Avsnitt
-
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เอพิโสดพิเศษของ Bangkok Offstage ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดงและพอดแคสต์ของเรา ในเอพิโสดนี้เราได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ รัศมี เผ่าเหลืองทอง ผู้ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศแด่ผู้มีคุณูปการแก่ละครเวทีและนาฏศิลปิ์ร่วมสมัย ของทางชมรมฯในปีนี้ อาจารย์รัศมีเป็นสมาชิกคณะละครสองแปด ซึ่งเธอก่อตั้งขึ้นมา ในปีพ.ศ. 2528 ร่วมกับบรรดาเพื่อนร่วมงานจากวงการวรรณกรรม อาจารย์รัศมีเล่าว่า ในตอนนั้นละครเวทีส่วนใหญ่หาดูได้แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย นอกจากความต้องการของคณะสองแปดที่จะทำละครที่แตกต่างออกไปจากละครมหาวิทยาลัยแล้ว อีกหนึ่งจุดประสงค์หลักของคณะคือการเผยแพร่บทละครที่มีชื่อเสียงในระดับสากลสู่คนในวงกว้าง ก่อนก่อตั้งคณะละครสองแปด อาจารย์รัศมีได้ไปศึกษาปริญญาโทด้าน dramaturgy และ dramatic criticism ที่ Yale School of Drama ซึ่งเป็นที่ที่ทำให้อาจารย์หลงรักละครกรีกและละครเยอรมัน ละครเรื่องแรกของคณะสองแปดนั้นก็คือละครเรื่อง “กาลิเลโอ” โดยนักเขียนชาวเยอรมัน แบร์ทอล์ท เบรคชท์ โดยมีอาจารย์รัศมีเป็น dramaturg คอยเป็นที่ปรึกษาด้านการตีความบทของทั้งผู้กำกับและนักแสดง นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น dramaturg คนแรกของประเทศ อาจารย์รัศมียังเป็นที่รู้จักในฐานะนักวิจารณ์วรรณกรรม ผู้กำกับ นักแปล และนักเขียนบทอีกด้วย ล่าสุดเธอได้เปิด GalileOasis ในย่านราชเทีวี ที่เป็นทั้งแกลเลอรี่ โรงละคร และโรงแรม ในเอพิโสดนี้ อาจารย์รัศมีได้มาพูดคุยกับเราเรื่องความรักและความหลงใหลของเธอที่มีต่อวรรณกรรมระดับโลก การต่อสู้ด้านพื้นที่ทางศิลปะ และความสำคัญของการอ่านบทละคร เอพิโสดนี้ เราได้รับเกียรติจากอาจารย์ปวิตร มหาสารินันทน์ ประธานชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง มาเป็นพิธีกรรับเชิญของเรา สามารถติดตามงานมอบรางวัลละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัยประจำปี 2563–2565 ได้ทาง Facebook เพจ ของ IATC Thailand ในวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม เวลา 20.00 น.
.
Welcome to a special episode of Bangkok Offstage. In this collaboration with the International Association of Theatre Critics — Thailand Centre, we speak to Rassami Paoluengtong, the recipient of this year’s IATC Thailand Lifetime Achievement Award. Rassami’s name is synonymous with Theatre Twenty-Eight, a company she co-founded in 1985 with colleagues from her years as a literary critic. According to Rassami, theatre at that time mostly took place on university campuses. But with Theatre Twenty-Eight, she wanted not only to go beyond what university productions could do, but also to bring great plays from different parts of the world to a wider audience in Thailand. Before founding the company, she spent three years pursuing a master’s degree in dramaturgy and dramatic criticism at Yale School of Drama, where she became enamored with Greek and German plays. Theatre Twenty-Eight’s inaugural production was Bertolt Brecht’s “Galileo,” for which Rassami took on the role of a dramaturg. Rassami is considered to be Thailand’s first dramaturg and is also known for her work as a stage director, screenwriter, and literary translator. Last year, she opened GalileOasis, an art gallery, theatre, and hotel located in the heart of Bangkok. In this interview, conducted by our special guest host, Pawit Mahasarinand, the President of IATC Thailand, Rassami talks about her love of literature, the perennial battle for art spaces, and why it’s important to read plays. The IATC Thailand Dance and Theatre Awards will be streamed live on IATC Thailand Facebook page on Tuesday, May 2 at 8 PM.
.
Intro: Bilingual
เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย / This episode is in Thai
.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
.
#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
-
เอพิโสดสุดท้ายของซีซั่นที่ 4 นี้มีชื่อว่า “It’s a Wrap!” เพราะเราจะมาส่งท้ายปีกันด้วยการสรุปวงการละครเวทีในปี 2565 กับสามนักวิจารณ์ ครูป้อม - ปวิตร มหาสารินันทน์ ‘กัลปพฤกษ์’ และต่อ - คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง.นอกจากนั้น “It’s a wrap!” ยังหมายถึงการส่งท้ายของพอดแคสต์ Bangkok Offstage โดยหลังจากนี้ยังสามารถฟังเอพิโสดย้อนหลังได้ตามช่องทางเดิม และเราอาจจะกลับมาจัดพอดแคสต์เฉพาะกิจในอนาคตตามจังหวะที่เหมาะสม เราขอขอบคุณแขกรับเชิญของเราทุกคนที่สละเวลามาร่วมพูดคุยกับเรา รวมถึงผู้ฟังทุกคนที่สนับสนุนเรามาตลอด 4 ซีซั่น.It’s a wrap! First, we’re wrapping up the theatre scene in 2022 with three critics Pawit Mahasarinand, Kalapapreuk, and Kanchat Rangseekansong. .It’s also a wrap for Bangkok Offstage as a monthly podcast. All episodes will still be available for free. And we may return once in a while in the future. We would like to thank all the guests who have so generously shared with us their thoughts and their stories. And of course, thank you to all our listeners for your support over the last four years. .Intro: Bilingualเอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย / This episode is in Thai..ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
Saknas det avsnitt?
-
In Episode 9 of Season 4, Bangkok Offstage is taking you beyond the borders of Southeast Asia once again. This time, we talk to Sri Vamsi Matta, a theatre artist from India, about his ongoing performance “Come Eat with Me,” which has been attracting a lot of media attention in India since it began early this year. “Come Eat with Me” takes place in people’s homes, where Vamsi initiates and encourages conversation and reflection on caste discrimination through live performance, cooking, and the act of eating together. In this episode, Vamsi tells us what it means to be a Dalit, why he chooses to explore the subject of caste through food, and why deliciousness matters regardless of whom we feed.
.
ในเอพิโสด 9 ของซีซั่น 4 Bangkok Offstage จะพาผู้ฟังเดินทางออกไปนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง โดยครั้งนี้เราได้ไปพูดคุยกับ ศรี วามสี มัททา ศิลปินละครเวทีชาวอินเดีย เกี่ยวกับการแสดงของเขาที่มีชื่อว่า “Come Eat with Me” ("มากินข้าวกับฉันสิ") ซึ่งได้มีการกล่าวถึงมากมายในสื่อของอินเดียตั้งแต่เริ่มจัดแสดงมาเมื่อต้นปีนี้ “Come Eat with Me” เป็นการแสดงที่เข้าไปในบ้านของคนดูเพื่อกระตุ้นบทสนทนาเรื่องการแบ่งแยกวรรณะในศาสนาฮินดูผ่านการแสดงสด การทำอาหาร และการทานอาหารร่วมกัน ในเอพิโสดนี้ วามสีเล่าให้ฟังถึงการเป็นคนชนชั้นดาลิตว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทำไมเขาถึงเลือกที่จะสำรวจเรื่องชนชั้นวรรณะผ่านอาหาร และทำไมความอร่อยเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะทำอาหารให้ใครทาน
.
Intro: Bilingual
This episode is in English / เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ.ติดตาม / Follow
.
*Photos of "Come Eat with Me" by Apeksha Vora
-
ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เทศกาลละครกรุงเทพจะกลับมาอีกครั้ง พร้อมฉลองครบรอบ 20 ปี โดยมีการแสดงมากมายให้ได้เลือกชมกัน หนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง “ในท่วงทำนอง ~ อนาชีด” ละครสารคดีที่สามศิลปินชาวมุสลิมได้ร่วมทำงานกับเยาวชนจากคณะนาชีดจากมัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม (คลองตัน) เราจึงชวน ฟารีดา จิราพันธุ์, คอลิด มิดำ และนัสรี ละบายดีมัญ มาพูดคุยเกี่ยวกับละครเรื่องนี้ที่จะทำให้ผู้ชมได้รู้จักศิลปะการขับร้องบทลำนำของชาวมุสลิมมากขึ้น รวมถึงการทำละครในชุมชนมุสลิม และการเป็นศิลปินมุสลิมในวงการศิลปะการแสดงไทย
.
The annual Bangkok Theatre Festiva (BTF) returns once again in November. This year, it celebrates its 20th anniversary with its usual variety of performances. And the one we’re particularly interested in is “Anasheed’s Melodies,” a documentary theatre piece that’s a collaboration between three Muslim theatre artists and the youth singers from the Nasheed group of the Masjid Jamiulislam Klongton [Jamiah al-Islam Mosque (Khlong Tan)]. We talk to Farida Jiraphan, Khalid Midam, and Nasrey Labaideeman about nasheed music, making theatre in Muslim communities, and what it’s like to be Muslim artists in the Thai performing arts scene.
.
Intro: Bilingual
เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย / This episode is in Thai. .ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
In Episode 7 of Season 4, we talk to three members of one of the most enduring theatre groups in Thailand, Bangkok Community Theatre (BCT). Bonnie Zellerbach, Danny Wall, and Ric Hizon tell us what drew them to community theatre, how they managed to stay connected and very active throughout the pandemic, and what’s next for this 50-year-old English-speaking community theatre.
.
ในเอพิโสด 7 ของซีซั่น 4 เราได้ไปพูดคุยกับสามสมาชิกของกลุ่มละครที่อยู่คู่กรุงเทพมายาวนานถึง 50 ปี Bangkok Community Theatre (BCT) ซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ บอนนี่ เซลเลอร์แบค แดนนี่ วอลล์ และ ริค ฮีซอน เล่าให้เราฟังถึงสิ่งที่ดึงดูดเขามาทำละครแบบ community theatre สิ่งที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกช่วงวิกฤตโควิด และอนาคตของ BCT
.
Intro: Bilingual
This episode is in English. / เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ
.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
ช่วงเดือนสิงหาคมมีการแสดงหลายเรื่องที่น่าติดตาม หนึ่งในนั้นคือ “มนต์รักทรานซิสเตอร์” ซึ่งเป็นการนำนวนิยายชื่อดังของวัฒน์ วรรลยางกูร มาทำเป็นละครเวที หลังจากที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในเวอร์ชันภาพยนต์ที่กำกับโดยเป็นเอก รัตนเรือง ในปี 2544 ในเอพิโสดที่ 6 ของซีซั่น 4 นี้ เราเลยไปพูดคุยกับ จัส - ธีรพันธ์ เงาจีนานันต์ ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีที่ผันตัวมากำกับละครเวทีเป็นครั้งแรก ถึงเหตุผลในการเลือกนำนวนิยายเรื่องนี้มาทำเป็นละครเวที และการนำประสบการณ์การทำหนังสารคดีมาใช้ในการทำละครเวที
.
The Thai theatre scene is coming out with a lot of interesting productions this month. One of those is an adaptation of “Monrak Transistor,” a novel by the late writer Wat Wanlayankoon, who died in exile in France earlier this year. The 2001 film adaptation by Pen-ek Ratanaruang enjoyed both domestic and international success. In this episode, we have a chat with the play’s director Teeraphan Ngowjeenanan, a documentary filmmaker who’s making his theatre directorial debut, about why he chose to bring this novel to the stage and how he’s using his film experience to direct his first theatre production.
.
Intro: Bilingual
This episode is in Thai. / เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย
.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
China’s zero-Covid policy and its effects on the population in the country’s major cities have been drawing global media attention for months, especially since most countries have already eased their travel and lockdown restrictions. So on July 16, we sat down with three performing arts professionals from China to find out what it’s like to live under the zero-Covid policy and what it means for the performing arts people in their country. We have on the panel Beijing-based theatre producer Zhang “Jennifer” Cui, Beijing-based choreographer Wang Mengfan, and Shanghai-based curator-producer Zhang Yuan. They give us a glimpse into how China’s Covid strategy has impacted the mind, the spirit, and the body and share with us their concerns and hopes for the future of theatre in their cities.
.
หลังจากที่จีนออกนโยบายโควิดเป็นศูนย์ หรือ Zero-COVID policy ชีวิตของผู้คนในเมืองใหญ่ก็ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก และเป็นกระแสข่าวไปทั่วโลกเป็นเวลาหลายเดือน เพราะปัจจุบันหลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการด้านการท่องเที่ยวและการล็อกดาวน์แล้ว และในวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา เราได้พูดคุยกับคนในวงการศิลปะการแสดง 3 คนจากจีน ได้แก่ “จาง ซุ่ย” หรือ เจนนิเฟอร์ โปรดิวเซอร์ละครจากปักกิ่ง /“หวัง เม่งฟาน” นักออกแบบท่าเต้นจากปักกิ่ง และ “จาง หยวน” โปรดิวเซอร์และภัณฑารักษ์จากเซี่ยงไฮ้
ทั้งสามได้เล่าให้เราฟังถึงการใช้ชีวิตภายใต้นโยบายโควิดเป็นศูนย์และผลกระทบที่มีต่อผู้คนในแวดวงศิลปะการแสดง รวมถึงผลกระทบของนโยบายนี้ต่อจิตใจ จิตวิญญาณ และร่างกายของผู้คน นอกจากนั้น ยังเล่าถึงสิ่งที่กังวลและความหวังต่ออนาคตของวงการละครในเมืองต่างๆ
.
This episode is in English. / เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
.
*Portrait of Zhang “Jennifer” Cui by Zhu Chaohui
-
In this episode, we talk to someone whose work and creative process demolish all kinds of borders in science and art. .Lucy McRae is an LA-based science fiction artist and body architect who grew up ballet dancing and running 100-meter hurdles. She studied interior design at RMIT University and went on to work at Philips’s Far Future Design research lab, where she was part of a team that focused on wearable and emotion-sensing technologies. One of the things that she and her team developed there was electronic tattoos that are implanted in the skin and can appear and be transformed by touch. .The British-born Australian describes her work as “speculat[ing] on the future of human existence by exploring the limits of the body, beauty, biotechnology, and the self.” Her collaboration with scientists and artists have led to works such as Swallowable Perfume that releases fragrance through sweat, “Future Day Spa” that asks the audience to place their bodies in a pressurized sheet designed to relax and simulate the feeling of being hugged, and “Institute of Isolation,” a film exploring human resilience in extreme conditions. .Most recently, she was commissioned by the Singapore International Festival of Arts (SIFA) under the theme of “Anatomy of Performance: Ritual.” The result is “Delicate Spells of Mind,” a short film that raises questions about our ego and sense of belonging. For the film, she collaborated with LA choreographer Jasmine Albuquerque, who has choreographed videos for a wide range of artists, including St. Vincent, Katy Perry, and Rihanna. (The film is available at SIFA on Demand until July 10.) .In this interview, McRae shares with us why she thrives best in unfamiliar conditions, how Buddhist philosophy is becoming more relevant to her work, and what questions need to be asked about the future. ...ในเอพิโสดนี้ เราได้ไปคุยกับศิลปินที่ทำงานเหนือขอบเขตของศิลปะและวิทยาศาสตร์ .ลูซี่ แมคเร เรียกตัวเธอเองว่าเป็นศิลปิน sci-fi และ body architect (สถาปนิกร่างกาย) เธอโตมากับการเต้นบัลเล่ต์และวิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร หลังจากนั้นเธอก็ได้เรียนออกแบบภายในที่ RMIT University ก่อนที่จะไปทำงานในห้องปฏิบัติการวิจัย Far Future Design ของบริษัทฟิลิปส์ โดยเธอเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้และจับความรู้สึกได้ ทีมของเธอพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อย่างเช่น ลายสักไฟฟ้าที่ฝังเข้าไปในผิวหนังและสามารถปรากฏและเปลี่ยนรูปได้ผ่านการสัมผัส .เธออธิบายถึงการทำงานของเธอว่าเป็น “การคาดการณ์ถึงอนาคตของการดำรงอยู่ของมนุษย์ ผ่านการสำรวจข้อจำกัดของร่างกาย ความงาม เทคโนโลยีชีวภาพ และตัวตน” เธอร่วมงานกับนักวิทยาศาสตร์และศิลปินหลากหลายแขนง ซึ่งทำให้เธอมีผลงานแปลกใหม่อย่างเช่น Swallowable Perfume หรือน้ำหอมกลืนได้ที่ปล่อยกลิ่นหอมออกมาผ่านเหงื่อ “Future Day Spa” ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่นำคนดูไปสัมผัสกับอุปกณ์ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและเหมือนถูกกอดอยู่ และ “Institute of Isolation” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สำรวจความทรหดอดทนของมนุษย์ภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทายอย่างสุดโต่ง .ล่าสุดเธอได้สร้างหนังสั้นเรื่อง “Delicate Spells of Mind” สำหรับเทศกาล Singapore International Festival of Arts (SIFA) ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตตาและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สำหรับหนังเรื่องนี้ ลูซี่ร่วมงานกับ แจสมิน อัลบูเคอร์คี นักออกแบบท่าเต้นที่เคยทำงานร่วมกับศิลปินมากมาย รวมถึง เซนต์ วินเซนต์ (St. Vincent), เคที่ เพอร์รี่ (Katy Perry) และ รีแอนนา (Rihanna) (สามารถรับชม “Delicate Spells of Mind” ทาง SIFA on Demand ได้ถึงวันที่ 10 กรกฎาคมนี้) .ในเอพิโสดนี้ลูซี่แบ่งปันกับเราว่าทำไมเธอถึงชอบทำงานภายใต้สถานการณ์ที่เธอไม่คุ้นเคย พุทธปรัชญามีความเกี่ยวข้องกับงานของเธออย่างไร และคำถามเกี่ยวกับอนาคตที่สังคมมนุษย์ควรร่วมกันสำรวจ.Intro: BilingualThis episode is in English. / เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com.*Portrait of Lucy McRae courtesy of Kort Havens**Photos of “Delicate Spells of Mind” courtesy of May Xiong
-
ในเอพิโสดที่ 3 ของซีซั่น 4 เราได้ไปพูดคุยกับ แตงโม - กิตติพร โรจน์วณิช นักแสดงที่มีผลงานทั้งละครเวที ละครโทรทัศน์ และสแตนด์อัพคอเมดี้ ผู้ใช้ชีวิตทำงานทั้งในไทยและสหรัฐอเมริกา ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ นอกจากคำถามจากทางรายการแล้ว เรายังมีคำถามเซอร์ไพรส์จากเพื่อนสนิทของแตงโมและคนรู้จักในวงการละครเวทีไทยอีกด้วย แตงโมได้เล่าให้เราฟังถึงประสบการณ์การทำงานและการหางานในอเมริกา พร้อมเรื่องตลกเฮฮามากมาย และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเป็นนักแสดงมืออาชีพ
.
In this episode, we talk to actress Mo Rodvanich, who works both onstage and onscreen in Thailand and in the US. And more recently, she’s just ventured into stand-up comedy. For this interview, Mo not only answers questions from the two of us, she also takes questions from close friends and colleagues from the Thai performing arts scene. The actress speaks to us about her experience studying and finding acting gigs in America, tells hilarious anecdotes, and gives professional advice.
.
Intro: Bilingualเอพิโสดนี้เป็นภาษาไทยThis episode is in Thai.
.
ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
ในเอพิโสด 2 ของซีซั่น 4 กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับ Trade Secrets ซีรี่ส์ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินรุ่นใหม่มาพูดคุยกับศิลปินรุ่นพี่ โดยในเอพิโสดนี้ ศิลปินหน้าใหม่ 3 คน จากคณะละคร Circle Theatre ปอ-นัทธมน เปรมสำราญ ปาร์ตี้-ภัสสร์ภวิศา จิวพัฒนกุล และลีโอ-มนต์สุนทร สุราช ได้เลือกที่จะมาทำความรู้จักกับศิลปินรุ่นพี่ เบสท์-วิชย อาทมาท จาก For What Theatre เกี่ยวกับวิธีการสร้างบท การทำงานกับนักแสดง และการกำกับศิลป์ รวมถึงการยึดศิลปะการแสดงเป็นอาชีพ
.
We’re back with Trade Secrets, our special series that gives young artists a chance to speak with more experienced artists. This time, three emerging artists from Circle Theatre—Nuttamon “Por” Pramsamran, Paspawisa “Party” Jewpattanagul, and Monsuntorn “Leo” Surach—picked For What Theatre co-founder Wichaya “Best” Artamat as their interview subject. Each of the three young artists has their own questions about Wichaya’s approach to writing, directing, and designing, and what it’s like to pursue theatre as a profession.
.
Intro: Bilingualเอพิโสดนี้เป็นภาษาไทยThis episode is in Thai.
.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีซั่น 4 ของ Bangkok Offstage ซีซั่นนี้ยังมี 10 เอพิโสดหลักเหมือนเดิม สามารถติดตามฟังเราสองคนได้ทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน สำหรับซีซั่นนี้ เราขอประเดิมด้วยเรื่องน่ารักๆ ของละครเด็ก โดยเราได้พูดคุยกับเบิร์ด - นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ ซึ่งเป็นนักแสดงและนักเล่าเรื่อง และแจ๋ - สิริกาญจน์ บรรจงทัด ศิลปินหุ่น ทั้งสองได้เล่าให้เราฟังอย่างสนุกสนานถึงกระบวนการในการสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็ก การฝึกฝนทักษะและเก็บเกี่ยวประสบการณ์การแสดงและการสร้างหุ่น และมุมมองที่เปลี่ยนไปของสังคมเกี่ยวกับสื่อสำหรับเยาวชน
.
Welcome to Season 4 of Bangkok Offstage. As always, you can expect 10 main episodes, with a new episode coming out every last Thursday of the month. We’re starting things off this season with two children’s theatre artists—performer and storyteller Neelacha “Bird” Fuangfookiat and puppet artist Sirikarn “Jae” Bunjongtad. We had a great time listening to the two artists talk about the ways they create performances for children, their performance and puppetry training, and society’s changing views of media for young people.
.
Intro: Bilingualเอพิโสดนี้เป็นภาษาไทยThis episode is in Thai.
.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
Bangkok Offstage เอพิโสดสุดท้ายของซีซั่น 3 พบกับอาจารย์ปวิตร มหาสารินันทน์ หรือครูป้อม นักวิจารณ์ศิลปะการแสดง และประธานชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดงหรือ IATC —Thailand Centre ที่มาพูดคุยกับเราถึงการชมการแสดงในรูปแบบออนไลน์ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาว่ามีแง่มุมไหนที่น่าสนใจ รวมถึงการเรียนการสอนด้านละครและการวิจารณ์ศิลปะการแสดงว่าต้องปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างในช่วงโควิด .To wrap up Season 3, we invite theatre critic and President of the International Association of Theatre Critics — Thailand Centre (IATC — Thailand Centre) Pawit Mahasarinand to look back at almost two years of watching and participating in online theatre. He shares with us some of his favorite discoveries, what it’s like to teach theatre during Covid, and how critics have adapted to online theatre..เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย.
This episode is in Thai..ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com
-
กลับมาอีกครั้งสำหรับมินิโสด ‘ริรีวิว’ ของ Bangkok Offstage โดยคราวนี้เราจะมาพูดคุยและวิจารณ์การแสดงบางส่วนจากสองเทศกาลที่จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน นั่นก็คือเทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ (BICT Fest) ที่ปีนี้จัดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในชื่อ ‘BICT on(line) the MOVE’ และเทศกาลละครกรุงเทพ (BTF) ที่จัดแบบออฟไลน์ภายใต้ธีม ‘Back to Live’
.
In our second minisode of Season 3, we review selected performances from two festivals held in November. We start off with the Bangkok International Children’s Theatre Festival (BICT Fest), which went fully online this year under the theme "BICT on (line) the MOVE". Next, we discuss the offline Bangkok Theatre Festival (BTF) under the theme "Back to Live."
.
มินิโสดนี้เป็นภาษาไทย/ This minisode is in Thai.
รีวิว BTF เริ่มที่ 41:00
.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com.#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast #ริรีวิว
-
Back in August, Bangkok Offstage sat down for a conversation with arts critics and writers Corrie Tan from Singapore and Katrina Stuart Santiago from the Philippines. They reflect on how they became critics, the intersection of writing and activism in their works, and the place of art and arts criticism in a world turned upside down..ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Bangkok Offstage ได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจารณ์ศิลปะกับสองนักวิจารณ์และนักเขียน 'คอรี่ แทน' จากประเทศสิงคโปร์ และ 'คาทรินา สจวร์ด ซานติอาโก' จากประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งคู่ได้เล่าให้เราฟังถึงการเข้าสู่เส้นทางการวิจารณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างงานเขียนและการขับเคลื่อนสังคม รวมถึงบทบาทของศิลปะและการวิจารณ์ศิลปะในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนไป.This episode is in English. เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ.ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com.#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
-
In July of this year, we reached out to researcher and actor Muhammad Abe in Yogyakarta, Indonesia, to learn more about his work as the director of Indonesia Dramatic Reading Festival (IDRF). In the past few years, Abe and IDRF have been responsible for introducing new works by Southeast Asian playwrights to the region and other parts of the world. He gives us a glimpse into the Yogyakarta arts scene, what it’s like to live as an artist in the vibrant city, and the kinds of writing that are coming out of Indonesia..เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เราได้ไปพูดคุยกับ มูฮัมหมัด อาเบะ นักวิจัยและนักแสดงในเมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เกี่ยวกับการเป็นผู้กำกับเทศกาลอ่านบทละคร Indonesia Dramatic Reading Festival (IDRF) ที่ได้นำเสนอผลงานใหม่ๆ จากนักเขียนบทละครในภูมิภาคสู่หลายประเทศทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เรายังได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงการศิลปะในยอกยาการ์ตา รวมถึงการสร้างสรรค์งานของศิลปินที่นั่น และงานเขียนหลากหลายประเภทของอินโดนีเซีย.เอพิโสดนี้เป็นภาษาอังกฤษ. This episode is in English..ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com.#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
-
ถึงแม้ในประเทศไทยจะไม่มีการแสดงสดให้ได้ชมกันในตอนนี้ แต่ศิลปินละครไทยก็ยังมีผลงานไปแสดงในต่างประเทศ ล่าสุดการแสดงที่มีชื่อว่า “4 วันในเดือนกันยา” หรือ “Four Days in September (The Missing Comrade)” โดย For What Theatre ได้รับเชิญให้ไปแสดงในประเทศออสเตรียและเบลเยียมในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมที่ผ่านมา และจะได้ไปแสดงในประเทศฝรั่งเศสในเดือนหน้า เราจึงไปพูดคุยกับผู้กำกับ วิชย อาทมาท (เบสท์) และหนึ่งในทีมนักแสดง วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล (พิช) ถึงการแสดงชิ้นนี้และผลงานอื่นๆ ที่เคยทำร่วมกัน ประวัติศาสตร์และการเมืองในงานของวิชย และกระบวนการสร้างงานของแต่ละคน
.Although live performances are not yet permitted in Thailand at the moment, Thai theatre artists have had their works staged abroad. Most recently, For What Theatre’s latest production, “Four Days in September (The Missing Comrade)” was invited to perform in Austria and Belgium in June and July respectively. And next month, they will be off to Paris, France. So we talk to director Wichaya Artamat and actor Witwisit Hiranyawongkul about their latest play and past collaborations, history and politics in Wichaya’s performances, and how each conceives and creates their works.
.เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย. This episode is in Thai..
ติดตาม / Followwww.bangkokoffstage.com.#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
-
พบกันอีกครั้งสำหรับ Trade Secrets ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินรุ่นใหม่มาพูดคุยกับศิลปินรุ่นพี่ โดยในเอพิโสดนี้เราได้คู่ศิลปินต่างรุ่นที่กำลังจะมีผลงานในเทศกาลศิลปะการแสดงร่วมสมัยนานาชาติ หรือ BIPAM เป็นการแสดงกึ่งกระบวนการที่มีชื่อเรื่องว่า “The 4th Rehearsal” โดยแขกรับเชิญของเราก็คือ วรรณศักดิ์ ศิริหล้า (กั๊ก) และ ปฏิพล อัศวมหาพงษ์ (โอ๊ต) ทั้งสองมาร่วมพูดคุยถึงโปรเจกต์นี้ และแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการสร้างสรรค์การแสดงเดี่ยวที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
.
We’re back with "Trade Secrets," our special series that gives young artists a chance to speak with more experienced artists. In the second installment, we bring together two generations of queer artists whose work-in-progress performance, "The Fourth Rehearsal," will be featured at this year’s Bangkok International Performing Arts Meeting (BIPAM). "The Fourth Rehearsal," is a collaboration between veteran solo performer Wannasak Sirilar and founder of Miss Theatre company Pathipon Adsavamahapong (Miss Oat). They discuss their project and the art of solo performance.
.
เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย
This episode is in Thai.
.
ติดตาม / Follow
www.bangkokoffstage.com
.
#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
-
หลายคนอาจรู้จัก Showhopper ในฐานะเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับละครเวทีทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่ตอนนี้ Showhopper ได้เติบโตขึ้นและมีหลายโปรเจกต์ที่น่าสนใจ Bangkok Offstage เลยไปพูดคุยกับ เต๋ - วสวัตติ์ ดุลยวิทย์ ผู้ก่อตั้ง, ปิ้ก - ชวิศา ฉายอินทร์ ฝ่าย Merchandising และเบล - ธัญธร คุณาภิญญา ฝ่าย Research & Development ถึงที่มาของ Showhopper กิจกรรมที่ทำตลอด 4 ปีที่ผ่านมา และบทบาทใหม่ในวงการละครเวทีไทย
.
Showhopper is known in Thailand among theatre lovers as one of the go-to Facebook pages about theatre in Thailand and abroad. But today, Showhopper has grown into something bigger than that and is doing a number of interesting projects. So Bangkok Offstage sits down with its founder Vasawat Dulyavit, Chawisa Chai-in from Merchandising and Thanyathorn Khunapinya from Research & Development to talk about how they got their start, what they’ve been doing in the past four years, and their new role in the Thai theatre landscape.
.
เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทย
This episode is in Thai. Translated excerpts in English will be available soon on our website.
.
ติดตาม / Follow
www.bangkokoffstage.com
.#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
-
Bangkok Offstage ขอแนะนำซีรีส์ใหม่ Trade Secrets ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินรุ่นใหม่มาพูดคุยกับศิลปินรุ่นพี่ เราเปิดซีรีส์นี้ด้วยศิลปินรุ่นน้อง กวิน พิชิตกุล จากกลุ่มละครดีง์ และศิลปินรุ่นพี่ ตั๋ม - ธนพล วิรุฬหกุล นักออกแบบท่าเต้นที่มีผลงานระดับนานาชาติ ซึ่งทั้งคู่ได้มาแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการเป็นศิลปิน วินัยในการเป็นศิลปิน และนิยามว่าศิลปินที่ดีคืออะไร
.
We’d like to introduce you to our new series, Trade Secrets, which features a conversation between a young artist and a more experienced artist. We kick things off with young experimental artist Kwin Bhichitkul of Dee-ng Theatre and award-winning and internationally recognized dance artist Thanapol Virulhakul. They talk about their relationship with their artist selves, how they stay disciplined, and what it means to be a good artist.
.เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทยThis episode is in Thai. Translated excerpts in English will be available soon on our website..ติดตาม / Follow
www.bangkokoffstage.com.#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
-
Bangkok Offstage เอพิโสด 3 ของซีซั่น 3 เราได้ไปคุยกับเวลา อมตะธรรมชาติ นักจัดการศิลปะ ผู้อำนวยการเทศกาลศิลปะ Low Fat Art Fes และผู้ก่อตั้งเครือข่ายประยูรเพื่อศิลปะ ที่ล่าสุดได้นำ Low Fat Art Fes ครั้งที่สี่ ไปลงพื้นที่ใหม่ในจังหวัดเลย โดยให้ชื่อว่า Loei Art Fes ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคมนี้ นอกจากจะมาแบ่งปันกับเราเรื่องเทศกาลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เวลายังได้มาพูดคุยกับเราเรื่องบทบาทนักจัดการศิลปะ การทำงานด้านศิลปะกับคนในชุมชนต่างๆ และทำอย่างไรให้วงการศิลปวัฒนธรรมในไทยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
.
In episode 3 of season 3, we talk to art manager Wayla Amatathammachad. He’s the Festival Director of Low Fat Art Fes and founder of an art network called Prayoon for Art. Most recently, Wayla has brought the fourth version of Low Fat Art Fes to the Northeastern province of Loei. Loei Art Fes, as it is called, will take place between July 23 and August 1. Apart from sharing with us his experiences working and attending festivals in Thailand and abroad, Wayla discusses the role of art managers, how he works with various communities as an art festival director, and what can be done to sustainably develop the arts and culture sector in Thailand.
.เอพิโสดนี้เป็นภาษาไทยThis episode is in Thai. Translated excerpts in English will be available soon on our website..ติดตาม / Follow
www.bangkokoffstage.com.#BangkokOffstage #BangkokOffstagePodcast
- Visa fler