Avsnitt

  • EP 2 ต้นกำเนิดของธรรมะนี้มาจากไหน มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกว่าพระพระพุทธองค์ทรงค้นพบอะไรดังนี้ “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ สำหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วย อาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา” พรหมยาจนกถา (วิ.ม. ๔/๗/๑๑)  จะเห็นได้ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบนั้นคือกฏธรรมชาติที่ลึกซึ้ง ที่เกี่ยวกับ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ปฏิจจสมุปบาท (Pratītyasamutpāda) หรือ “การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน”  เป็นธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ต้องมาตรัสรู้และสั่งสอนสรรพสัตว์ถือว่าเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง สมกับเป็นแก่นกลางคำสอนของพระพุทธศาสนายิ่ง น่าเสียยดายที่ชาวพุทธส่วนมากไม่ค่อยได้ให้โอกาสตนเองในการศึกษาธรรมะดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นเพราะยากมากต่อการเข้าใจ อีกทั้งไม่มีเวลาอ่านพระไตรปิฎก จึงไม่ได้เข้าถึงความรู้สำคัญดังกล่าว แม้จะเป็นสิ่งที่ยาก เหนือตรรกะจะคิดตรองให้เข้าใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะศึกษาอะไรไม่ได้เลย ตรงกันข้าม เราทั้งหลายควรจะใส่ใจศึกษาหลักแก่นธรรม ข้อนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้นำประโยชน์จากสุดยอดของธรรมะนี้มาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข ตามสติปัญญาของเราเท่าที่จะศึกษาได้  “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท” (มหาหัตถิปโทปมสูตร ม.มู.

    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้น โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ ประทับนั่งโดยบัลลังก์เดียว๓- เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์เป็นเวลา ๗ วัน ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมตลอด ปฐมยามแห่งราตรีว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ โพธิกถา (วิ.ม. ๔/๑/๑) ๑๒/๓๐๖/๓๓๘)

    ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ September 2020

  • "ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสีย ประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ให้ทานด้วย คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช- *ฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้ ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและ โสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกร สารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบาง คนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ"  (ทานสูตร องฺ.สตฺตก. ๒๓/๕๒/๘๙ - ๙๒)

    ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ

    25 September 2020

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • EP 1 ความหมายและที่มา: มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกว่าพระพระพุทธองค์ทรงค้นพบอะไรดังนี้ “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ สำหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วย อาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา” พรหมยาจนกถา (วิ.ม. ๔/๗/๑๑)  จะเห็นได้ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบนั้นคือกฏธรรมชาติที่ลึกซึ้ง ที่เกี่ยวกับ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ปฏิจจสมุปบาท (Pratītyasamutpāda) “การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน”เป็นธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ต้องมาตรัสรู้และสั่งสอนสรรพสัตว์ถือว่าเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง สมกับเป็นแก่นของพระพุทธศาสนายิ่ง น่าเสียยดายที่ชาวพุทธส่วนมากไม่ค่อยได้ให้โอกาสตนเองในการศึกษาธรรมะดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นเพราะยากมากต่อการเข้าใจ อีกทั้งไม่มีเวลาอ่านพระไตรปิฎก จึงไม่ได้เข้าถึงความรู้สำคัญดังกล่าว แม้จะเป็นสิ่งที่ยาก เหนือตรรกะจะคิดตรองให้เข้าใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะศึกษาอะไรไม่ได้เลย ตรงกันข้าม เราทั้งหลายควรจะใส่ใจศึกษาหลักแก่นธรรม ข้อนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้นำประโยชน์จากสุดยอดของธรรมะนี้มาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข ตามสติปัญญาของเราเท่าที่จะศึกษาได้

    “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท” (มหาหัตถิปโทปมสูตร ม.มู. ๑๒/๓๐๖/๓๓๘)

    ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ

  • พระพุทธองค์ทรงแนะนำ หลักการใช้ทรัพย์ให้กับฆราวาสดังนี้ 1.บำรุงเลี้ยงตนเอง บิดา มารดา บุตร ภรรยาและ บ่าวไพร่ให้มีความสุข ไม่อดยาก  2.เลี้ยงดูมิตรสหายให้อิ่มหนำสำราญ  3.ป้องกันอันตรายในยามคับขัน 4.ทำพลี คือบูชา หรือบำรุงในที่ ๕ สถาน คือญาติพลี บำรุง ญาติ อติถิพลี ต้อนรับแขก ปุพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ราชพลี บำรุงราชการมีการเสียภาษี อากรเป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดา 5.บำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบาก เป็นสุข ไว้ในสมณะพราหมณ์ผู้เว้นจากความประมาท มัวเมา ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะเป็นผู้หมั่นฝึกฝนตนให้ สงบระงับจากกิเลส (อาทิยสูตรที่ ๑)  นอกจากจะใช้ทรัพย์ในการดูแลตนเองและผู้อื่นให้เหมาะสมแล้ว ท่านยังแนะนำให้รู้จักการทำทานอีกด้วย คำถามก็คือว่า จะทำทาน ควรทำอย่างไร ทำกับใคร ทำที่ไหน จึงจะได้บุญมาก พบกับหลักคิด คำแนะนำในการทำทานที่ถูกวิธี และอานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐิน ที่มีมาในพระไตรปิฎก  ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์ ณรงค์ชัย ฐานชโย  21-September-2020

  • ความเจริญอันประเสริฐ ๑๐ ประการ (อริยวัฑฒิธรรม)ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความเจริญของชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมปรากฏอยู่ในพระสูตรชื่อ วัฑฒิสูตร ดังนี้  “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ ๑๐ ประการ ชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ " 1.เจริญด้วยนาและสวน (อสังหาริมทรัพย์) 2.เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก (สังหาริมทรัพย์) 3.เจริญด้วย บุตรและภรรยา  4.เจริญด้วยทาส กรรมกร และคนใช้  5.เจริญด้วยสัตว์สี่เท้า  6. เจริญด้วยศรัทธา (Faith) 7. เจริญด้วยศีล (Ethical Conduct) 8. เจริญด้วย สุตะ (Knowledge) 9. เจริญด้วยจาคะ (Giving) 10. เจริญด้วยปัญญา (Wisdom)  (วัฑฒิสูตร ๒๕/๗๔/๑๖๒)  ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ 18-September-2020

  • จิตนี้ มีลักษณะดิ้นรน กลับกลอก รักษายาก ห้ามยาก ข่มยาก เป็นธรรมชาติเร็ว ตกไปในอารมณ์ตามความใคร่  เปลี่ยนแปลงง่าย เที่ยวไปไกล

    ปัญหาหลักอันนึงของนักปฏิบัติธรรมทั้งลายคือ ความยากในการบังคับจิตของตนให้หยุดนิ่งตามใจปรารถนา ในวิตักกสัณฐานสูตร (ม.มู. ๑๒/๒๑๖/๒๒๖) พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนถึงวิธีการกำจัดความคิดฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวลต่างๆให้ออกไปจากใจ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้วแต่ง่าย ไปจนถึงยาก

    ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์ณรงค์ชัย ฐานชโย

  • พบกับโรคสูตร พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน ถึงโรคทางกายและใจของมนุษย์ ดังนี้"สัตว์ผู้อ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางกายตลอดระยะเวลา ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปี บ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง แม้ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง ยังพอมีอยู่ แต่สัตว์ผู้จะกล่าวอ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางใจ ตลอดระยะเวลาแม้ครู่เดียว หาได้โดยยากยกเว้นท่านผู้หมดกิเลสแล้ว" (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๑๕๗/๒๑๗) อีกทั้งท่านยังทรงสอนถึงโรคของบรรพชิตและวิธีรักษาโรคดังกล่าวอีกด้วย ท่านผู้ฟังจะได้ทราบถึงลักษณะของพระภิกษุที่พระพุทธองค์แนะนำ และหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงาม

    ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ

    7-Sep-2020

  • “ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์เช่นด้วยขันธ์ไม่มี สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง,” (สุขวรรค, ๒๕/๒๕)

    ทราบไหมว่ามนุษย์สามารถพัฒนาความสุขของตนเองให้ปราณีตยิ่งๆขึ้นไปกว่าที่มีอยู่นี้ได้อีก ตั้งแต่กามสุข ฌานสุข ไปจนถึงนิพพานสุข 

    ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ

    4-September-2020

  • มารู้จักเรื่องราวของ "มาร" ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในมารสังยุต (พระสุตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่มที่ ๑๕) ได้มีการพูดถึงมาร กว่า ๒๕ พระสูตร  โดยรวมแล้วจะมีการพูดถึงมารในสองลักษณะคือ บุคคลาธิษฐาน (Personification) คือพูดถึงมารในลักษณะรูปธรรม ว่ามีตัวตนจริง และ ธรรมาธิษฐาน (Exposition in terms of ideas) คือมารในลักษณะของนามธรรม มองไม่เห็นแต่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ชักใยให้มนุษย์ไม่อยากทำความดี

    มารอธิบายได้หลายความหมาย แต่โดยย่อแล้วหมายถึง อุปสรรคขัดขวางคนไม่ให้ความดีได้สะดวก  แบ่งได้ ๕ อย่าง คือ 1.กิเลสมาร (Defilements) มารคือกิเลส 2.ขันธมาร (Five Aggregates) มารคือขันธ์ห้า 3.มัจจุมาร (Death) มารคือความตาย 4.อภิสังขารมาร (Kamma-Formations) มารคือวิบากกรรม 5.เทวปุตตมาร (Deity)มารคือเทวดา

  • พระสูตรคู่แฝดที่มากับมงคลสูตร (เหตุแห่งความเจริญ ๓๘ ประการ) ที่คนส่วนมากไม่รู้จัก  หากเปรียบมงคลสูตรเหมือน สูตรบำรุงสุขภาพ ปราภวสูตร ก็เหมือนเป็นสูตรสำหรับตรวจสุขภาพชีวิต ว่าอยู่ในระดับไหน เพื่อชีวิตที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลก และทางธรรม พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ปฏิบัติเหตุแห่งความเจริญ พร้อมกับให้เลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมไปควบคู่กัน  ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ (28-August-2020)

  • พบกับเรื่องราวของ อัพยากตปัญหา  คือปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ (The Buddha’s unanswered questions) ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ได้ทรงให้ความสำคัญในการตอบปัญหาเหล่านั้น  ลองมาศึกษาในรายละเอียดของแต่ละปัญหากันดูนะ ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ ( 24-August-2020)

  • ในบรรดากรรมฐานทั้ง40 วิธีนั้น อานาปานสติกรรมฐาน ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงมากที่สุด แม้กระทั่งพระพุทธองค์เองก็ทรงตรัสยกย่องว่า "อานาปานสติกรรมฐานนี้เป็นยอดของกรรมฐาน และเป็นเหตุให้บรรลุถึงคุณวิเศษและธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวกทั้งปวง" นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายควรหาเวลาศึกษา อานาปานสติกรรมฐาน ด้วยตนเองจากพระไตรปิฎก เพื่อจะได้เกิดความมั่นใจและมีหลักการในการปฏิบัติที่ถูกต้อง การบรรยายนี้ได้ค้นคว้ามาจากหลายแหล่งข้อมูล และนำเสนอทั้งหลักการและวิธีปฏิบัติให้เข้าใจได้ง่าย  ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ (1-July-2020)

  • ศาสตร์แห่งการดับทุกข์....วิเคราะห์อริยสัจสี่ ข้อที่ ๓ (ทุกขนิโรธอริยสัจ) หรือ สภาวะของการดับไปของกิเลส จากพระไตรปิฎก เรียนรู้เรื่องราวของ การดับทุกข์ และ นิพพาน ธรรมะบรรยาย  โดย ฐานชโย ภิกขุ (13-May-2020)

  • ทำความรู้จักกับขันธ์ห้า ผ่านพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนพระภิกษุแบบเข้าใจได้ง่ายๆ ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ (29-April-20220)

  • วิเคราะห์อริยสัจ 4 ข้อที่สอง(ทุกขสมุทัยอริยสัจ) จากพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เรียนรู้เรื่องราวของตัณหาและวิธีรับมืออย่างถูกต้อง ธรรมะบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ  (04-May-2020)

  • การมีสุขภาพดีและมีอายุยืนเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ยากยิ่งที่จะได้มา ในพระไตรปิฎกได้มีการพูดถึงหลักการที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพดีและอายุยืนไว้หลายที่ น่าเสียดายที่คนส่วนมากไม่มีโอกาสได้ศึกษา พระอาจารย์ได้รวบรวมข้อมูลจากกว่า ๘ พระสูตร (ปฐมอนายุสสาสูตร ทุติยาอนายุสสาสูตร ภัททาลิสูตร  กีฏาคิริสูตร  อุโปสถสูตร  จูฬกัมมวิภังคสูตร โรคสูตร  มาคัณฑิยสูตร )  นำมาแบ่งปันเป็นความรู้เป็นธรรมทานให้ผู้มีบุญทั้งหลายได้รับฟัง ที่ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้ดังกล่าวช่วยให้เราสามารถออกแบบชีวิตในภายภาคเบื้องหน้า ให้มีอายุยืนยาวและแข็งแรงได้อีกด้วย    ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ (17-July-2020)

  • หากสังเกตุกันดีๆจะพบว่าชีวิตมนุษย์ส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนโดยนิสัย ทั้งด้านดีและไม่ดี การจะแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีให้หมดไปนั้นอาจจะทำได้ยาก แต่หากเราสามารถสร้างนิสัยหลักที่สำคัญ (keystone habits) ขึ้นมาไม่กี่อย่าง ได้สำเร็จ จะส่งผลให้นิสัยไม่ดีด้านอื่นถูกพัฒนาไปในทางที่ดีไปพร้อมๆกันได้ อันจะส่งผลให้ชีวิตของเราดีขึ้นในทุกพื้นที่ พบกับเรื่องราวของนิสัย6 อย่างที่จะช่วยพัฒนาชีวิตให้พุ่งสู่ความสุขและความสำเร็จในทุกด้านอย่างยั่งยืน ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ (30-Jun-2020)

  • พบกับข้อคิดที่พระพุทธองค์ ตรัสสอนพระเจ้าปเสนทิโกศล ในยามที่ต้องพลัดพรากจากพระมเหสี คือพระนางมัลลิกาผู้เป็นที่รักยิ่ง และหลักการนำธรรมะข้อนี้ไปใช้ เพื่อถอน "ลูกศร" แห่งความโศกที่ อาบบยาพิษ คอยทำร้ายเราให้ทุกข์ทรมานใจ อำนาจของความโศกไม่ใช่ของพอดีพอร้าย จนบางครั้งหลายท่านถึงกับทำร้ายตัวเอง ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติต่อไปได้    ธรรมะแก้ทุกข์ บรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ (13-July-2020)

  • ในพระสมยสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องกาลที่ไม่เหมาะสม และเหมาะสมในการปฏิบัติธรรม เป็นหลักพิจารณาให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายได้ตระหนัก และให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมให้มาก โดยเฉพาะในวัยที่อายุไม่มากและสุขภาพแข็งแรง อีกทั้งพระมหากัจจายนะ ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงเวลาที่สมควรในการเข้าหาอาจารย์เมื่อติดขัดในการเจริญภาวนา เพื่อแก้ไขอุปสรรคเหล่านั้น (นิวรณ์๕) อีกด้วย   ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ (28-July-2020)

  • บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่ เศร้าโศก พระพุทธองค์ย่อมชอบใจการฆ่าธรรม อะไร   มาทำความรู้จักสาเหตุของความโกรธ ตลอดถึงวิธีการจัดการกับความโกรธ ตามพุทธวิธีเพื่อชีวีที่มีความสุขกันนะ  ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ (24-July-2020)