Avsnitt

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • เรื่อง รู้ทันโจรออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงิน ใช้มุกนี้ !!  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีข้อแนะนำ รู้ทันโจรออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงิน ดังนี้  รู้ทันโจรออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงิน ใช้มุกนี้ !!  อ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ : แจ้งเหตุผิดปกติ ขอตรวจสอบ  หลอกให้กลัว : อ้างพบความผิดปกติในการทำธุรกรรม พัวพันเรื่องผิดกฎหมาย  เส้นทางการเงินผิดปกติ ฟอกเงิน หรือมีหมายจับ  เจ้าหน้าที่ต่อสายกันเป็นทอดๆ หลายหน่วยงาน : ทำทีช่วยเหลือรับแจ้งความ ให้คำปรึกษาคดี หรืออ้างว่ากำลังสอบสวนทางโทรศัพท์  ชวนคุยหลอกถามข้อมูลส่วนตัว : บางรายจะมีข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน  บัญชีธนาคารของเหยื่อไว้แล้ว  ส่งเอกสารราชการ (ปลอม) : มีตราหน่วยงาน ตราครุฑ ราชกิจจานุเบกษา ลวงให้น่าเชื่อถือ  ส่งลิงก์ให้กดเข้าไปตรวจสอบข้อมูล : ถ้าเผลอกดเข้าไป คนร้ายจะรีโมท หรือแฮกโทรศัพท์ มือถือของเหยื่อเพื่อดูดเงิน  ข่มขู่เหยื่อ ห้ามวางสาย ห้ามบอกใคร  หลอกให้โอนเงินให้โดยตรง : หรือขอรหัส OTP  หน่วยงานที่โจรแอบอ้างมากที่สุด เช่น กรมสรรพากร ธนาคาร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  ตำรวจ ปปง. เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ สามารถแจ้งความออนไลน์ได้ที่ https://thaipoliceonline.com และสามารถโทรสอบถามปรึกษา แจ้งข้อมูลได้ที่ โทร. 1441

  • เรื่อง บุหรี่ไฟฟ้า โทษพิษภัย ภัยคุกคามต่อสุขภาพ  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีข้อแนะนำให้ความรู้ถึงอันตรายต่อสุขภาพบุหรี่ไฟฟ้า ดังนี้ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นผลิตภัณฑ์เสพยาสูบ หรือเสพนิโคตินที่ใช้การทำให้สารน้ำเกิดความร้อน และระเหย เป็นไอน้ำมาให้สูด/สูบ โดยที่ไม่เกิดควันจากการเผาไหม้ ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่าร้อยละ 95  มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในน้ ายาบุหรี่ไฟฟ้า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าท าให้ติดสารนิโคตินได้ และในส่วนละอองควัน  ที่สูดเข้าปอดนอกจากมีสารนิโคตินแล้วยังพบสารเคมีจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการผลิตและปรุงแต่กลิ่นรส  เช่น แอลดีไฮด์โพลีไซคลิค อะชิโตนและโครเมียม ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้ง เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง บุหรี่ไฟฟ้า โทษพิษภัย ภัยคุกคามต่อสุขภาพ : สารนิโคติน ที่มีอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้ามีผลต่อสุขภาพ ดังนี้  ระบบประสาทส่วนกลาง : ทำให้เกิดอาการ เวียนหัว วิงเวียน รบกวนการนอนหลับผิดปกติ  อาการปวดหัวและมีความเสี่ยงต่อการไหลเวียนของเลือด  ระบบทางเดินอาหาร : อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โรคท้องร่วง อาการคลื่นไส้  ปากแห้ง กรดไหลย้อน อาการอาหารไม่ย่อยและโรคมะเร็ง  ระบบกล้ามเนื้อ : การเสื่อมของกระดูกสันหลัง อาการปวดข้อ และการสั่นของร่างกาย  ระบบหัวใจและหลอดเลือด : เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและเพิ่มการเกาะเป็นก้อนในกระแส เลือด อัตราการเต้นของหัวใจผันผวน ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นเร็ว และหัวใจเต้น ผิดจังหวะ  ระบบหายใจ : หายใจถี่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมหดเกร็ง และโรคมะเร็ง  ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  โทร. 1422

  • สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีข้อแนะนำ เกี่ยวกับการเคลือบ โฉนดที่ดิน ดังนี้   การเคลือบโฉนดที่ดิน : การเคลือบจะท าให้ไม่สามารถพิมพ์รายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เช่น การโอน การจำนอง ในสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดที่ดินได้ ถือเป็นกรณีชำรุดจะต้องมีการสร้าง  ใบแทนโฉนดที่ดิน  ใบแทนโฉนดที่ดินที่ชำรุด : พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถออกใบแทนได้โดยไม่ต้องมีการประกาศ 30 วัน ด้านหน้าโฉนดที่ดินเหนือครุฑจะมีคำว่าใบแทนก ากับไว้ใบแทนดังกล่าวมีสถานะเทียบเท่าโฉนดที่ดิน เดิมทุกประการ  คำแนะนำ

     1. ไม่ควรน าโฉนดที่ดินไปเคลือบ เนื่องจากหากมีความประสงค์จะทำนิติกรรมในโฉนดที่ดิน จะต้องเสียเวลาในการสร้างใบแทนโฉนดที่ดินขึ้นใหม่ 

    2. ควรหาซองพลาสติกมาใส่โฉนดที่ดินเพื่อป้องกันความเสียหายจากการชำรุด 

    3. กรณีมีข้อสงสัย สามารถสอบถามไปยัง กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ  ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน กรมที่ดิน  กระทรวงมหาดไทย โทรศัพท์ : 0-21415769 - 72

  • รายงานข่าวจากธนาคารออมสิน แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มมิจฉาชีพใช้กลอุบายหลากหลายสารพัด รูปแบบหลอกลวงประชาชนท้าให้มีผู้เสียหายเพิ่มมากขึ้น ทั้งการส่งข้อความเข้าโทรศัพท์ มือถือล่อลวงว่าได้รับ วงเงินฟรีโดยให้กดลิงก์เพื่อดูดข้อมูลและเงินในบัญชี หรือ การแอบอ้างชื่อและโลโก้ของธนาคารท้าโฆษณา หลอกลวงบนโซเชียลมีเดีย หากหลงเชื่อลงทะเบียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Line  ทางโทรศัพท์มือถือ ทั้งที่เป็นส่งมาทางข้อความหรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทร.เข้า ประชาชนจะสูญเสียเงินแบบ ไม่ทันตั้งตัว โดยที่ธนาคารหรือหน่วยงานรัฐ ไม่อาจช่วยเหลือป้องกันใด ๆ ได้ทัน

  • ข้อควรสังเกตและหลีกเลี่ยงอาหารที่ทอดจากน้้ามันที่ทอดซ้้า เช่น เกิดควันมากตอนทอด, มีกลิ่นไหม้,  เหม็นหืน, ข้นหนืดผิดปกติ, มีสีด้าคล้้า, เกิดฟอง เป็นต้น และหากต้องปรุงเอง ไม่ควรใช้น้้ามันทอดอาหาร  ซ้้าเกิน 2 ครั้ง, อย่าซื้อน้้ามันที่ผ่านการใช้แล้วมาทอดต่อ และควรซื้อน้้ามันในภาชนะบรรจุที่มีฉลากชัดเจน และมีเลขสารบบอาหาร  ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มภารกิจด้านข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์  ส้านักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ : 025901401-2

  • เนื่องจากช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี จะเป็นก้าหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ท้าให้มีมิจฉาชีพฉวยโอกาสในช่วงเวลานี้ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กรมสรรพากรติดต่อประชาชน พร้อมทั้งอ้างว่าโทรมาแจ้งเตือนและติดตามการช้าระภาษีก่อนแอดไลน์และส่งลิงค์ แอปพลิเคชันให้ดาวน์โหลดโดยให้เหตุผลว่า เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายได้และเสียภาษีผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ก่อนจะท้าการโจรกรรมเงินในบัญชีธนาคารของประชาชน ซึ่งในบางกรณีมีการปลอมแปลงเอกสารราชการ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถืออีกด้วย  กรมสรรพากร จึงขอแนะน้าให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับการติดต่อจากผู้ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ สรรพากร แจ้งให้ด้าเนินการในเรื่องใดก็ตาม ขอให้โทรมาสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ศูนย์ สารนิเทศสรรพากร โทร. 1161 เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร  อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีผู้ขอรับบริการเป็นจ้านวนมาก  ประชาชนสามารถสอบถามไปยังช่องทางอื่นๆ อาทิ ส้านักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ ส้านักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ใกล้บ้านท่านทุกแห่งทั่วประเทศ  ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร กรมสรรพากร โทร. 1161

  • กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยด าเนินโครงการเพื่อมอบเป็น ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ “บ าบัดทุกข์ บ ารุงสุข” ให้แก่ประชาชน โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองพร้อม ให้บริการประชาชน สู่การเป็นองค์กรดิจิทัล เปิดตัวแอปพลิเคชัน “เรียกช่าง” เพื่ออ านวยความสะดวกแก่ ประชาชนในการค้นหาข้อมูลของช่าง ได้อย่างสะดวก ครบ จบงาน โดยการน าเทคโนโลยี และระบบการ ท างานที่เป็นดิจิทัล เข้ามาประยุกต์ในการพัฒนาการให้บริการประชาชน เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว  กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เล็งเห็นถึงความต้องการของประชาชนที่ต้องการปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน  ซึ่งเป็นงานขนาดเล็ก เช่น เดินสายไฟฟ้า วางท่อประปา ติดตั้งและซ่อม เครื่องปรับอากาศ ประตู-หน้าต่าง  มุ้งลวด เหล็กดัด เฟอร์นิเจอร์ ทาสี ปูพื้นกระเบื้อง มุงหลังคา และอื่น ๆ แต่ไม่สามารถ หาช่างหรือหาผู้รับจ้าง มาด าเนินการได้ หรือหาช่างได้แต่เป็นช่างที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ดังนั้น  เพื่ออ านวยความสะดวกให้กับประชาชน กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดท าแอปพลิเคชั่น“เรียกช่าง”  โดยการรวบรวมช่างประเภทต่าง ๆ พร้อมคัดกรองคุณภาพเบื้องต้น และน าเข้าข้อมูลช่างจากทั่วประเทศ  (พื้นที่ 76 จังหวัด) ในระบบอย่างต่อเนื่อง และอัพเดตข้อมูลช่างตลอดเวลา  ประชาชนสามารถใช้งาน แอปพลิเคชั่น “เรียกช่าง” ได้ ด้วยการใช้งานผ่านเว็บไซต์ www.dpt.go.th  หรือผ่าน link https://webs-apps.dpt.go.th/riakchang/main.php หรือสแกน QR code พร้อมทั้ง สามารถตั้งค่าเป็นไอคอนไว้บนหน้าจอมือถือ เพื่อค้นหาช่างได้ตามความต้องการของประชาชน โดยสามารถ ค้นหาได้จากพื้นที่ให้บริการ ประเภทของงานช่าง วงเงินขั้นต่ าในการรับงาน ทั้งนี้ประชาชนสามารถใช้งาน แอปพลิเคชั่น “เรียกช่าง” ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด  ทั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมโยธาธิการและผังเมือง  โทรศัพท์ : ๐-๒๒๙๙-๔๔๗๒

  • ตามที่ปรากฏข่าวพบผู้เสียหายจากการใช้งานสายชาร์จปลอมแล้วถูกดูดข้อมูลและโอนเงินออกจากบัญชี นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้หารือสมาคมธนาคารไทย เพื่อตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่ามิได้เกิด จากการใช้งานสายชาร์จปลอม แต่เกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่ แฝงมัลแวร์ ท้าให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการท้าธุรกรรมของลูกค้า และควบคุมเครื่องโทรศัพท์เพื่อสวมรอยท้า ธุรกรรมแทนจากระยะไกล เพื่อโอนเงินออกจากบัญชี โดยอาจเลือกท้าธุรกรรมในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายไม่ได้  ใช้งานโทรศัพท์

  • ห้ามผู้ใดเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ส่งทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ซึ่งถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อ ประโยชน์ในการกระท าความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ได้มาโดยค าสั่งอนุญาตของ  ศาลอาญาตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายหรือตามค าสั่งศาล  ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจ าทั้งปรับ แต่หาก การกระท าผิดนั้น กระท าโดยกรรมการ ป.ป.ส. เลขาธิการ ป.ป.ส. รองเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือเจ้าพนักงาน  ป.ป.ส. ผู้กระท า ต้องระวางโทษเป็น 3 เท่า ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด  พ.ศ. 2564 มาตรา 131  ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับค าปรึกษาด้านกฎหมาย บริการด้านงานยุติธรรมต่าง ๆ หรือสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1. สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง 2. จดหมาย : ตู้ไปรษณีย์ 3 หลักสี่ กทม. 10210 3. เว็บไซต์ : https://www.moj.go.th/ และระบบให้บริการประชาชน http://mind.moj.go.th 4. อีเมลล์ : [email protected] 5. แอปพลิเคชันไลน์ Lind id : Svl007 6. เฟสบุ๊ค : ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงยุติธรรม Ministry Of Justice, Thailand 7. แอปพลิเคชัน Justice Care : บริการรับเรื่องยุติธรรมสร้างสุข  8. ส านักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ  9. กองทุนยุติธรรม โทร 063-2697056 หรือ Facebook: กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

  • คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ปี 2566 เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียน ของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 42,000 ล้านบาท และจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม  ในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีส าหรับการ  ฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจประเทศ โดยสามารถลดหย่อนภาษีจากค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ส าหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึง  ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) ลดหย่อนตามจ านวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท  กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความส าคัญการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ  ทั้งการส่งเสริมการอ่าน จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร  ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อก าหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษี พร้อมทั้งออกร่างประกาศอธิบดีกรมสรรพากร  เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” ปี 2566 โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ 

     1. ค ่าซื้อสินค้าห รือค ่าบ ริก า ร จ านวนไม ่เกิน 30,000 บาท จะต้องมีใบก ากับภ าษี  แบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรหรือใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ  แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อและนามสกุลของผู้มีเงินได้ในรูปแบบกระดาษหรือ e-Tax Invoice หรือ  e-Receipt แล้วแต่กรณี  

    2. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จ านวนอีกไม่เกิน 10,000 บาท จะต้องมี e-Tax Invoice หรือ  e-Receipt แล้วแต่กรณีเท่านั้น  ทั้งนี้ e-Tax Invoice ตามข้อ 1 และข้อ 2 ในที่นี้หมายความรวมถึง e-Tax Invoice by Email ด้วย  ในการใช้สิทธิลดหย่อนตามข้อ 1 และข้อ 2 ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับใบก ากับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวล รัษฎากร แต่ไม่รวมถึงค่าสินค้าหรือค่าบริการ ดังนี้ ข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างการรับรู้สู่ชุมชน ครั้งที่ 1 / 2566 วันที่ ๙ มกราคม 2566 - ๒ -  

    (1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์  (2) ค่าซื้อยาสูบ   (3) ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ   (4) ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร  (5) ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต   (6) ค่าบริการจัดน าเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจน าเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจ  น าเที่ยวและมัคคุเทศก์  (7) ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม  (8) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ าประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการ สัญญาณอินเทอร์เน็ต   (9) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาตามที่ก าหนดไว้ (วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566) เช่น  ค่าสมาชิกต่าง ๆ  (10) ค่าประกันวินาศภัย 3. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้จะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้  แต่ต้องได้รับใบรับ ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุชื่อและนามสกุล ของผู้มีเงินได้ (1) ค่าซื้อหนังสือ (2) ค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต  (3) ค่าซื้อสินค้าหนึ่งต าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียน กับ กรมการพัฒนาชุมชนแล้ว  ทั้งนี้ 

    หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนประชาสัมพันธ์ ส านักงานเลขานุการกรม  กรมสรรพากร โทร. 0-2272-9530