Avsnitt

  • ภายใต้สารพัดแนวคิดหรือสารพัดนโยบายเพื่อเด็กและเยาวชนไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีเด็กและเยาวชนเปราะบางอีกจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่กลับ ‘ไม่ถูกมองเห็น’ โดยรัฐไทย กล่าวคือถูกมองข้าม ละเลย และไม่ได้รับความเข้าใจเพียงพอ
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนฟังสาระสำคัญบางส่วนจากรายงาน เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น: รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024 ที่จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิด ‘เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น’ ซึ่งนำเสนอสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนชายขอบกลุ่มตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ เด็กและเยาวชนครัวเรือนเกษตร, เด็กและเยาวชนจนเมือง, สามเณร, และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
    .
    เผื่อว่าในอนาคต รัฐไทยจะ ‘มองเห็น’ และสามารถสนับสนุนความฝันและแก้ไขปัญหาของเด็กเหล่านี้ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
    .
    ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world และ วรดร เลิศรัตน์ นักวิจัย 101 PUB
    ………………
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.the101.world/kid-for-kids-report-2024/

  • ประเด็นการเมืองซึ่งได้รับความสนใจที่สุดในตอนนี้หนีไม่พ้นคดียุบพรรคก้าวไกลที่ถูกยื่นเรื่องล้มล้างการปกครอง

    ที่มาของการสร้างกลไกยุบพรรคมาจากแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้ (militant democracy) คือแนวคิดการติดเครื่องมือให้ประชาธิปไตยต่อสู้กับภัยคุกคามที่จะมาล้มล้างระบอบได้

    แต่ที่ผ่านมาการยุบพรรคในไทยถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย มีข้อวิจารณ์จำนวนมากว่าเป็นกลไกที่ใช้ทำลายพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจ

    101 In Focus สัปดาห์นี้จึงคุยกันเรื่องการยุบพรรคการเมืองในฐานะกลไกของระบอบประชาธิปไตยและการกลายพันธุ์ของการปรับใช้ในบริบทประเทศไทย มีปัจจัยใดบ้างที่เปลี่ยนจุดมุ่งหมายของการมีกลไกยุบพรรคในระบอบประชาธิปไตย จากเครื่องมือปกป้องประชาธิปไตย กลายเป็นเครื่องมือทำลายประชาธิปไตยเสียเอง

    ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติม

    - มาตรฐานแบบใดในคดีรัฐธรรมนูญ
    https://www.the101.world/inconsistent-standard-of-judgement/

    - ยุบพรรค ยุบนิติธรรม ยุบประชาธิปไตย
    https://www.the101.world/party-dissolution-and-democracy/

    - Same Same But Different: รัฐธรรมนูญเยอรมันและการกลายพันธุ์ในรัฐธรรมนูญไทย กับ ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
    https://www.the101.world/poonthep-sirinupong-interview/

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • 22 พฤษภาคม 2557 ถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย เมื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศรัฐประหารเวลา 16.30 น.

    ในวาระครบรอบ 10 ปีรัฐประหาร ชวนสำรวจภาพใหญ่ของการยึดอำนาจที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางการเมืองการปกครองทั้งองคาพยพ ทั้งในแง่สถาบันหลัก, การแต่งตั้ง สว. 250 รายที่มีสิทธิในการเลือกนายกรัฐมนตรี, การถือกำเนิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ 2560, การผูกขาดของระบบทุนกับเศรษฐกิจ ตลอดจนบาดแผลของผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบจากรัฐประหาร

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนผู้ฟังพินิจพิเคราะห์บาดแผลและมรดกตลอดสิบปีที่ผ่านมาของการรัฐประหารโดย คสช. ไปด้วยกัน

  • เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว พวกเราทุกคนก็ก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน ซึ่งถือว่าเป็นเดือน Pride Month หรือเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอีกครั้ง ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยเริ่มเห็นภาครัฐและภาคเอกชนต่างออกมาร่วมเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศไปด้วยกัน แต่ในอีกด้านก็มีหลายฝ่ายที่ตั้งคำถามว่ากลุ่มธุรกิจเหล่านี้สนับสนุนความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดเท่านั้น
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนสำรวจแนวคิด ‘rainbow washing’ หรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีการนำสีรุ้งมาใช้ในการโฆษณา พร้อมร่วมหาคำตอบว่ากลุ่มธุรกิจต้องสนับสนุนความหลากหลายทางเพศอย่างไรไม่ให้กลายเป็นเพียงการตลาดสีรุ้ง
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และ ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    Rainbow Washing การตลาดตบตาบนผืนผ้าสีรุ้ง
    https://www.the101.world/rainbow-washing/
    .
    Pride of 2024 : ยิ่งหลากหลาย ยิ่งทำกำไร!
    https://www.the101.world/pride-diversity-profitability/

  • ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนังสือแนว ‘ฮาวทู’ (how to) หรือ Self-Help Books ได้รับความนิยมในหมู่นักอ่านเป็นอย่างสูง เห็นได้จากยอดขายที่ติดอันดับหนังสือขายดีอย่างต่อเนื่องและกระแสการพูดถึงในโลกออนไลน์ ความเฟื่องฟูของหนังสือฮาวทูเหล่านี้กำลังสะท้อนความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในสังคม

    ท่ามกลางยุคสมัยแห่งความอ่อนล้าและการแสวงหาที่พึ่ง 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนมองวิวัฒนาการ ‘หนังสือฮาวทู’ ที่กำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด หาคำตอบว่าหนังสือเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้จริงหรือไม่ พร้อมสำรวจเทรนด์แห่งยุคสมัยที่ ‘แมว’ ปรากฏตัวอยู่ในหนังสือในฐานะผู้ให้บทเรียนในการใช้ชีวิต

    ดำเนินรายการโดย เพ็ญพิชชา มุ่งงาม และ ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

    หนังสือ ‘ฮาวทู’ มีประโยชน์จริงหรือ?
    https://www.the101.world/self-help-books/

    เมื่อเหมียวบุกชั้นหนังสือ: สำรวจ ‘แมว’ ในฐานะความรู้สึกแห่งยุคสมัย ที่คนกลายเป็น ‘ทาสแมว’

    https://www.the101.world/cat-books/

  • หลังจากที่ สว. ชุดเก่าหมดวาระลงไปเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่กระบวนการเลือก สว. ชุดใหม่ โดยมีกำหนดเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม ก่อนจะไปสู่กระบวนการเลือกในระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ ในช่วงเดือนมิถุนายน
    .
    เพื่อต้อนรับเทศกาลการเลือก สว. ชุดใหม่ 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนมาคุยว่าถึงแนวคิด-ข้อถกเถียงต่างๆ ว่าด้วย สว. โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า เราเลือก(ตั้ง) สว. กันไปทำไม และ สว. ยังจำเป็นต้องมีอยู่ไหมสำหรับประเทศไทย
    .
    ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่
    .
    เลือก(ตั้ง) ส.ว. ไปทำไม?
    https://www.the101.world/senator-nuttakorn/
    .
    หาคำตอบ ‘ส.ว. มีไว้ทำไม?’ กับปุรวิชญ์ วัฒนสุข เมื่อวุฒิสภาเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการประชาธิปไตย
    https://www.the101.world/purawich-watanasukh-interview/

  • ChatGPT บุกห้องเรียนมหาวิทยาลัย เอไอละเมิดลิขสิทธิ์ เอไอแย่งงานมนุษย์ ฯลฯ
    .

    ประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ไม่ว่าหันไปทางไหน เอไอก็แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน
    .

    แม้เราจะอยู่ท่ามกลางการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเอไอในทุกๆ วัน กระนั้นการมองเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนสำคัญของวัฒนธรรมมนุษย์ กลับไม่ค่อยถูกกล่าวถึงเท่าไรนัก
    .

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุยเรื่องบทบาทของ ‘เอไอ’ ในการเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ ตลอดจนหลักการและนโยบายกำกับดูแลเอไอ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    .

    ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และ สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    .

    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:
    .

    แย่งงาน หลายใจ และใดๆ ที่เอไอทำได้: คุยเรื่องเอไอในฐานะจุดเปลี่ยนวัฒนธรรมมนุษย์ กับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล https://www.the101.world/arthit-suriyawongkul-interview/
    .

    มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม? เมื่อ ChatGPT และ AI ทำให้เราเรียนจบได้เหมือนกัน https://www.the101.world/chatgpt-in-the-academic-world/
    .

    อาจารย์มหาวิทยาลัยจะสอนอย่างไร เมื่อ ChatGPT บุกห้องเรียน: ตัวอย่างการปรับตัวอย่างสร้างสรรค์ https://www.the101.world/chatgpt-in-the-academic-world-7/

  • ‘อยากเรียน ไม่ได้เรียน’

    ‘อีก 10 ปีข้างหน้า ผมก็น่าจะทำไร่อยู่บนดอย’

    ‘ถ้าเด็กมีทางเลือก เขาก็ไม่มามาบวชเรียน’

    ข้างต้นนี้คือเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากกลุ่ม ‘เด็กนอกสายตา’ ที่กำลังเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำหลายมิติ และเงื่อนไขสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไป บางคนคือเด็กจากครอบครัวยากไร้ บางคนเป็นเด็กจากภาคเกษตรบนดอยสูง บางคนเป็นสามเณรที่ต้องบวชเพื่อให้ได้เรียน

    พ้นไปจากนี้ยังมีเด็กอีกมากมายที่ไม่เคยถูกมองเห็น ให้ความสำคัญ หรือกระทั่งทำความเข้าใจตัวตนและชีวิตเขาอย่างแท้จริง 101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนคุณมาลองเปิดตา เปิดใจ รับฟังเรื่องราวจากเด็กหลากหลายกลุ่มในชุดผลงาน Spotlight ‘เด็กนอกสายตา’ โดย 101 ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

  • ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน นอกจากชาวบ้านจะต้องเผชิญอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบทางฝั่งพม่าแล้ว พวกเขายังต้องเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบโครงการพัฒนา นั่นคือ ‘โครงการผันน้ำยวม’ โครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำยวมและอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ปรากฏตัวอย่างเงียบเชียบ
    .
    ท่ามกลางความเงียบ ชาวบ้านลุ่มน้ำสาละวินรับรู้ถึงภัยคุกคามอย่างชัดเจน จึงคัดค้านโปรเจ็กต์ยักษ์ที่อาจทำลายแม่น้ำและวิถีชีวิตของคนในชุมชน
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ขอพาทุกคนเดินทางไปยังลุ่มน้ำสาละวิน พร้อมชวยคุยกันว่าด้วยเรื่องการสร้างเขื่อนน้ำยวมที่คนพื้นที่คัดค้าน รวมถึงความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการนี้
    .
    ดำเนินรายการโดย ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ และ วจนา วรรลยางกูร กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
    - “Let me flow free” คำร้องขอจากลุ่มน้ำสาละวิน ถึง ‘เขื่อนน้ำยวม’ กัมปนาทในความเงียบ
    https://www.the101.world/the-salween-river-basin/

    - EIA EHIA! เสือกระดาษแห่งวงการสิ่งแวดล้อมไทย
    https://www.the101.world/environmental-impact-assessment-obstacle/

  • 101 In Focus EP.223 : เปิดใจคนพม่าลี้ภัยเข้าไทย หลังบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร
    .
    จากการที่กองทัพพม่าประกาศกฎหมายเกณฑ์ทหารเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในหมู่ประชาชนชาวพม่า เนื่องด้วยการกำหนดช่วงอายุบุคคลผู้เข้าข่ายต้องเกณฑ์ทหารในข้อกฎหมายนี้นั้นกว้าง ทำให้มีประชาชนที่เข้าเกณฑ์รวมกันทั้งสิ้นราว 14 ล้านคน
    .
    กฎหมายเกณฑ์ทหารเปลี่ยนชีวิตประชาชนพม่าให้ตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน แม้จะไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรหากหลบหนี แต่ชาวพม่าจำนวนมหาศาลก็ตัดสินใจเผชิญความเสี่ยงด้วยการลี้ภัยไปนอกประเทศ ซึ่งปลายทางก็ไม่พ้นประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนเจาะลึกเรื่องชีวิตผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่หลบหนีเข้าไทย ว่าต้องเผชิญความยากลำบากอย่างไรจากแนวทางการจัดการเรื่องผู้ลี้ภัยของไทยที่มักถูกตั้งคำถาม เรื่องราวเหล่านี้สะท้อนการกระทำของกองทัพพม่าที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพพลเมืองอย่างไร และไทยควรทำอย่างไรในการเตรียมรับมือสถานการณ์ผู้ลี้ภัยระลอกใหม่ที่กำลังเข้ามา
    .
    ดำเนินรายการโดย ณัชชา สินคีรี กองบรรณาธิการ The101.world และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : “ผมต้องละทิ้งชีวิตทั้งหมดแล้วหนีมา” เปิดใจคนพม่าลี้ภัยเข้าไทย หลังบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร https://www.the101.world/burmeses-under-forced-conscription/

  • ในโลกที่เสก ‘รสนิยม’ ได้ด้วยปลายนิ้ว เราอยู่ในโลกที่สามารถซื้อรูปเทสต์ดีของ ‘คนอื่น’ มาแอบอ้างเป็นของ ‘ตัวเอง’ ได้ ทำให้กลุ่มซื้อขายรูปกลายเป็นประเด็นบนโลกออนไลน์
    .
    การเกิดขึ้นของกลุ่มซื้อขายรูป นับเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนอิทธิพลของโลกออนไลน์ที่มีมากขึ้นในทุกวันนี้ จนทำให้คนเริ่มอยากสร้างโลกอีกใบโดยการเอารูปคนอื่นมาอ้างว่าเป็นตนเอง และเพราะเหตุใดคนจึงยอม ‘ลงทุน’ เพื่อพยายามเป็นคนอื่นบนโลกออนไลน์
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนทำความเข้าใจจักรวาลการซื้อขายรูปในโลกออนไลน์ ตลอดจนตั้งคำถามต่อว่าปรากฏการณ์นี้บอกอะไรเรา และสะท้อนความเป็นไปของสังคมอย่างไรบ้าง
    .
    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา และ ชลธิชา ทักษิณาเวศน์ กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
    ไม่ยาก ถ้าอยากเป็น ‘วัยรุ่นเทสต์ดี’ : เข้าใจจักรวาลซื้อขายรูป กับการพยายามอยากเป็น ‘คนอื่น’ บนโลกออนไลน์
    https://www.the101.world/fake-photos-for-fake-identity-account/

  • คำถามที่ว่า ‘เก็บภาษีไปทำไม?’ ยังคงไหลเวียนอยู่ในพื้นที่การถกเถียงสาธารณะมาทุกยุคทุกสมัย แม้จะเป็นที่เข้าใจกันว่าระบบภาษีในรัฐสมัยใหม่ มีขึ้นเพื่อให้รัฐมีรายได้ไปสร้าง ‘ระบบสวัสดิการสังคม’ ในรูปแบบต่างๆ และ ‘กระตุ้นการใช้จ่าย’ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศดำเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งผู้ได้ประโยชน์คือประชาชนทุกคน ถึงกระนั้น พลเมืองผู้เสียภาษีหลายคน ก็ยังรู้สึกกังขาว่าภาษีที่จ่ายไปถูกนำมายกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และระบบภาษีที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ต้องมีการทบทวนปรับปรุงแก้ไขในด้านใดบ้าง
    .
    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนย้อนดูประวัติศาสตร์หน้าที่ของภาษี ที่เปลี่ยนผ่านจากการขูดรีดประชาชน สู่การเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมตั้งคำถามกับระบบภาษีรัฐไทยและโลกในปัจจุบัน ว่าอะไรคือโจทย์ใหญ่ในการสร้างระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
    .
    ดำเนินรายการโดย สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:
    ปรัชญาภาษี : จาก ‘ภาษีคือการปล้น’ สู่ ‘เครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ’
    https://www.the101.world/philosophy-of-taxation/
    .
    รัฐไทยรายได้ภาษีน้อย เก็บเพิ่มไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจจะพัง
    https://www.the101.world/thai-government-tax-revenue/
    .
    ผาสุก พงษ์ไพจิตร : ปฏิรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อสังคมไทยเสมอหน้า
    https://www.the101.world/interview-pasuk/
    .
    ‘ปฏิรูประบบภาษีไทย’ กับ อธิภัทร มุทิตาเจริญ
    https://www.the101.world/one-on-one-atipat/
    .
    ภาษี e-Service: ก้าวแรกของการเก็บภาษีจาก Digital Economy
    https://www.the101.world/e-service-tax-and-digital-economy/

  • ว่ากันว่า ประวัติศาสตร์นั้นมีสองด้านเสมอ ชวนสำรวจประวัติศาสตร์แบบ ‘๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ (2024) แอนิเมชั่นที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ด้วยการหยิบประวัติศาสตร์กระแสหลักมาเล่าใหม่ และเลนส์การมองการคัดง้างทางอำนาจของการเมืองไทยแบบฝั่งธรรมะ-อธรรม รวมทั้งผู้สอน-ผู้ถูกสอนด้วย
    .
    ดำเนินรายการโดย พิมพ์ชนก พุกสุข และ ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world
    .
    อ่านเพิ่มเติมที่ www.the101.world/2475-dawn-of-revolution/

    The101World

  • ท่ามกลางการแข่งขันในแวดวงสื่อมวลชนที่เข้มข้นและท้าทายขึ้น หลายสำนักข่าวต้องพยายามดิ้นรนหาทางรอดด้วยการดึงเม็ดเงินโฆษณาให้ได้มากที่สุด จนทำให้เราได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์กันเกลื่อนหน้าสื่อไทย
    .

    แม้นี่จะไม่ใช่เรื่องผิด แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือข่าวเหล่านั้นมักไม่แปะป้ายให้คนเห็นชัดเจนว่าเป็นสื่อประชาสัมพันธ์อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ผู้เสพสื่อถูกยัดเยียดโฆษณาแบบไม่รู้ตัว ขณะเดียวกันการพึ่งพิงงบโฆษณาที่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้สื่อไทยสุ่มเสี่ยงโดนแทรกแซงเนื้อหาจากเอกชนเจ้าของเงินทุนเช่นกัน
    .

    ในภาวะแบบนี้ เราจะทำอย่างไรให้สื่อไทยยังคงรักษาจรรยาบรรณและความเปิดเผยโปร่งใสต่อประชาชน แต่ขณะเดียวกันก็สามารถเอาตัวรอดได้จากความท้าทายที่บีบเข้ามารอบด้าน? 101 In Focus ชวนมาพูดคุยกันในเรื่องนี้
    .

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ และ วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world
    .

    อ่านเพิ่มเติมที่บทความ "ทางรอดที่ต้องแลก? – ว่าด้วยเสรีภาพและความโปร่งใส ในวันที่สื่ออยู่ได้ด้วยเงินโฆษณา กับ ‘อริน เจียจันทร์พงษ์’" https://www.the101.world/arin-jiajanpong-interview/

  • ‘ถวายคืนพระราชอำนาจ’ เคยเป็นข้อเรียกร้องของปัญญาชนฝ่ายกษัตริย์นิยมและผู้ชุมนุมช่วงก่อนรัฐประหาร 2549 สะท้อนความต้องการให้สถาบันกษัตริย์ควบคุมนักการเมืองในสถาบันแนวประชาธิปไตย

    เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในดุษฎีนิพนธ์ ‘เสรีนิยมธรรมราชา: พลวัตแห่งอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสถาบันแนวประชาธิปไตยในโครงการจำกัดอำนาจเสียงข้างมาก (พ.ศ. 2540 – 2560)’ ผลงานการศึกษาของ ปฤณ เทพนรินทร์

    เสรีนิยมธรรมราชาคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร และถูกนำมาใช้อย่างไร

    101 In Focus สัปดาห์นี้ชวนทำความเข้าใจเรื่องเสรีนิยมธรรมราชา บริบทสังคมที่ทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้สถาบันกษัตริย์มีพระราชอำนาจในการควบคุมสถาบันแนวประชาธิปไตย จนถึงความเปลี่ยนแปลงของเสรีนิยมธรรมราชาในปัจจุบัน

    ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการอาวุโส The101.world และ วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติมที่

    ‘เสรีนิยมธรรมราชา’ ในโครงการจำกัดอำนาจเสียงข้างมากของชนชั้นนำจารีต: ปฤณ เทพนรินทร์
    www.the101.world/prin-tepnarin-interview/

  • ทฤษฎี ‘สองนคราประชาธิปไตย’ โดยเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2537 ผ่านระยะเวลามาสามทศวรรษ มาถึงปัจจุบันที่การเมืองไทยยังเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่นับวันก็ยิ่งซับซ้อนและร้อนระอุมากขึ้น

    101 In Focus ตอนนี้ชวนคุยว่า ‘สองนคราประชาธิปไตย’ ยัง ‘ใหม่’ พอที่จะอธิบายการเมืองไทยได้อยู่หรือไม่

    ดำเนินรายการโดย ศุภวิชญ์ ศิริสวัสดิ์วัฒนา กองบรรณาธิการ The101.world และ สมคิด พุทธศรี บรรณาธิการบริหาร The101.world
    ...
    อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ :

    จาก ‘ไข่ดาวหนึ่งใบ’ สู่ ‘ไข่ดาวหลายใบ’: อ่านใหม่ ‘สองนคราประชาธิปไตย’ เมื่อภูมิทัศน์การเมืองไทยเปลี่ยน กับ ณพล จาตุศรีพิทักษ์
    https://www.the101.world/napon-jatusripitak-interview/

    ไม่ว่าอยู่เมืองใหญ่หรืออยู่ป่า เราต่างมองหาความยุติธรรม: หาคำตอบเรื่อง ‘เมืองยุติธรรม’ กับ อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
    https://www.the101.world/apiwat-ratanawaraha-interview-multiverse-of-justice/

    เจ้าฟ้า-เจ้าสัว: จากความมั่งคั่งบนสายสัมพันธ์ สู่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ‘ปวงชน อุนจะนำ’
    https://www.the101.world/puangchon-unchanam-interview/

  • 'อินโดนีเซีย' ได้เดินหน้าเข้าสู่จุดเปลี่ยนทางการเมืองครั้งสำคัญ เมื่อโจโก วีโดโด (Joko Widodo) ถึงคราวบอกลาตำแหน่งประธานาธิบดีหลังครองอำนาจมาต่อเนื่องครบ 10 ปีเต็ม เปิดทางให้ผู้นำคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

    โดยผลลัพธ์อย่างไม่เป็นทางการ ประกาศว่า ปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto) และ กีบรัน รากาบูมิง รากา (Gibran Rakabuming Raka) คือประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนต่อไป ด้วยชัยชนะแลนด์สไลด์ที่ได้คะแนนเสียงไปถึงร้อยละ 58

    แต่การคว้าชัยในครั้งนี้ของนายทหารวัย 72 ปีและบุตรชายคนโตของโจโกวี ทำให้เกิดคำถามถึงความเป็นประชาธิปไตยในอินโดนีเซียว่าเป็นไปตามครรลองมากน้อยแค่ไหน หรือประเทศแห่งนี้จะย้อนกลับไปสู่ยุคเผด็จการ และสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนจะย่ำแย่ลง?

    101 In Focus สัปดาห์นี้ เล่าเบื้องหลังการเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้ง ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เสียงของผู้สนับสนุนและวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ผู้นำ ปราโบโว-กีบรัน ไปจนถึงอนาคตของอินโดนีเซียภายหลังผ่านพ้นการเลือกตั้งและรับตำแหน่งเสร็จสิ้น

    ดำเนินรายการโดย ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ และวงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world

  • สัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาลิงในลพบุรีวนกลับมาอยู่ในห้วงความสนใจของชาวไทยอีกครั้ง หลังภาพสุดไวรัลของเด็กหญิงที่ถือปืนปลอมขู่ลิงและภาพลิงถือปืนนั่งอยู่บนรั้วพระปรางค์สามยอดทำให้เกิดการพูดถึงผลกระทบจากการเพิ่มจำนวนของลิงในลพบุรีเป็นวงกว้าง เพราะเบื้องหลังความตลกร้ายของภาพดังกล่าวคือชีวิตคนและลิงที่ยังหาตรงกลางในการอยู่ร่วมกันไม่ได้

    บ่อยครั้งเมื่อมีการถกเถียงถึงวิธีแก้ปัญหา มักจะมีคนเอ่ยถึงแนวทางที่เด็ดขาดและรุนแรง แต่ในความเป็นจริงไม่อาจทำแบบนั้นได้ เพราะปัญหาไม่ได้เป็นสีขาว-ดำอย่างที่เราเข้าใจ ก่อนจะด่วนตัดสินว่าลิงคือผู้ร้ายในปัญหานี้ เราต้องทำความเข้าใจลิงให้มากพอกับการทำความเข้าใจคน

    101 In Focus สัปดาห์นี้ ชวนทำความเข้าใจปัญหาลิงในลพบุรีให้ถึงต้นตอ สถานการณ์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร คนกับลิงอยู่กันแบบไหน และเราจะหาทางออกที่ยั่งยืนได้อย่างไร

    ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการ The101.world และ เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
    ลิงโลกเก่าในเมืองใหม่: ลิงลพบุรี ปัญหา ‘ลิงแก้แห’ ที่ควรแก้ได้
    www.the101.world/the-monkeys-of-lopburi/

  • ประเด็นเรื่องการปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจ ในแง่ที่ว่า นี่อาจเป็นการปรับปรุงรูปโฉมกรุงเทพฯ เสียใหม่ จากผังเมืองที่เต็มไปด้วยซอกซอยคดเคี้ยวและเดินทางลำบาก ก็อาจเป็นเมืองที่เดินทางสะดวก มีการคมนาคมสมบูรณ์ขึ้น ผู้คนใช้ชีวิตได้ง่าย

    กระนั้น มันก็ถูกจับตามองในแง่ที่ว่า นี่อาจเป็นการปรับปรุงผังเมืองที่เอื้อต่อ 'ทุน' เมื่อมีการจัดวาง ‘พื้นที่สีแดง’ หรือพื้นที่สำหรับส่งเสริมกิจกรรมเชิงพาณิชยกรรมต่างๆ และด้านหนึ่งก็อาจรุกไล่คนตัวเล็กตัวน้อยออกไปโดยไม่รู้ตัว แต่ถึงอย่างนั้น ทุนก็นับเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการจัดทำผังเมือง

    คำถามคือ แล้วเราจะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ให้ทุนอยู่กับผังเมืองอย่างไร ให้มันเป็นเมืองที่โอบรับผู้คนทุกประเภท

  • คนไทยหลายคนต่างมีความหวังอยากให้ประเทศเปลี่ยนผ่าน-ก้าวไปข้างหน้า ไม่ว่าจะในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่แม้ความหวังจะปรากฏให้เห็นรำไรๆ หลายครั้ง ก็เหมือนมีอะไรฉุดรั้งไม่ให้เราก้าวเดินไปถึงมันได้สักที
    .

    101 In Focus ตอนนี้ ชวนมาคุยกันว่าประเทศไทยกำลังติดหล่มอะไรกันอยู่ แล้วเราจะก้าวพ้นมันไปได้อย่างไร
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน - วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา บรรณาธิการ The101.world และ กุ้ง - เพ็ญพิชชา มุ่งงาม กองบรรณาธิการ The101.world
    .

    อ่านเพิ่มเติมที่
    .

    - ‘ความหวังในหล่มโคลน’ สังคมไทยบนทางแยกสู่ประชาธิปไตยจำแลง: สมชาย ปรีชาศิลปกุล
    the101.world/Somchai-preechasinlapakun-interview/
    .

    - ทางตันเศรษฐกิจ-เกษตรกรรมไทยในเขาวงกต ‘หนี้’: มองทิศทางเศรษฐกิจไทย กับ โสมรัศมิ์ จันทรัตน์
    the101.world/sommarat-chantarat-interview/
    .

    - “ผลประโยชน์แห่งชาติไม่เท่ากับผลประโยชน์รัฐบาล” ตั้งหลักใหม่ในยุคสมัยที่โลกติดหล่ม ไทยตกหลุม: พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์
    the101.world/pongphisoot-busbarat-interview/
    .

    - “ซอฟต์พาวเวอร์ต้องเข้าไปประทับในจิตวิญญาณ” ฉากทัศน์หน้าของวงการศิลปะและวัฒนธรรมไทยในสายตาของ พิเชษฐ กลั่นชื่น
    the101.world/pichet-klunchun-interview/
    .

    - Spotlight - ไทย Stuck ตาม Style?
    the101.world/category/spotlights/issue/thai-stuck-thai-style/