Avsnitt
-
ความจริงของธุรกิจขายตรงที่ทุกคนอาจจะยังไม่รู้
ต้องยอมรับว่าหากพูดถึงธุรกิจขายตรงในสังคมไทยก็มักจะถูกมองในแง่ลบอยู่เสมอ มากไปกว่านั้นยังถูกเชื่อมโยงไปยังการฉ้อโกงและเอาเปรียบผู้คนมากกว่าความน่าสนใจของโมเดลธุรกิจ
The Secret Sauce อีพีนี้จะพูดคุยกับผู้ก่อตั้งธุรกิจขายตรง ‘สีขาว’ ที่ยืนหยัดคู่กับสังคมไทยมานานถึง 28 ปี อย่าง พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด เกี่ยวกับข้อเท็จจริงของธุรกิจขายตรงว่าธุรกิจขายตรงที่ดีนั้นควรจะเป็นอย่างไร -
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/v5R8B8zm2bc
8 Minute History ซีรีส์ใหม่พาไปเจาะลึกประวัติศาสตร์ดัตช์, ฮอลันดา หรือเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน ประเทศเล็กๆ เคยเป็นมหาอำนาจทางทะเล มีเครือข่ายการค้าครอบคลุมตะวันออกยันตะวันตก และเป็นยังต้นกำเนิดตลาดทุนแห่งแรกของโลก รวมถึงธุรกิจอีกหลายสาขา
ในเอพิโสดนี้เริ่มต้นด้วยการปูพื้นฐานเหตุการณ์และตัวละครสำคัญในช่วงศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเป็นยุคแห่งการสำรวจโลกและฟื้นฟูศิลปวิทยาการ พร้อมเรียงลำดับเครือข่ายของราชวงศ์ Spanish Habsburg ที่ถือครองพื้นที่ยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าว นำมาสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐดัตช์ในเวลาต่อมา -
Saknas det avsnitt?
-
หลักการ UX/UI และเบื้องหลังการออกแบบแอปพลิเคชันการเงินที่คนไทยใช้กันทั่วประเทศอย่าง K PLUS, MAKE by KBank, ขุนทอง และเหมียวจด
คำนี้ดี Feat. อีพีนี้พาไปคุยภาษาอังกฤษกับ เต้-ธนวิชญ์ ประสงค์พงษ์ชัย Advanced Designer จาก Beacon Interface KBTG (KASIKORN Business-Technology Group)
ธนวิชญ์คือนักออกแบบ UX/UI ชาวไทย ผู้เคยสัมผัสวิถีการทำงานจากสถาบันชั้นนำ 3 แห่งของสหรัฐอเมริกามาแล้วตั้งแต่ MIT Media Lab, Google, และ Georgia Institute of Technology
🟩 UX/UI Design คืออะไร?
🟩 UX/UI Design ที่ดีเป็นแบบไหน?
🟩 3 สถาบันชั้นนำของอเมริกามีแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมต่างกันอย่างไร?
🟩 คนไทยสู้ต่างประเทศในแวดวงนี้ได้หรือไม่?
🟩 เด็กรุ่นใหม่สนใจงานสายนี้ ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?
ติดตามได้ใน คำนี้ดี Featuring เอพิโสดนี้ 📌 -
ไทยเตรียมรับมือหลังทรัมป์คืนบัลลังก์ทำเนียบขาว เพ่งเล็งประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้า Trade War ส่อทวีความรุนแรง รายละเอียดเป็นอย่างไร
เจาะแผนรัฐบาลยึด ‘การบินไทย’ กับผลร้ายที่จะตามมา พูดคุยกับ ศิริกัญญา ตันสกุล สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน
ทรัมป์คว้าชัยชนะ อะไรจะตามมา? พูดคุยกับ ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว THE STANDARD -
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/Jt50C3-54mw
ใกล้ถึงวันที่ 11 เดือน 11 Open Relationship เลยขอถือโอกาสพูดถึงคนโสดที่กำลังอยู่ในโลกที่ให้คุณค่ากับความสัมพันธ์แบบโรแมนติกสูงว่า การไม่มีคนรักอาจไม่ได้ทำให้คุณค่าของคุณและความหมายของการมีชีวิตอยู่ลดน้อยลง
เพราะการมีคู่ที่หลายคนให้คุณค่าไม่ได้หมายถึงการมีความสัมพันธ์กับใครสักคนเท่านั้น แต่หมายถึงต้องมี ‘ความสัมพันธ์ที่ดี’ ด้วย ฉะนั้นแล้วการยืนเดี่ยวอาจไม่ใช่เรื่องแย่ เพราะถ้าเปิดตาให้กว้างเรายังมีความสัมพันธ์ชุดอื่นๆ ที่ช่วยประคับประคอง แบ่งปัน ให้เราผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ไปได้ รวมถึง ‘ความสุข’ ที่สามารถสร้างได้แม้ว่าจะอยู่คนเดียวไปจนตายก็ตาม -
ทรัมป์นำแฮร์ริสขาดลอย อนาคตโลกเป็นอย่างไร?
คุยกับแขกรับเชิญ 2 ท่าน
ผศ. ดร.วิบูลพงศ์ พูนประสิทธิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ปรึกษาสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย
อำนาจ สุนทรวัฒน์ อดีตนายกสมาคมคนไทยในรัฐเท็กซัส
พบกันในรายการ THE STANDARD NOW กับ ณัฏฐา โกมลวาทิน วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD -
การลดโลกร้อนจำเป็นต้องพึ่งพลังงานสะอาดหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือพลังงานนิวเคลียร์ แต่หลายคนกังวลเรื่องความปลอดภัยเพราะเหตุการณ์ในอดีต แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่คือ SMR (Small Modular Reactor) หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าและกระจายไฟฟ้าไปสู่ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Google และ Microsoft ประกาศลงทุนใน SMR ส่งผลให้หุ้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พุ่งสูงขึ้น รวมถึงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศอย่าง PDP 2024 ที่กำลังถูกนำมาพิจารณาใช้ในประเทศไทย SMR คืออะไร มีความคุ้มค่าจริงหรือไม่ ความเสี่ยงคืออะไร และคนไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากตรงนี้
Secret Science เอพิโสดนี้พูดคุยกับ รศ. ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) และ รศ. ดร.สมบูรณ์ รัศมี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -
เศรษฐีอเมริกันแห่แจ้งเกิด ‘วีซ่าทองคำ’ หรือ Golden Visa เร่งวางแผนย้ายถิ่นฐานออกนอกประเทศ ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ โดยประเทศโซนยุโรปเป็นปลายทางยอดนิยม รายละเอียดเป็นอย่างไร
เจาะปมสินเชื่อทรุด หดตัว 4 เดือนติด สัญญาณลามต่อหรือไม่ พูดคุยกับ ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
มุมมองผลกระทบต่อการลงทุนหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในครั้งนี้ พูดคุยกับ รุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ ผู้อำนวยการอาวุโส Investment Product Selection and Partnership ธนาคารไทยพาณิชย์ -
วิเคราะห์โค้งสุดท้าย ‘ทรัมป์-แฮร์ริส’ ใครจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป ไทยได้-เสียประโยชน์แค่ไหน เรื่องอะไรบ้างที่คนไทยต้องรู้
ผลตอบแทนตลาดหุ้นโลกหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ จะเป็นอย่างไร พูดคุยกับ สุทธิชัย คุ้มวรชัย Head of Investment Strategy ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.อินโนเวสท์ เอกซ์
การเมืองแทรกแซง-ครอบงำแบงก์ชาติได้จริงหรือไม่ พูดคุยกับ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) -
เก่งอังกฤษกับคำนี้ดี คลิปนี้ พี่บิ๊กและพี่ฟ้ามาส่งกำลังใจให้ทุกคนในการเรียนภาษาด้วย ‘ประโยคเปลี่ยนชีวิตที่ทำให้ภาษาอังกฤษติดจรวด!’
ก่อนจะเก่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน ทุกคนต่างต้องเจออุปสรรคมากมาย แต่จะมีโมเมนต์ไหนบ้างที่เจอแล้วทำให้เราต้องฮึดสู้! มาแชร์ประโยคภาษาอังกฤษที่ขับเคลื่อนชีวิตให้ไปต่อ สู้ไม่ท้อ ไปด้วยกันกับคลิปนี้เลย -
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/UtN-A6GsBAU
เนเน่ พรนับพัน ศิลปินสาวตัวจิ๋วที่ความสามารถยิ่งใหญ่ วันนี้เนเน่มาคุยให้ คำนี้ดี ฟังว่าเส้นทางการเสี่ยงดวงไปประกวดที่ต่างประเทศแบบที่ไม่รู้ภาษา ไม่รู้วัฒนธรรม แบบลองดูสักตั้งเป็นอย่างไร รวมถึงเรื่องธุรกิจร้านเค้กที่กลายเป็นไวรัล และความรักที่เธอมองว่าเป็น Safe Space แสนอบอุ่น
อีพีนี้ใครที่คิดว่ารู้จักเนเน่ดีแล้วอาจจะต้องว้าวกับเรื่องที่เธอไม่เคยบอกใครมาก่อน เนเน่ทำอะไรในอ่างอาบน้ำทุกวัน? แล้วเรื่องไหนที่ทำให้เสียน้ำตาตอนอยู่ที่จีน สนิทกับเนเน่ได้มากขึ้นใน คำนี้ดี Featuring เอพิโสดนี้ -
จับตาการเมืองกุมอำนาจแบงก์ชาติ เคาะชื่อเก้าอี้ร้อนประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่วันนี้ รายละเอียดเป็นอย่างไร
‘จุดยืนคัดค้านการเมืองครอบงำแบงก์ชาติ’ พูดคุยกับ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ไทยจะได้อะไรจากก้าวแรกสู่การเป็นสมาชิก OECD ในปี 2030 พูดคุยกับ ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) -
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมของอร่อยมักไม่ค่อยมีประโยชน์ ส่วนอาหารที่มีประโยชน์กลับไม่ค่อยอร่อย!
Human-ศาสตร์ เอพิโสดนี้ ว่าด้วยเรื่องอาหารการกินของมนุษย์ ชวนหาคำตอบที่หลายคนน่าจะเคยสงสัย ทำไมเราชอบกินของหวาน ของทอด ของมัน สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับร่างกายเราอย่างไร เกี่ยวข้องเรื่องวิวัฒนาการหรือไม่ การกินของเราทุกวันนี้แตกต่างจากมนุษย์ยุคหินอย่างไร ไปจนถึงคำถามที่ว่า ในอนาคตถ้าทรัพยากรหมดโลก มนุษย์จะหาแหล่งอาหารจากไหน?
ดำเนินรายการโดย หมอเอ้ว-ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ปลายฝน-ภัทรสุดา บุญญศรี -
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/-zxGsUInLzM
.
การเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกากำลังจะมาถึง และอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญที่มาคู่กันเสมอคือสตรีหมายเลขหนึ่งที่จะยืนเคียงข้างกายสามีมาโดยตลอด ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องแฟชั่นหรือการแต่งกายของพวกเธอเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะหยิบยกมาพูดคุย
.
ก่อนที่จะทราบว่าใครจะมาเป็นผู้นำของสหรัฐฯ คนต่อไป เราขอเลือก 7 สตรีหมายเลขหนึ่งในยุคโมเดิร์นที่ไม่เพียงแค่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมหรือมีสไตล์ที่ชัดเจน แต่ยังมีอิทธิพลและบ่งบอกบริบทสังคมการเมืองยุคนั้นๆ ผ่านแฟชั่น ตั้งแต่ผู้หญิงยุค 1950 อย่าง Mamie Eisenhower จนถึงคนปัจจุบันอย่าง Jill Biden
.
ติดตามฟังและชมรายการ 7 Things We Love About... ได้ในวันจันทร์ เวลา 19.00 น. ทุกช่องทางสตรีมมิ่งและ YouTube ของ THE STANDARD POP
.
#7ThingsWeLoveAbout
#7ThingsWeLoveAboutXFLOTUS
#FLOTUS
#USElection2024
#TheStandardPop -
FPT Corporation เติบโตทะลุ 2 แสนล้านบาท ขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน สร้างเม็ดเงินสู่เศรษฐกิจเวียดนามอย่างมหาศาล เบื้องหลังเป็นอย่างไร?
The Secret Sauce เอพิโสดนี้ บุกสำนักงานใหญ่และมหาวิทยาลัย FPT สำรวจเบื้องหลังการก่อร่างสร้างธุรกิจ จากบริษัทเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารสู่ผู้ให้บริการด้านไอทีอันดับ 1 ของภูมิภาค อุปสรรคและความท้าทายที่นำมาสู่การสร้างหลักสูตรเพื่อปั้นบุคลากรด้านไอทีของตัวเอง และหนทางพิชิตความฝันอันยิ่งใหญ่ พลิกเวียดนามจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สู่เกาหลีใต้คนต่อไป -
Digital Nomad เที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วย กินดีอยู่สบาย อาชีพแบบนี้ทำได้จริงไหม ทำไมคนต่างชาติถึงฮิตกัน? วีร์ ราชากรกิจ ชวนทุกคนไปรู้จัก Paul Lee หนุ่มเกาหลี-อเมริกัน ผู้ผันตัวจากนักธุรกิจกินหรูอยู่แพงที่นิวยอร์ก หันมาใช้ชีวิตเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ไทย และไม่ใช่แค่เพราะอะไรก็ราคาถูก แต่ยังมีอะไรอีกที่ทำให้ประเทศเราดึงดูดคนต่างชาติให้มาทำงานหรือใช้ชีวิตที่นี่
📌 ติดตามได้ใน Hello Stranger! รายการใหม่จาก คำนี้ดี ทางช่อง YouTube: KND Studio
ทำความรู้จักกับ ‘Stranger’ คนแปลกหน้าจากต่างแดนที่ย้ายมาอยู่ไทย พูดคุยถึงเรื่องการเดินทาง มุมมองชีวิต และวัฒนธรรมของประเทศที่แต่ละคนจากมา
ในบรรยากาศโฮสเทลเตียง 2 ชั้นที่ YANH Ratchawat Hotel 🛏️ -
ระบบนิเวศของจุลินทรีย์ หรือ Microbiome ไม่ได้มีแค่ในลำไส้เท่านั้น แต่ยังมีอยู่ทั่วร่างกายมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าเราจะดูแลให้สมดุลเท่าไรก็ตาม แต่บางกิจกรรมก็สามารถทำให้ระบบนิเวศของจุลินทรีย์เปลี่ยน โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ที่เป็นการรับจุลินทรีย์มาจากอีกฝ่าย
Top to Toe เอพิโสดนี้ พาสำรวจสังคมจุลินทรีย์ระบบต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญในการได้รับจุลินทรีย์ต่างถิ่น อาจส่งผลให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่เดิมเปลี่ยนแปลงไป เราจะรักษาสมดุลเดิมไว้ได้อย่างไรพร้อมกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยไปด้วย -
WEALTH HISTORY EP.59 พาไปทำความรู้จักประวัติศาสตร์ของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยยาวนานถึง 146 ปี จนเป็นองค์กรด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการสาธารณสุขที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ สู่ก้าวใหม่ในการขยายธุรกิจ เพื่อนำพาบริษัทเข้าไปอยู่ในโอกาสแห่งการเติบโตในอนาคต ติดตามเรื่องราวนี้ได้กับโฮสต์ประจำรายการ วิทย์ สิทธิเวคิน
-
ดราม่าเกาะกูด ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนที่รัฐบาลยังไร้คำตอบ สู่เกมล้มรัฐบาล?
คุยกับ รศ. ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
พบกันในรายการ THE STANDARD NOW กับ อ๊อฟ ชัยนนท์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD -
“ไม่เป็นไรนะ”
“คุณดีพอแล้ว”
“ไม่ต้องพิสูจน์ตัวเองกับใครอีก”
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขอปลอบโยนทุกคนด้วยปรัชญาวะบิ ซะบิ และคินสึงิ หนทางรับมือกับการเป็น Perfectionist ด้วยมุมมองที่บอกว่าความไม่สมบูรณ์คือธรรมชาติของชีวิต และชีวิตมีคุณค่าและความงามได้ต่อให้มันไม่สมบูรณ์ พร้อมชวนมองต่อว่าเราจะนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับตัวเองและสังคมได้อย่างไรบ้าง
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา - Visa fler