Avsnitt

  • ความรักสำหรับคุณคืออะไร? เมื่อรักกันแล้วจำเป็นต้องแต่งงานหรือเปล่า?

    ผู้คนมีนิยามของความรักแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ คุณค่า และความเชื่อที่ตัวเองยึดถือ และสำหรับหลายๆ คนก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาด้วยเช่นกัน

    .

    ทำไมศาสนาฮินดูมองผู้หญิงที่มีลูกสำคัญกว่าผู้หญิงโสด

    ทำไมศาสนาพุทธเน้นชีวิตสันโดษมากกว่า

    ทำไมศาสนาคริสต์และอิสลามจึงให้ความสำคัญกับการแต่งงาน

    และศาสนาปรับตัวกับความหลากหลายทางเพศในโลกยุคใหม่อย่างไรบ้าง

    .

    มาสำรวจความรักในมุมมองของแต่ละศาสนาไปด้วยกันได้ในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’

    .

    ดำเนินรายการโดย อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

  • คนไทยหลายคนสืบทอดเชื้อสายจีน แต่มีกี่คนที่รู้ว่าเทพเจ้าจีนที่ตนเคารพนับถือมีความเป็นมาอย่างไรกันแน่

    .

    เทพเจ้าจีนมาจากไหน?

    บ้านคนจีนเขาไหว้อะไรกันบ้าง?

    ตี่จู่เอี๊ยะ คืออะไร?

    โลกหลังความตายของจีน มีระบบคล้ายราชการจริงหรือ?

    .

    มาสำรวจความเชื่อของตัวเองและทำความรู้จักเทพเจ้าจีนไปด้วยกันได้ในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’

    .

    ดำเนินรายการโดย อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์
    *แก้ไขข้อมูลนาทีที่ 6.10 : ผู้เผยแผ่ศาสนาเต๋าคือเหลาจื่อ

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • “เพราะคำทำนายอาจจะเป็นความชัดเจนเพียงไม่กี่อย่าง ในความไม่แน่นอนที่ชีวิตกำลังเผชิญอยู่”

    .

    เชื่อว่าเมื่อมีคำถามหรือความกังวลเกี่ยวกับชีวิตเกิดขึ้นในใจ หนึ่งในที่พึ่งที่หลายคนมักมองหาคือโหราศาสตร์ สิ่งนี้อยู่คู่กับคนไทยมานาน ไม่ว่าสถานการณ์ในสังคมจะเป็นอย่างไร และยิ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมากในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19

    .

    โหราศาสตร์คืออะไรกันแน่

    ดูลายมือ เปิดไพ่ยิปซี ใส่กำไลคริสตัล สวมเสื้อสีมงคล นับเป็นโหราศาสตร์หรือไม่

    โหรกับหมอดูแตกต่างกันอย่างไร

    ทำไมโหราศาสตร์จึงมีอิทธิพลต่อสังคมไทย

    .

    มานั่งล้อมวงทำความรู้จักโหราศาสตร์และสังคมไทยไปด้วยกันได้ในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’

    .

    ดำเนินรายการโดย อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

  • ในวันที่คำว่า ‘พส. (พระสงฆ์)’ กลายเป็นที่โด่งดังในโลกออนไลน์จากการไลฟ์สดเพื่อเผยแพร่ธรรมะแนวใหม่ โดย พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ และ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต หลายคนรู้สึกยินดีที่คนรุ่นใหม่สนใจพุทธศาสนามากขึ้น และมีบางส่วนเช่นกันที่มีคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อการเทศน์ที่ต่างไปจากกรอบประเพณีเดิม

    .

    การได้เห็นพระสงฆ์ได้มีพื้นที่บนโลกออนไลน์เช่นนี้นับว่าเป็นปรากฎการณ์ที่น่ายินดี แต่ในขณะเดียวกันก็ชวนให้เราได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เราแทบไม่เห็นภิกษุณีในประเทศไทยเท่าไรนัก แม้กระทั่งในโลกออฟไลน์

    .

    ทำไมผู้หญิงมักได้รับคำครหาเมื่อต้องการที่จะบวช

    ทำไมภิกษุณีต้องใส่เสื้อคลุมทับเมื่อไปทำบัตรประชาชน

    .

    มาร่วมตั้งคำถามและตามหาพื้นที่ในสังคมไทยให้ภิกษุณีไปด้วยกันได้ในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’
    .

    ดำเนินรายการโดย อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

  • ‘เอหิปัสสิโก’ (Come and See) ภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับคดีวัดพระธรรมกาย ได้เปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้ถกเถียงเกี่ยวกับความศรัทธา และอำนาจเป็นอย่างมาก

    .

    แล้วคุณเคยสงสัยไหมว่าในประเทศไทยมีสำนักพุทธที่ใดอีกบ้าง แต่ละที่แตกต่างกันอย่างไร และเมื่อพุทธศาสนาไม่ได้เป็นที่เคารพบูชาแค่ในหมู่คนไทยและคนเอเชีย พุทธในแต่ละที่ทั่วโลกเป็นอย่างไรกัน?

    .

    ทำไมหลวงพ่อชา สุภัทโท พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่มีลูกศิษย์ต่างชาติอยู่ทั่วโลก

    ทำไมพุทธอินเดียถึงถูกเรียกว่าเป็น ‘พุทธน้องใหม่’ ทั้งๆ ที่ประเทศอินเดียเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ

    ทำไมคนในประเทศตะวันตกนับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่ต้องยึดถือข้อปฏิบัติบางอย่างเหมือนบ้านเรา

    .

    มาร่วมตั้งคำถามและทำความรู้จักพุทธศาสนาในไทยและรอบโลกไปด้วยกันได้ในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’
    .

    ดำเนินรายการโดย อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

  • ฮืม….ข้ามาแล้ว… ข้ารู้ ข้าเห็น

    จากความเชื่อพื้นบ้านแบบไทยๆ ไปจนถึงสำนักร่างทรงที่ผู้คนกราบไหว้บูชา
    วัฒนธรรมการเชื่อมต่อกับโลกวิญญานที่เรามองไม่เห็น ที่มีรากฐานอยู่ทั่วโลก

    เพราะงั้นเตรียมธูปเทียนเชี่ยนหมาก มาฟังเรื่องเล่าจากวงในแบบไม่ต้องเสียค่าครู แล้วก้าวเข้ามาในวงสายสิญจน์ไปด้วยกันในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’

    ดำเนินรายการโดย : อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

  • ตั้งแต่ศาลที่ป้าข้างบ้านบอกว่าศักดิ์สิทธิ์ขอหวยมาได้แล้วสามงวด พระที่ว่ามีของขลังให้การงานค้าขายรุ่งเรือง
    เทวรูปที่ต้องไปบนเพื่อขอคู่ ขอรัก ผ่านพิธีกรรม ‘เคล็ดลับ’ ที่บอกต่อๆ กันมา ว่าถ้าทำยังงี้ บนติดแน่นอน !!!
    .
    (0:00) - แนะนำรายการ
    (3:30) - คัลท์ต่างจากศาสนายังไงบ้าง
    (7:29) - การบูชาคัลท์ในไทย
    (22:10) - ทำไมความเชื่อแบบคัลท์ๆ ถึงเริ่มกลับมาเป็นที่นิยม
    .
    พวกคุณเคยดูหนังคัลท์กันบ้างหรือป่าว
    หนังที่เพื่อนเอาหัวเป็นประกันว่าสนุกสุดติ่ง แต่ยิ่งดูยิ่งสับสน วกวน จนจบเรื่องก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี

    แต่ทำไมพอเป็นเรื่องคัลท์ๆ ในชีวิตจริง….

    ตั้งแต่ศาลที่ป้าข้างบ้านบอกว่าศักดิ์สิทธิ์ขอหวยมาได้แล้วสามงวด พระที่ว่ามีของขลังให้การงานค้าขายรุ่งเรือง
    เทวรูปที่ต้องไปบนเพื่อขอคู่ ขอรัก ผ่านพิธีกรรม ‘เคล็ดลับ’ ที่บอกต่อๆ กันมา ว่าถ้าทำยังงี้ บนติดแน่นอน !!!

    มาร่วมเข้าสู่วงการคัลท์ๆ เอ้ย! ทำความรู้จักกับคัลท์ต่างๆ ในไทยที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ได้แล้วในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’

    ดำเนินรายการโดย : อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

  • มาร่วมทำความเข้าใจรากฐาน และ กิ่ง ก้าน สาขาของพุทธศาสนาในไทยและรอบโลกไปด้วยกันได้ในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’
    .

    ‘พุทธศาสนา’ คือสิ่งที่ประชาชนคนไทยหมู่มากนับถือบูชา และนำคำสอนมาใช้เป็นแนวทางของชีวิต

    แต่คุณเคยสงสัยไหม ทำไมพุทธของไทยและจีนไม่เหมือนกัน แล้วพระที่นู้นเขาสวดมนต์บทเดียวกันกับเราไหม
    อะไรทำให้ศาสนาพุธในโลก แตกต่างกันจนต้องถูกแบ่งออกเป็นนิกาย ‘เถรวาท’ และ ‘มหายาน’ ?
    .

    ดำเนินรายการโดย : อ.ตุล – คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง และภรรยา แพร์ – วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

    https://www.the101.world/the-culture-talk-ep4/

  • เมื่อการรัฐประหารยังต้องมี ‘โหร คสช.’ และการคุยกับเทวดายังเป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ ‘ไสยศาสตร์ในการเมืองไทย’ จึงควรค่าแก่การไขปริศนาอย่างยิ่ง เริ่มตั้งแต่สถานที่ราชการยันการสร้างเมือง รู้หรือไหมว่าทั้งหมดนี้ล้วนออกแบบบนฐานความเชื่อทั้งสิ้น!
    .
    (0:28) - แนะนำรายการ
    (1:30) - ไสยศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองเหรอ
    (5:30) - มีตัวอย่างเรื่องราวบ้างไหม
    (14:00) - ไสยศาสตร์ใช้ในการเมืองได้ผลจริงเหรอ
    (19:57) - การสร้างความศักดิ์สิทธิ์
    .
    เพราะไสยศาสตร์และความเชื่ออยู่คู่กับสังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัย และทุกแง่มุมของชีวิต หากอยากรวย จะขอหวยก็ย่อมได้ หากอยากเจอคู่แท้ ความรักเอยท่านก็บันดาลให้ หรือจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน เสื้อสีมงคลและกำไลหินก็พร้อมตอบโจทย์! เรียกได้ว่าไสยศาสตร์และความเชื่อผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตของคนไทยหลายคนได้อย่างกลมกลืน

    .

    แต่ไม่ใช่แค่ประชาชนคนไทยเท่านั้นที่เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ หากย้อนกลับดูในประวัติศาตร์ไทย ‘เหล่าผู้มีอำนาจ’ ก็เชื่อในเรื่องนี้ไม่แพ้กัน และหลายหนก็ใช้สิ่งนี้มาเป็นเครื่องมือในการชักนำความเชื่อและสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง

    .

    มาร่วมถอดรหัสการมูเตลูสไตล์รัฐไทยพร้อมกันได้ในรายการ ‘ความรู้รอบผัว’

    https://www.the101.world/the-culture-talk-ep3/

  • “เป็นความเชื่อของคนไทยว่าพระภูมิเนี้ยเป็นเทวดาประจำที่นั้นๆ ...
    .... แต่จริงๆ แล้วเป็นผี ! ”
    .
    (0:25) - แนะนำรายการ
    (2:59) - ศาลพระภูมิคืออะไร
    (5:53) - แล้ว ตี่ จู้เอี๊ยะ ต่างจากศาลพระภูมิยังไง
    (9:58) - วิธีจัดการกับศาลในบ้าน
    (19:57) - แล้วถ้าไม่เชื่อเรื่องนี้ ทำไงดีละ
    .
    ศาล ..... เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเราเคารพมารุ่นสู่รุ่น
    คอยปกป้องคุ้มครองคนในบ้านตามความเชื่อของไทยเรา
    แต่ถ้าเสาหลักนี้ มันเอียงแอนไม่เที่ยงตรงล่ะ เราจะทำกันยังไง ?
    ย้ายมาบ้านใหม่แล้วอยากเปลี่ยนศาล ทำเองเลยได้ไหม ?
    มีคนเอาศาลเก่ามาทิ้งไว้ข้างบ้าน ทำไงดี ?

    มาร่วมไขปริศนาวัฒนธรรมรอบตัว และถอดรหัสความเชื่อที่ไม่เคยถูกอธิบายเหล่านี้
    ได้ในรายการ "ความรู้รอบผัว"
    .
    ดำเนินรายการโดย
    อ.ตุล - คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
    และภรรยา แพร์ - วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์

    https://www.the101.world/the-culture-talk-ep2/

  • “ความรู้รอบผัว” ในตอนแรกจะพาคุณไปรู้จักที่มาของวันสงกรานต์ โดยเริ่มตั้งแต่ วิเคราะห์คำว่า ‘สงกรานต์’ ว่าจริงๆ แล้วใช่คำไทยหรือเปล่า ตลอดจนตอบคำถามที่ว่า “ทำไมปีใหม่ไทยถึงไม่ตรงกับปีใหม่สากล?” บอกเลยว่าแม้ปีนี้จะต้องสาดน้ำแบบทิพย์ๆ ชั่วคราว แต่ข้อมูลความรู้จากอ.ตุลและแพร์จัดเต็มแบบไม่ทิพย์แน่นอน!
    .
    (0:29) - แนะนำรายการ
    (3:35) - สงกรานต์มาจากไหน
    (11:35) - ทำไมสงกรานต์ต้องเล่นน้ำ
    (16:25) - สงกรานต์เกี่ยวกับการเมืองยังไง
    (20:00) - สงกรานต์กับโฮลี่ของอินเดียเหมือนกันไหม
    .
    เมื่อพูดถึงวันสงกรานต์ หลายคนคงจะนึกถึงบรรยากาศการเดินทางกลับบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนครอบครัว หรือการออกไปท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ บ้างก็ไปเล่นน้ำประแป้งให้ร่างกายได้ชุ่มชื่นและหัวใจได้ชุ่มฉ่ำ เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาแสนสนุก แม้ 2 ปีที่ผ่านมานี้บรรยากาศจะหงอยเหงากว่าที่เคยเป็นมา ด้วยสถานการณ์ของโรคโควิด-19 แต่วันสงกรานต์ก็ยังคงให้ความรู้สึกของการเป็นวันครอบครัวและเป็นช่วงวันหยุดยาวที่นับว่าเป็นวันปีใหม่ของคนไทย
    .
    แต่รู้หรือไม่ แท้จริงแล้วเทศกาลนี้ไม่ได้เป็นช่วงเวลาเฮฮาสาดน้ำตั้งแต่ต้น วันสงกรานต์ที่ดูเป็นประเพณีแสนไทยแท้ (?) ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยหลายครั้งหลายหนด้วยกัน


    https://www.the101.world/the-culture-talk-ep1/