Avsnitt

  • ขณะที่เด็กไทยกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่สำหรับเด็กตะวันตกนั้น เมื่ออายุ 18 ปี เป็นช่วงเวลาแห่งอิสรภาพที่จะได้ออกจากบ้านไปค้นหาตัวตน ไม่ว่าจะทดลองทำงาน ไปเที่ยวรอบโลก ไปหาอพาร์ทเม้นท์อาศัยอยู่เอง ฯลฯ เพื่อลิ้มรสชาติของสิ่งที่หาจากในห้องเรียนไม่ได้ นั่นก็คือ “ประสบการณ์” วิธี Gap Year (ช่วงเวลาพักหลังเรียนเพื่อค้นหาตัวตน) จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มชาวตะวันตก และมันยังส่งผลระยะยาวไปถึงตอนแก่ตัวลงอีกด้วย เมื่อพวกเขารักที่จะอยู่ด้วยตัวเองเหมือนที่เคยอยู่ มากว่ากลับไปหลูกหลาน ทำให้มีบ้านพักคนชราอยู่แทบทุกที่เป็นเรื่องปกติเลยล่ะ

    แล้วคนไทยจะทำแบบนั้นได้ไหมนะ?

  • สำหรับชาวตะวันตก การใส่เหล็กดัดฟันคือคาแร็กเตอร์ของ loser ที่มักพบในซีรี่ย์-ภาพยนตร์ต่างๆ แต่ที่ประเทศไทย เหล็กดัดฟัน = แฟชั่น เด็กๆ หลายคนถึงขนาดไปจัดฟันกับหมอเถื่อนเพื่อให้ตัวเองได้ใส่เหล็กดัดฟันเหมือนเพื่อนๆ และขณะที่สาวเอเชียขัดตัวเพื่อผิวขาวผ่องเป็นยองใย สาวๆ ในอีกมุมหนึ่งของโลกก็พยายามอาบแดดด้วยโลชั่นผิวแทน

    ถึงจะมีความงามที่แตกต่างกัน แต่พวกเธอต่างพยายามอย่างหนักเพื่อไปให้ถึง “มาตรฐาน” ที่สังคมนั้นกำหนด Beauty standard จึงมีอยู่ทุกที่ไม่ว่าจะไปไหน และมันทำลายสุขภาพกาย-สุขภาพจิตโดยไม่รู้ตัว

    นั่งพูดคุยเรื่อง ความงามเป็นพิษ กับพ็อดแคส Jing Lor (จริงหรอ) โดย 2 สาว จาก 2 ประเทศ เม้าท์มอยแบบหมดเปลือก

    ฟังได้แล้วตามช่องทาง

    Apple Podcast:
    https://apple.co/2U8Iksl
    Youtube:
    https://bit.ly/3ibkUua
    Soundcloud:
    https://bit.ly/3ijWuP0
    Spotify:
    https://spoti.fi/2TdZJz8

    #podcast #jinglorpodcast #bebonded #Beautystandard

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • เคยมีคนสอนเราไหม ว่าขนในที่ลับต้องตัดรึเปล่า? แล้วเด็กๆ ที่เยอรมันเรียนเรื่องเพศตั้งแต่ 5 ขวบเลยหรอ? พูดคุยเรื่องเพศมากมายหลายประเด็น ที่หลายคนไม่เคยเรียนในห้องเรียน กับพ็อดแคส Jing Lor EP 2 ที่จับ 2 สาว จาก 2 ประเทศมานั่งเม้าท์มอยแบบหมดเปลือก