดให้เห็นภาพมากขึ้นคือ ต่อให้ทั้งวันนั้นทำงานมาเหนื่อยแค่ไหน แต่เมื่อเปิดประตูออกจากออฟฟิศมาแล้ว สภาพแวดล้อมในเมืองไม่ได้ทำให้เราเหนื่อยไปกว่าเดิมนั่นเอง
    .
    ทุกวันนี้เมืองยุคใหม่ให้ความสำคัญกับอะไร เทรนด์การออกแบบเมืองในปีนี้มีอะไรบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนมาฟังไปด้วยกันใน Podcast Capital City EP.38 ตอนนี้

  • ใครที่เคยแวะเวียนไปยังเมืองโอซาก้า ฟุกุโอกะ หรือโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น น่าจะเคยผ่านตากับสตรีทฟู้ดในลักษณะรถเข็นที่ตั้งอยู่เรียงราย ประดับประดาด้วยโคมไฟ ป้ายผ้า เก้าอี้ตัวน้อย พร้อมกับเสิร์ฟเมนูจานด่วน ราคาย่อมเยา อาทิ ทาโกะยากิ โอเด้ง ราเม็ง เกี๊ยวซ่า ไปจนถึงขนมเก่าแก่อย่างดังโงะ ซึ่งร้านในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า ‘ยะไต’ (Yatai)
    .
    วัฒนธรรมอาหารประเภทยะไต ก่อตัวขึ้นนับตั้งแต่สมัยเอโดะ หรือนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในยุคสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นยังปกครองด้วยระบบโชกุน โดยยะไตเองเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการปรับแผนผังกรุงเอโดะตามคำสั่งของรัฐบาล หลังต้องเผชิญกับอัคคีภัยครั้งใหญ่ ซึ่งพื้นที่ที่ไว้ใช้หลบภัยยามเกิดเพลิงไหม้ กลับกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของร้านยะไต ที่พ่อค้าแม่ขายต่างเปิดร้านเพื่อบรรเทาความหิวให้แก่คนระดับรากหญ้า
    .
    รายการทรัพย์คัลเจอร์ EP.2 ขอชวนคุณผู้ฟังมาทำความรู้จักกับยะไต วัฒนธรรมฟาสต์ฟู้ดจากญี่ปุ่นที่มีอายุมากกว่า 400 ปี ว่าเป็นมาอย่างไร ทำไมวัฒนธรรมการกินนี้ถึงเกิดขึ้นภายหลังอัคคีภัยของกรุงเอโดะ และเหตุใดจึงยังได้รับความนิยมในหมู่คนรากหญ้าจวบจนปัจจุบัน เตรียมกระเพาะให้พร้อมแล้วมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

  • รายการ Capital City กลับมาอีกครั้ง หลังจากพักเบรกไปเมื่อเดือนธันวาคมปี 2024 ที่ผ่านมา ขอเท้าความไปก่อนว่าเมื่อปีที่แล้วเราพาทุกคนไปรู้จักกับภาพใหญ่ของคำว่าเมืองที่ดีคืออะไร เมืองผูกโยงกับคุณภาพชีวิตของคนเรายังไง ไปจนถึงพาไปรู้จักหน่วยที่อยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนอย่างพื้นที่สาธารณะที่ถ้าออกแบบให้ดี คนเมืองก็จะมีที่ให้นั่งพักผ่อน มีพื้นที่ให้พบปะสังสรรค์ และการทำกิจกรรมต่างๆ
    .
    พื้นที่สาธารณะไม่ได้อาศัยแค่การออกแบบให้ดีตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องออกแบบให้สวยงามน่าใช้งานด้วย หรือถ้าทุกคนยังนึกไม่ออกว่าคืออะไรให้ลองนึกถึงงาน Bangkok Design Week 2025 ที่ผ่านมาที่เป็นการนำงานศิลปะหรืองานออกแบบมาบวกกับพื้นที่เมือง เพื่อเล่าเรื่องย่าน เติมชีวิตชีวาให้กับชุมชน สร้างบทสนทนา และเสนอไอเดียความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นกว่าเดิม
    .
    กลับมาในตอนแรกของซีซัน 2 นี้ รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) ชวนมาฟังว่าศิลปะจะช่วยสร้างเมืองได้ยังไง และการมีเมืองที่สนับสนุนศิลปะจะสร้างเม็ดเงินได้ยังไงไปด้วยกันใน Podcast Capital City EP.37 ตอนนี้

  • หนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงไม่หยุดคือ Gorpcore หรือเทรนด์แฟชั่นที่นำอุปกรณ์เดินป่าและเสื้อผ้าสายแอดเวนเจอร์มาใส่ในชีวิตประจำวัน นั่นทำให้หลากหลายแบรนด์เอาต์ดอร์ที่แต่เดิมมีกลุ่มลูกค้าสุดนิชก็ขยับขยายมาแมสได้ และนั่นเองที่ทำให้ Salomon เป็นที่พูดถึงใน 1-2 ปีที่ผ่านมา
    .
    จุดตั้งต้นของ Salomon คือการเป็นแบรนด์อุปกรณ์เล่นสกี ก่อนแตกไลน์ผลิตภัณฑ์มาเรื่อยๆ จนได้รับการยอมรับในฐานะแบรนด์สินค้าเอาต์ดอร์และรองเท้าแอดเวนเจอร์สัญชาติฝรั่งเศสที่คุณภาพสูง ด้วยนวัตกรรมล้ำสมัยที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง 
    .
    หลังพบว่าสินค้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องใส่ไปเดินป่าอย่างเดียวก็ได้ แต่ยังนำมาใส่ในชีวิตประจำวันได้ด้วย ปัจจุบัน Salomon จึงพาตัวเองออกจากกรอบเดิมๆ พัฒนาสินค้าให้มีความไลฟ์สไตล์ยิ่งขึ้น คอลแลบกับแบรนด์สายสตรีทมากขึ้น จนทำให้แบรนด์เริ่มได้รับความนิยมเรื่อยๆ 
    .
    หัวใจสำคัญที่ Salomon ใช้ในการนำพาแบรนด์มาสู่รันเวย์คืออะไร Biztory ตอนนี้ขอพาไปไขคำตอบ

  • ใครที่เคยไปร้านซูชิคงคุ้นเคยกับการเสิร์ฟอาหารผ่านสายพานที่เคลื่อนไปมาอย่างลื่นไหล แต่รู้หรือไม่ว่า จุดเริ่มต้นของการเสิร์ฟแบบนี้เกิดขึ้นจากปัญหาของร้านซูชิสายพานร้านเล็กๆ แห่งแรกในโอซาก้า ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1950 
    .
    เบื้องหลังสายพานนี้ ชิไรชิ (Yoshiaki Shiraishi) หรือผู้คิดค้นสายพานร้านซูชิ นั้นได้แรงบันดาลใจจากการลำเลียงเบียร์ในโรงเบียร์และการเล่นไพ่ ทำให้เขาได้นำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับสายพานซูชิ ถ้าเราสังเกตบริเวณมุมของสายพานเราก็จะเห็นการคลี่ออกของสายพานที่มีลักษณะเดียวกับเวลาที่เราคลี่ไพ่ในมือ
    .
    ทรัพย์คัลเจอร์ในอีพีแรก เลยขอพาทุกคนย้อนเวลากลับไปสู่ปี 1950 กับเรื่องราวของซูชิสายพาน กับกระบวนการทดลองเพื่อหาความเร็วที่เหมาะสมของสายพาน ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซูชิแต่ละจาน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามฟังได้พร้อมๆ กัน

    ดำเนินรายการโดย ว่าน–วณัฐย์ พุฒนาค

  • เตรียมพบกับพอดแคสต์ ‘ทรัพย์คัลเจอร์ คัลเจอร์บันดาลทรัพย์ ประวัติศาสตร์บันดาลใจ’ พอดแคสต์ที่จะพาทุกคนลงลึกไปยังช่วงเวลาสำคัญของประวัติศาสตร์ ค้นหาจุดเปลี่ยนของยุคสมัยใหม่ที่ถูกอาจถูกมองข้ามไป รวมไปถึงวัฒนธรรมบางอย่างที่ก่อกำเนิดจากจุดเล็กๆ แต่กลับสร้างแรงกระเพื่อมในระดับเศรษฐกิจ หรือก่อให้เกิดเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่า
    .
    ดำเนินรายการโดย ว่าน–วณัฐย์ พุฒนาค นักเขียนที่เชื่อว่าพื้นที่นามธรรมเป็นสินทรัพย์ที่จะพาเราเติบโตอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
    .
    ติดตามได้ทุกวันพฤหัสบดี สัปดาห์เว้นสัปดาห์

  • “จากข้อมูลที่ผมรู้คือเซ็กซ์ทอยมีมูลค่าทางการตลาดแค่ 1% นั่นหมายความว่าผมมีพื้นที่อีก 99%ให้ลองทำอะไรก็ได้ ผมจะทำให้เซ็กซ์ทอยกลายเป็นสินค้ากระแสหลัก”
    .
    มัตซึโมโตะ โคอิจิ (Matsumoto Koichi) คืออดีตช่างซ่อมรถยนต์คลาสสิกฝีมือเยี่ยมที่ต้องการแก้เพนพอยต์ให้ของเล่นผู้ใหญ่ซึ่งแต่เดิมต้องวางขายแบบหลบมุม ทั้งที่เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องธรรมชาติ จากความพยายามกว่า 1 ปี เขาพัฒนาของเล่นผู้ใหญ่ออกมาในนาม TENGA ที่ปฏิวัติวงการด้วยดีไซน์ที่ดูยังไงก็ไม่เหมือนของเล่นทั่วไป จนได้รับรางวัลไปครอง ทั้งยังได้คอลแลบกับแบรนด์มากมาย และยังออกแบรนด์ลูกอย่าง Iroha ที่ไม่ได้มองว่าตนเองเป็นแค่ของเล่น แต่คือ Self-pleasure ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ self-care 
    .
    TENGA ไม่เพียงนำเสนอของเล่นผู้ใหญ่ในมุมใหม่เท่านั้น แต่ยังจริงจังกับการสื่อสารเรื่องเพศอย่างถูกต้อง ทั้งยังพยายามเปลี่ยนทัศนคติที่ผู้คนมีต่อเพศผ่านโครงการต่างๆ รวมถึงการทำร้านค้าหลักให้มีความเป็นไลฟ์สไตล์ Biztory ตอนนี้ จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับแบรนด์ระดับโลกที่มีทั้งแนวคิดและกลยุทธ์อันน่าสนใจนามว่า TENGA ไปพร้อมๆ กัน

  • เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ เดือนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของความรัก แต่ไม่แน่ว่าปีนี้อาจมีคนติด #ทีมคนโสด พอๆ กับคนที่ติด #ทีมคนมีแฟน เลยก็ว่าได้ เพราะจากรายงานของ Euromonitor พบว่าในปี 2564 คนโสดมีมากถึง 414 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ภายในปี 2573 ในหลายประเทศ
    .
    รวมถึงประเทศไทย มีข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2566 พบว่า 1 ใน 5 ของคนไทยเป็นโสด โดยคนที่อายุ 15-49 ปี มีคนโสดอยู่ถึง 40.5% หรือเรียกได้ว่าแทบจะเกือบครึ่งนึงเลยทีเดียว ด้วยจำนวนคนโสดที่มากขนาดนี้และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิด Solo Economy หรือเศรษฐกิจคนโสด ที่วิถีชีวิตแบบกินข้าวคนเดียว ดูหนังคนเดียว ช้อปปิ้งคนเดียว จะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลก 
    .
    รายการ Business Summary EP.20 ตอนนี้ เล็ก–มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล และพลอย-วรรณทิพย์ โพธิ์พรหม จะพาไปเจาะอินไซต์วิถีชีวิตคนโสด ว่ามีแง่มุมไหนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลกได้บ้าง และในมุมของผู้ประกอบการจะหยิบโอกาสทองนี้ไปปรับใช้กับธุรกิจได้อย่างไร

  • ถ้าใครยังจำได้ ช่วงสถานการณ์การระบาดโควิด-19 มีมีมหนึ่งที่ไวรัลในโลกอินสตาแกรม นั่นคือมีม Mr. Men & Little Miss ที่เปิดให้ผู้คนแสดงความรู้สึกหรือตัวตนออกมาผ่านคาแร็กเตอร์ Mr. Men & Little Miss คาแร็กเตอร์สัญชาติอังกฤษที่ถ้าไม่บอก ก็อาจไม่รู้อายุอานามกว่า 50 ปีแล้ว  
    .
    ส่วนถ้ากลับมาในปัจจุบัน หลายคนอาจเห็นคาแร็กเตอร์เหล่านี้ผ่านตุ๊กตาห้อยกระเป๋าที่ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็มีในครอบครอง บางคนห้อยเพื่อบ่งบอกตัวตน บางคนห้อยเพื่อเอาโชคเอาลาภ แต่บ้างก็ห้อยเผื่อเสริมลุคในวันนั้นให้คอมพลีต
    .
    มากไปกว่าความน่ารักสดใส เชื่อว่าหลายคนน่าจะตกหลุมรักคาแร็กเตอร์นี้จากเรื่องราวเบื้องหลังคาแร็กเตอร์แต่ละตัวที่ปัจจุบันแบรนด์มีในกรุกว่า 90 ตัว แต่ละตัวต่างก็เป็นตัวแทนของอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ทั้ง Mr. Happy ที่สื่อถึงความสุข Mr. Wrong ที่สื่อว่าฉันนี่มันเป็นคนไม่เอาไหน ผิดตั้งแต่ลืมตาตื่นจนเข้านอน แต่ในทุกๆ วันก็ไม่เคยหยุดพยายามให้ตัวเองผิดน้อยลง 
    .
    Biztory ตอนนี้จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักโลกแห่งสีสันและความหลากหลายของ Mr. Men & Little Miss ว่าทำไมจึงยังชนะใจเด็กและผู้ใหญ่ในทุกยุค จากวันแรกที่พ่อต้องการให้ลูกชายรู้จักความรู้สึกจั๊กจี้ มาวันนี้ลูกชายคนนั้นพัฒนากิจการไปถึงไหน ไปจนถึงการอยู่ภายใต้ยักษ์ใหญ่อย่าง Sanrio นั้นมีผลยังไงต่อแบรนด์
    .
    Biztory ใน EP นี้ Capital จึงเชิญทอย–กรชนก ตรีวิทยานุรักษ์ และแท็ป–สันต์ ตรีวิทยานุรักษ์ จาก Codec-creation บริษัทผู้ผลิตตุ๊กตา ผู้ทำให้ลิขสิทธิ์ Mr. Men & Little Miss เป็นขวัญใจคนไทย จนสินค้า key ring ลิขสิทธิ์นี้มียอดขายสูงที่สุดในโลก มาเล่าเรื่องราวความไม่หยุดพัฒนาของ Mr. Men & Little Miss ไปด้วยกัน แถมยังพ่วงเรื่องราวการทำธุรกิจลิขสิทธิ์ในไทยไปด้วย

  • ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่ติดตามข่าวสารในแวดวงแฟชั่น หรือแม้แต่คนทั่วไปที่เพียงแค่เล่นโซเซียลมีเดียเอง ก็ต่างรู้จักชื่อแบรนด์แว่นตาสัญชาติเกาหลีแบรนด์นี้กันอย่างดิบดีอย่าง Gentle Monster จากแว่นสายตาในเกาหลีใต้ สู่แว่นกันแดดดีไซน์สุดล้ำที่ฮิตทั่วโลก
    .
    แต่จะมีใครรู้บ้างว่า ผู้ก่อตั้งอย่าง คิม ฮันกุก (Kim Hankook) คืออดีตคุณครูดูแลแคมป์ภาษาอังกฤษ ที่ได้ผันตัวเป็นเจ้าของแบรนด์ Gentle Monster ที่เริ่มต้นจากการเป็นแบรนด์แว่นสายตา เขาได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ โดยเฉพาะดีไซน์ให้ดูเข้ากับรูปหน้าคนเอเชียและให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น จนเหล่าเซเลบริตี้หยิบมาใส่กันทั่ว 
    .
    ล่าสุด Gentle Monster ที่เพิ่งได้เปิดตัว Pop-Up Store Jewelry 2025 Collection โดย 1 ใน 7 ประเทศ มีประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้นอีกด้วย Pop-up นี้ก็ได้มีการประดับตกแต่งเต็มไปด้วยความเรียบหรู โดยมีไข่มุกเป็นองค์ประกอบหลักในคอลเล็กชั่นนี้ 
    .
    แต่ก่อนที่เราจะไปเยี่ยมชม Pop-up Store รายการพอดแคสต์ Biztory ตอนนี้เลยอยากจะขอพาทุกคนไปพูดคุยถึงเรื่องราวของแว่นตาแฟชั่นสุดฮิตที่ใครๆต่างก็รู้จัก