Avsnitt

  • Ep.นี้คุยกับ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาลงกรณ์ เรื่องแนวคิด Active aging เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตระยะยาวของผู้สูงอายุ ซึ่งมี 3 ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุข ได้แก่ การมีสุขภาพที่ดี มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีความมั่นคงในชีวิต คุณหมอยังอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมองและจิตใจ ซึ่งต้องดูแลควบคู่กันไปเพื่อชะลอความเสื่อมถอยของสมองในระยะยาว ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • Ep. นี้คุยกับ อ.ดวงสมร พันธุเสน อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย อดีตพยาบาลวิชาชีพที่ทุ่มเทกับการทำงานด้านจิตอาสาให้กับสภากาชาดไทยมายาวนาน ทั้งงานส่งเสริมความรู้สุขอนามัยไปสู่ชุมชนและกลุ่มเปราะบาง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ งานรณรงค์รับบริจาคโลหิตและอวัยวะเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ความสุขจากการเป็นผู้ให้ทำให้มีพลังกายและใจในการทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งต่องานด้านจิตอาสาไปสู่คนรุ่นต่อไปด้วย ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • ep.นี้คุยเรื่องหนังกันอย่างเข้มข้น เมื่อตั้งโจทย์ให้ทั้งแขกรับเชิญและผู้ดำเนินรายการเลือกหนังที่มีผลต่อใจของแต่ละคนขึ้นมาคุย รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาลงกรณ์ เลือกหนัง “มนต์รักนักพากย์” คุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เลือกเรื่อง “Forrest Gump” ส่วนคุณกนกวรรณ กนกวนาวงศ์ ผู้ดำเนินรายการเลือกเรื่อง Little Forest มาฟังเหตุผลของการเลือก และภาพยนตร์ที่ถูกเลือกมีผลต่อใจของแต่ละคนอย่างไร รวมทั้งรู้จักกระบวนการทำจิตบำบัดด้วยภาพยนตร์ ไปรับฟังรายละเอียดกันได้เลยค่ะ

  • การจัดการศพของผู้เสียชีวิตโดยมากมักจะใช้วิธีการฝังหรือเผา และมีพิธีกรรม ความเชื่อและศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ปัจจุบันเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางอากาศ การขาดแคลนพลังงานและการขาดแคลนที่ดิน ทำให้เกิดแนวคิดเรื่องการจัดการศพโดยวิธีย่อยสลายทางธรรมชาติ ให้กลายเป็นดินหรือเป็นปุ๋ยแล้วนำกลับคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งต้นทุนต่ำกว่าการจัดการพิธีศพทั่วไป และมีให้บริการแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่กำลังขยายผลไปเรื่อยๆ ไปฟังแนวความคิดนี้จากคุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ซึ่งสนับสนุนและคิดต่อยอดเพื่อมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองไทยด้วย ติดตามรายละเอียดได้เลยค่ะ

  • ep.นี้คุยกับ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาฯ คุณหมออธิบายลักษณะของคนที่มีบุคลิกภาพแบบ narcisistic หรือ หลงตัวเอง ซึ่งมักสร้างปัญหาให้คนรอบข้าง เพราะวางตัวอยู่เหนือและกดข่มผู้อื่น ขี้โม้ โอ้อวด และต้องการสิทธิพิเศษเสมอ แต่ลึกๆ แล้วคนกลุ่มนี้กลับเปราะบางและแตกสลายได้ง่าย หากไม่ได้รับการตอบสนองตามความต้องการ นอกจากนี้การถ่ายรูปเซลฟี่ อวดใน social media ก็มีผลต่อบุคลิกแบบหลงตัวเองได้เช่นกัน ไปติดตามรับฟังรายละเอียดกันเลยค่ะ

  • ศาสตร์ชี่กง อยู่ในตำราแพทย์แผนจีนมาหลายพันปี ep.นี้ อ.วิรัช หวังเจริญวงศ์ ครูสอนชี่กง จะมาอธิบายความหมายและความสำคัญของการฝึกซี่กง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายโดยเฉพาะกับผู้สูงวัย ตัวเขาเองหลังจากได้ฝึกชี่กงมาต่อเนื่อง 20 ปี ก็พบว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น เจ็บป่วยน้อยลงสวนทางกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การฝึกหายใจตามหลักชี่กง ยังเป็นการฝึกสมาธิและสติ ช่วยผ่อนคลายความเครียดและเสริมพลังชีวิต ถ้าอยากรู้จักชี่กงให้มากขึ้น ไปติดตามฟังรายละเอียดกันได้เลยค่ะ

  • ep.นี้ คุยกับ content creator รุ่นใหญ่ “ลุงอ้วน” อนุสร ตันเจริญ เจ้าของเพจ IG.ช่องยูทูบ และ TikTok “ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นักรีวิวอาหารที่มีผู้ติดตามมากกว่า 9 แสนคน จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 20 ปีก่อนที่รีวิวอาหารลงเว็บบอร์ดพันทิพ ด้วยโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่าเพียงเครื่องเดียว แต่อาศัยความชอบกิน ชอบเที่ยว และชอบเล่า สร้างคอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง จนถึงยุคทองของโซเชียลมีเดีย ชื่อของลุงอ้วนก็อยู่ในแถวหน้าของอินฟูเอนเซอร์ ที่ความดังสูสีกับรุ่นลูกหลาน เพราะบางคลิปของลุงอ้วนมียอดวิวทะลุล้านเลยทีเดียว เคล็ดลับความสำเร็จของนักกินรุ่นใหญ่คืออะไร ไปรับฟังกันเลยค่ะ

  • มีภาพยนตร์ หรือ ซีรี่ย์หลายๆ เรื่อง ที่ถ่ายทอดตัวละครฝ่ายร้ายที่เป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง เช่น เป็นอันธพาล คนมีอิทธิพล ที่ตัวละครฝ่ายธรรมะต้องหาวิธีรับมือหรือกำจัด ในโลกความจริงก็มีคนลักษณะแบบนี้อยู่ในสังคมด้วย ซึ่งรศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงศ์ ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ อธิบายว่าคนที่มีลักษณะนี้ว่า ตรงตามหลักจิตเวชกลุ่ม Antisocial Personality Disorder ที่มีลักษณะขาดความเห็นใจผู้อื่น, ขาดความสำนึกผิด, ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว, ขาดความยับยั้งชั่งใจ และคิดถึงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว คุณหมอยังให้ข้อสังเกตด้วยว่านิสัยไม่ดีระดับไหนจึงจัดว่าป่วย ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  •       วันที่ 21 กย.ของทุกปี เป็นวันอัลไซเมอร์โลก Ep.นี้นำภาพยนตร์เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์มาคุยกับรศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทยผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาลงกรณ์ และคุณมดเอกซ์ สัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องคการมหาชน)

    ภาพยนตร์ Away from Her เป็นเรื่องราวของคู่ชีวิตสูงวัยที่หวานชื่นแต่กลับต้องพบจุดเปลี่ยน เมื่อฟิโอน่าภรรยาป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์และตัดสินไปอยู่สถานดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นเรื่องเจ็บปวดของสามีอย่างแกรนท์ และยิ่งเจ็บปวดขึ้นไปอีกเมื่อฟิโอน่าหลงลืมเขาไปอย่างสิ้นเชิง และไปเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่กับผู้ป่วยอีกรายที่อยู่ในสถานดูแลเดียวกัน รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • ep.นี้คุยกับคุณทิพย์ธิดา ศรัทธาทิพย์ เจ้าของนามปากกา ปราณประมูล นักประพันธ์และนักเขียนบทละครที่อยู่ในวงการมายาวนาน มีผลงานเขียนบทละครมาหลายรูปแบบ มาถึงผลงานเรื่องล่าสุดเรื่อง บุษบาลุยไฟ ละครย้อนยุคถ่ายทอดเรื่องราวของผู้หญิงในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ปรารถนาการใช้ชีวิตตามต้องการ ซึ่งขัดต่อขนบประเพณีในสมัยนั้น ที่กำหนดให้ผู้หญิงต้องออกเรือนตามที่ผู้ใหญ่จัดให้ นอกจากนี้ยังมีข้อคิดจากการค้นคว้าศึกษาชีวิตผู้คนในประวัติศาสตร์และนำมาถ่ายทอดเป็นละคร เธอพบว่าแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่บางสิ่งในตัวมนุษย์กลับไม่ได้เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นคืออะไร ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • Ep.นี้ สนทนาธรรมกับพระอาจารย์ ครรชิต อกิญจโน เจ้าอาวาสวัดวีรวงศาราม จ.ชัยภูมิ จากจุดเริ่มต้นการออกบวชเพราะสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ท่านฝึกฝน เรียนรู้ จนเป็นพระวิปัสนาที่ทำโครงการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ใช้หลักการฝึกสติและเท่าทันความคิด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายความเจ็บปวด หวาดกลัวและทุรนทุราย พร้อมกับเยียวยาจิตใจของญาติที่ต้องเผชิญความสูญเสีย ท่านได้ให้ข้อคิดในการฝึกมุมมองเชิงบวก เพื่อรับมือความเจ็บป่วย วิกฤตชีวิต และเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ในอนาคต ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • ภาพยนตร์ญี่ปุ่น PLAN 75 จำลองสถานการณ์สังคมผู้สูงวัยแบบสุดยอดของญี่ปุ่น ที่คนวัยหนุ่มสาวเรียกร้องให้มีการกำจัดผู้สูงวัยที่เป็นภาระ จนเกิดเป็นโครงการรัฐที่ให้โอกาสผู้สูงวัยที่อายุเกิน 75 ปีขึ้นไป เลือกตัดสินใจจบชีวิตตนเองได้ โดยรัฐจะมอบสวัสดิการสุดท้ายให้เพื่อจูงใจ ep.นี้ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาลงกรณ์ และคุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มาคุยกันในประเด็นที่น่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้ ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • ep.นี้ คุณดลชัย บุญยะรัตเวช นักกลยุทธ์การตลาดชื่อดัง มาบอกเล่าถึงเคล็ดลับการทำงานที่ทำให้คนรอบข้างมาความสุขและสนุกกับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เบื้องหลังความคิดสร้างสรรค์และพลังชีวิตที่เปี่ยมล้น มาจากการมีมุมมองเชิงบวกและฝึกฝนขัดเกลาจิตใจด้วยธรรมะ จนสร้างผลงานที่หลากหลาย และอยู่ในความทรงจำของผู้คนมาอย่างยาวนาน อีกด้านหนึ่งเขาคือทายาทของตระกูลผู้ผลิตยาหอมมายาวนานถึง 5 แผ่นดิน เขาจึงหาวิธีสืบสานและต่อยอดผลิตภัณฑ์ประจำตระกูลให้เข้ากับยุคดิจิตอล วิธีการดังกล่าวคืออะไร ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ 

  • ep.นี้ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ หรือ ป้าศรี ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาชมรมผู้สูงอายุสมองใสใจสบาย และชีวมิตรวิสาหกิจเพื่อสังคม มาเล่าเรื่องการเดินทางไปเยือนประเทศภูฏาน ดินแดนที่อยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ในวัย 80 ปีเศษ เพื่อดูความคืบหน้าการสร้างศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย น่าสนใจที่ประเทศภูฏานซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องธรรมชาติที่สวยงามและผู้คนมีความสุขมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ให้ความสำคัญกับการดูแลชีวิตระยะท้าย และมีเรื่องเล่าสนุกๆ และน่ารัก ระหว่างการเดินทางบนดินแดนเทือกเขาสูงเสียดฟ้าของคุณป้าอีกมากมาย ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • ภาพยนตร์เรื่อง A Man Called Otto นำแสดงโดย ทอม แฮงค์ ถ่ายทอดเรื่องราวของชายสูงวัยที่เผชิญความสูญเสียมาทั้งชีวิต เขาใช้ชีวิตลำพังหลังจากภรรยาเสียชีวิต สูญเสียลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากอุบัติเหตุ ถูกออกจากงาน แตกหักกับเพื่อนสนิท ความสูญเสียซ้ำแล้วซ้ำเล่าทำให้เขารู้สึกแปลกแยกจากสังคม หงุดหงิด ฉุนเฉียวตลอดเวลา และตัดสินใจจะจบชีวิตตัวเอง แต่แล้วก็มีเพื่อนบ้านใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตที่เหลือของเขาอย่างไม่ตั้งใจ ทำให้เขาเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ในโลกความจริงสังคมผู้สูงอายุของไทย ก็มีผู้สูงวัยที่ต้องเผชิญความสูญเสียและโดดเดี่ยว แต่จะเหมือนหรือแตกต่างจากภาพยนตร์อย่างไร ไปรับฟังมุมมองของ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้สูงอายุ และคุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ไปติดตามได้ใน ep.นี้กันเลยค่ะ

  • Ep.นี้คุยกับคุณดำรง พุฒตาล พิธีกรรายการโทรทัศน์และผู้ก่อตั้งนิตยสาร “คู่สร้าง คู่สม” ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตคู่ที่มีครบทุกรสชาติ ซึ่งเป็นนิตยสารที่มียอดขายสูงสุดของไทยและมีอายุยาวนานร่วม 40 ปี ก่อนจะปิดตัวลง ที่มาความสำเร็จของเขา ในบทบาทสื่อสารมวลชนที่อยู่ในความทรงจำของคนหลายรุ่น คือนิสัยรักการอ่าน ช่างพูดคุย มีอารมณ์ขัน ให้เกียรติคู่สนทนา และมุ่งมั่นที่จะทำตามความฝันให้สำเร็จ ปัจจุบันเขาอายุเข้าใกล้วัย 80 ปี แต่ยังคงจัดรายการวิทยุเพื่อบอกเล่าตำนานของคู่สร้าง-คู่สม กับแฟนคลับที่ติดตามอย่างเหนียวแน่น ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • ความหวาดระแวง ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์และการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ep.นี้ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ ให้คำอธิบายว่าพฤติกรรมแบบไหน ที่จัดเป็นความหวาดระแวงระดับอุปนิสัย บุคลิกภาพ หรืออาการป่วยด้านจิตเวช ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาบำบัดและดูแลจากจิตแพทย์ เพราะมีโรคด้านจิตเวชหลายชนิดที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมหวาดระแวงได้ และสำหรับคนที่มีบุคลิกหรือนิสัยหวาดระแวง หากถึงขั้นไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้ ก็สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ได้เช่นกัน ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • ปัจจุบันมีคู่ชีวิตที่เป็นผู้สูงวัยใช้ชีวิตด้วยกันโดยปราศจากทายาทดูแลมากขึ้น ความท้าทายของการดูแลกันและกันก็คือ ต่างฝ่ายต่างมีความเสื่อมถอยของร่างกายไปเรื่อยๆ ยิ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีโรคสมองเสื่อมร่วมด้วย การใช้ชีวิตร่วมกันก็จะยิ่งมีความยุ่งยากมากขึ้น ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง IRIS จากประเทศอังกฤษ ถ่ายทอดเรื่องราวนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ep.นี้ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาฯ และคุณสัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มีประเด็นที่น่าสนใจของภาพยนตร์เรื่องนี้มาคุยกัน ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ

  • อาการของโรคซึมเศร้า ไม่ได้มีแค่ภาวะจิตใจเศร้าหมอง อารมณ์หดหู่ และรู้สึกดำดิ่งเท่านั้น แต่ยังมีอาการทางร่างกายร่วมด้วยมากมาย ep.นี้ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ จะมาอธิบายว่าถึงสาเหตุของอาการทางกายเหล่านั้น เช่น นอนไม่หลับ ท้องผูก และที่สำคัญคือไร้เรี่ยวแรง เหนื่อยล้าตลอดเวลา จนไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนใกล้ตัวควรทำความเข้าใจ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ไปติดตามรับฟังรายละเอียดกันเลยค่ะ

  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางรายมีความต้องการกลับบ้านเพื่อใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิต ไม่ต้องการรักษาตัวยาวนานในโรงพยาบาล ความปรารถนาดังกล่าวได้รับการตอบสนองโดยองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ชื่อ “เยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม” ep. นี้คุยกับ ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง คุณหมออธิบายถึงความสำคัญของการมีทางเลือกให้ผู้ป่วยและครอบครัว ในการกลับไปรักษาตัวที่บ้าน วิธีสลายความขัดแย้งและขจัดความกลัวของผู้ดูแล รวมทั้งความสำคัญของการเคารพความต้องการสุดท้ายของผู้ป่วย ไปติดตามรับฟังรายละเอียดกันเลยค่ะ