Avsnitt

  • การกินเผ็ดหรือมีอาหารรสจัดจ้านให้เลือกลิ้มลองอย่างหลากหลาย ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เท่าไหร่สำหรับประเทศแถบเอเชีย เพราะแทบทุกเมนูอาหารเอเชียมักถูกแต่งเติมด้วยรสชาติของความเผ็ดซี๊ดแสบทรวง 
    .
    แต่หากมองไปยังอเมริกานั้น วัฒนธรรมการกินเผ็ดหรือการกินอาหารรสแซ่บนับเป็นเรื่องที่ค่อนนข้างไกลตัวชาวอเมริกา จนเมื่อช่วงสิบปีให้หลังมานี้ที่วัฒนธรรมการกินเผ็ดของชาวอเมริกันได้รับความนิยม และเกิดเป็นเทรนด์กินซอสเผ็ดคู่กับอาหารหลายๆ เมนู มากไปกว่านั้นความนิยมการกินซอสเผ็ดยังได้ทำให้อเมริกาเกิดเทศกาลที่เรียกว่า National Hot Sauce Day ขึ้น
    .
    ทำไมอยู่ๆ วัฒนธรรมการกินเผ็ดแบบเอเชียจึงแพร่กระจายกลายเป็นเทรนด์ของคนอเมริกันได้ การเฉลิมฉลองวันซอสเผ็ดแห่งชาติเป็นยังไง ขอชวนลัดฟ้าไปยังอเมริกาเพื่อดูว่าชาวอเมริกันเขากินซอสเผ็ดกับอาหารชนิดไหน และเผ็ดที่ว่าจะเหมือนหรือต่างกับชาวเอเชียแบบเราๆ หรือไม่ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ รอให้คำตอบอยู่ใน Podcast Bon Appétit EP.90 แล้วตอนนี้

  • นาราไทย คูซีน, อั้งม้อ, บ้านนอกเข้ากรุง, โคลิมิเต็ด, โคโกราวน์, อิงคะ และมาดามแม่ เชื่อว่าเมื่อไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือเปิดแอปเดลิเวอรี่สั่งอาหาร หลายคนต้องเคยได้เห็นชื่อร้านเหล่านี้ผ่านตา หรือกระทั่งเคยแวะเวียนเข้าไปลิ้มรส 
    .
    รายชื่อร้านอาหารทั้งหมดที่ว่ามาคือร้านอาหารในเครือ Nara Group บริษัทเครือร้านอาหารไทยที่ก่อตั้งโดย ยูกิ-นราวดี ศรีกาญจนา และ สิริโสภา จุลเสวก ที่เริ่มต้นมาจากการเป็นร้านอาหารไทยที่มีสาขาเพียงหลักหน่วย แต่ปัจจุบันนี้เครือร้านอาหารแห่งนี้ได้ขยายสาขาไปทั่วประเทศไทยและในต่างประเทศ 
     .
    ในโอกาสที่เครือนารากรุ๊ปครบรอบ 20 ปีในการทำธุรกิจอาหารและพาวัฒนธรรมการกินแบบไทยและอาหารไทยเติบโตไกลถึงต่างแดน รายการ Podcast Bon Appétit ตอนนี้จึงได้ชวน ‘พิมพ์พยัพ ศรีกาญจนา’ ผู้เป็น Corporate Strategist และเป็นหนึ่งในทายาทเครือ Nara Group มาพูดคุยถึงเบื้องหลังการทำธุรกิจร้านอาหารไทย วิธีคิดในการทำแบรนด์อาหารแต่ละแบรนด์ในไปอยู่ในใจผู้คน ไปจนถึงอนาคตต่อไปของแบรนด์

  • Saknas det avsnitt?

    Klicka här för att uppdatera flödet manuellt.

  • ขนาด Apple ที่พยายามพัฒนา EV มานานกว่า 10 ปี ยังพับเก็บโปรเจกต์ไป และย้ายคนในโปรเจกต์ EV ไปพัฒนา AI ได้ นั่นคือ Apple กำลังมองเห็นโอกาสของตลาด AI รึเปล่า และถ้า ‘มาร์ก  ซักเกอร์เบิร์ก’ เจ้าพ่อแพลตฟอร์มออนไลน์เครือเมต้าจะไปทำฟาร์มวัวบ้างล่ะ ทำไมถึงจะทำไม่ไม่ได้ มาร์กอาจจะกำลังเห็นโอกาสของธุรกิจฟาร์มวัวอยู่ก็ได้ 
    .
    แม้ปัจจุบันธุรกิจปศุสัตว์จะสร้างผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม แต่ก็น่าสนใจว่าทำไมเขาถึงหลงใหลและเข้ามาอยู่ในธุรกิจปศุสัตว์ จนบอกว่าหากเกษียณจากเมต้าแล้วเขาจะหันไปเปิดร้าน Mark's Meats อย่างจริงจัง มณีเนตร วรชนะนันท์ เตรียมไขคำตอบทั้งหมดที่รายการ Podcast Bon Appétit EP.88 แล้วตอนนี้

  • เคยสงสัยไหมว่าทำไมบางครั้งเราถึงซื้ออาหารบางอย่าง ซื้อของบางชิ้นโดยไม่ได้ไตร่ตรองสรรพคุณรวมๆ และไม่คิดถึงเหตุผลมากนัก แม้จะรู้ว่าอาหารบางอย่างไม่ดีต่อสุขภาพ หรือมีราคาแพงเกินจริงก็ยังคงเลือกที่จะซื้อ อะไรคือสิ่งที่ทำให้เราเผลอควักกระเป๋าจ่ายเงินโดยไม่ทันตั้งตัว? 
    .
    คำตอบก็คือ ‘อารมณ์’ ของเรานั่นเอง และด้วยอารมณ์เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งชิ้น กระทั่งอาหารหนึ่งจานได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องคำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผล บ่อยครั้งเหล่าแบรนด์ต่างๆ จึงมักหยิบเรื่องของอารมณ์มาเป็นกลยุทธ์ในการทำการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายและดึงดูดลูกค้า
    .
    เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับ Emotional Marketing มากขึ้น Podcast Bon Appétit  EP.87 ตอนนี้ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ จึงอยากชวนทุกคนไปมาเจาะลึกกลยุทธ์การตลาดที่ว่าด้วยเรื่องของอารมณ์ผ่านแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Red Bull หรือจะ McDonald's พวกเขามีวิธีทำการตลาดผ่านเรื่องอารมณ์จนทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ยังไง และอะไรคือเหตุผลสำคัญที่เหล่าแบรนด์ควรทำ Emotional Marketing ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย 

  • สาวกขนมหวานที่เลิฟการกินของหวานเป็นชีวิตจิตใจคงน่าจะคุ้นกันดีกับชื่อของ Gram Pancakes และ PABLO Cheesetart บางคนเองก็คงเคยมีโอกาสไปต่อคิวยาวเหยียดเพื่อรอซื้อ เพราะในช่วงเวลาหนึ่งแพนเค้กและชีสชาร์ตจาก Gram Pancakes และ PABLO Cheesetart นั้นเรียกว่าได้รับความนิยมอย่างมากในไทย แต่หลังจากเดินทางทำตลาดมายาวนาน วันนี้แบรนด์ขนมหวานสองแบรนด์นี้กลับต้องปิดตัวลงหลังขาดทุนต่อเนื่องนาน 8 ปี
    การปิดกิจการของร้านขนมหวานทั้งสองนี้มีสาเหตุมาจากอะไร เพราะหากมองย้อนไปในช่วงแรกที่แบรนด์เปิดตัว ทั้งสองร้านขนมหวานนี้ถือว่าประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับจากคนไทยอย่างมาก Podcast Bon Appétit ตอนนี้ มณีเนตร วรชนะนันท์ จะพาไปไขคำตอบว่าทำไมร้านแพนเค้กและชีสทาร์ตเจ้าดังถึงไม่ปังในตลาดไทย ตามไปฟังกันเลย 

  • ตลอดเกือบสิบปีที่ผ่านมา กระแสอาหารหนึ่งที่เรียกว่า Plant-Based ถือเป็นกระแสที่นิยมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทรนด์การกินที่เปลี่ยนไป การกินมังสวิรัติและวีแกนขยายความนิยมเพิ่มมากขึ้น จนอุตสาหกรรมอาหารเองก็ต่างผลิตเนื้อสัตว์จากพื้นให้หลากหลายแบบ หลากหลายรสชาติออกมา เพื่อเป็นตัวเลือกทางด้านการกิน แต่ตอนนี้กลับดูเหมือนว่า Plant-Based กำลังจะตายและเสื่อมความนิยมลงไป
    .
    อะไรคือเหตุผลที่ทำให้รูปแบบการรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก หรือเทรนด์ Plant Base กำลังเปลี่ยนไป มณีเนตร วรชนะนันท์ รอไขคำตอบเรื่อง Plant-Based ที่ Podcast Bon Appétit EP.85 แล้ว ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย

  • หากเป็นในต่างประเทศ หรืออย่างฝรั่งเศส การนั่งชิลๆ ระหว่างวันเพื่อจิบไวน์คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะไวน์สำหรับประเทศแถบยุโรปเป็นเหมือนเครื่องดื่มที่สร้างสุนทรียระหว่างมื้ออาหาร แต่ถ้ามองมาที่ไทยบ้านเรา ไวน์เพิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อไม่นานนี่เอง 
    .
    ด้วยแพสชั่นและความหลงใหลในไวน์ จนอยากส่งต่อความพิเศษของเครื่องดื่มชนิดนี้ให้คนไทยได้ลิ้มรส ‘เบน–เบญจวรรณ วิสูตรสัตย์’ จึงได้ก่อตั้ง MUST Wine Bar ร้านอาหารสไตล์บิสโทรขึ้น ณ ทองหล่อ 13 ในคอนเซปต์ ‘Wine Dining’ ที่เมื่อสั่งอาหารแล้วจะถูกเสิร์ฟพร้อมไวน์ที่เธอเลือกมาแล้วว่าเข้ากับเมนูนั้นๆ เพราะอยากเปิดโลกไวน์ใหม่ๆ ให้คนไทยได้สัมผัส
    .
    MUST Wine Bar จะพิเศษและสามารถสร้างประสบการณ์การดื่มไวน์ใหม่ๆ ได้ยังไง วิธีเลือกไวน์เข้ามาให้คนไทยได้ลองมีรายละเอียดยังไง เบนได้รอส่งต่อประสบการณ์การดื่มไวน์ และพาคุณท่องเข้าไปในอาณาจักรแห่งการดื่มของ  MUST Wine Bar  แล้วที่รายการ Podcast Bon Appétit EP.84 ตอนนี้

  • ช่วงนี้ไปที่ไหนก็เป็นต้องเจอกับร้านไอศกรีม-เครื่องดื่มสีแดงรายล้อมอยู่รอบตัว ร้านที่ว่าก็คือ ‘Mixue’ แบรนด์สัญชาติจีนที่เข้ามาทำการตลาดในไทยได้ไม่นานก็สามารถขยายสาขาได้หลายร้อยสาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล
    .
    นอกจากเจ้ามาสคอตตุ๊กตาหิมะแสนน่ารักที่เชื้อเชิญให้เราอยากเข้าไปลิ้มลองรสชาติไอศครีมแดนมังกร ราคาของสินค้าจาก Mixue เองก็ราคาเป็นมิตรและถูกกว่าสินค้าประเภทเดียวกัน หรือนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่แบรนด์ไอศครีมและเครื่องดื่มแบรนด์นี้สามารถผลิดอกออกผลธุรกิจได้อย่างรวดเร็วในตลาดไทย 
    .
    Mixue ทำการตลาดในไทยด้วยกลยุทธ์ใด อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังการเติบโตของแบรนด์ไอศครีมแบรนด์นี้ มณีเนตร วรชนะนันท์ รอไขคำตอบทั้งหมดให้แล้วใน Podcast Bon Appétit EP.83 ตามไปฟังพร้อมกันได้เลย

  • ถ้าย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน การจะเป็นครีเอเตอร์หรือนักรีวิวอาหารออนไลน์นั้นไม่ง่ายเลย ด้วยสื่อกระแสหลักยุคนั้นล้วนเป็นสื่อโทรทัศน์ มากไปกว่านั้นเรื่องของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเองก็ยังเป็นเรื่องใหม่ แถมความเร็วอินเทอร์เน็ตยังไม่รวดเร็วเทียบเท่า 5G ยุคปัจจุบัน แต่สำหรับ ‘ลุงอ้วน’ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นั้น ไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคมากพอให้เขาไม่อยากรีวิวอาหารร้านอร่อยที่ได้มีโอกาสไปลิ้มลองเลยสักนิด
    .
    ใครที่อยู่มาตั้งแต่การรีวิวในเว็บไซต์ pantip.com เป็นพื้นที่ที่เราจะไปตามหาที่เที่ยวเด็ด ของกินร้านอร่อย ก็คงจะคุ้นเคยดีกับ ‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ จนมาถึงยุคนี้ที่แม้เทคโนโลยีและโซเชียลจะพัฒนาเปลี่ยนไปไกล ถึงอย่างนั้นเราก็ยังได้เห็นลุงอ้วนรีวิวของอร่อยในทุกๆ แพลตฟอร์มเรื่อยมา 
    .
    อะไรทำให้ชายคนนี้แพสชั่นในการกิน การเป็นนักรีวิวยุคก่อนกับยุคปัจจุบันแตกต่างกันยังไง ประสบการณ์การกินที่สั่งสมมายาวนาน ตั้งแต่สมัยหูฉลามเยาวราชชามละ 35 บาทจะมีเรื่องราวใดซ่อนอยู่ พ็อดแคสต์ Bon Appétit ตอนนี้ของชวนไปพูดคุยกับ ‘ลุงอ้วนกินกะเที่ยว’ ถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ลุงอ้วนรักการกินจนกลายมาเป็นนักรีวิวระดับตำนาน ไปจนถึงเบื้องหลังการทำงาน ความคิด และความเชื่อที่ลุงอ้วนคนนี้มีต่อวงการรีวิวอาหาร 

  • ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นปีทองของธุรกิจหม่าล่าและชาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะไปทางไหน เปิดโซเชียลใด เป็นต้องเจอกับการรีวิวร้านหมาล่าเปิดใหม่ กระทั่งชาไทยรสเข้มผ่านมาให้เห็น ซึ่งนอกเหนือจากที่ว่ามา LINE MAN Wongnai ยังได้เผยข้อมูลให้ได้เห็นอีกด้วยว่าร้านอาหารประเภทที่นั่งมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง   
    .
    ด้วยเทรนด์และความนิยมเปลี่ยนอยู่เสมอ จึงน่าสนใจว่านอกจากกระแสของปี 2023 ปี 2024 ของเราจะมีอะไรผุดขึ้นมาฮิตได้บ้าง ปีนี้จะเป็นปีทองของธุรกิจอาหารประเภทไหน ซึ่งหลังจากเรา season break ไปในช่วงท้ายของปีเก่าจะเข้าสู่ปีใหม่ เราจึงขอต้อนรับคุณผู้ฟังด้วยการไปคุยถึงเทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปี 2024 ที่น่าจับตามองกัน เทรนด์ธุรกิจอาหารที่ว่าจะมีกระแสไปในทิศทางไหน เมนูอะไรผงาดขึ้นมา 
    .
    เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ โฮสต์รายการ Bon Appétit จึงได้สรุป 5 เทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปี 2024 ที่คนทำธุรกิจและหลงใหลอาหารต้องรู้มาให้ได้ฟังกันใน Bon Appétit EP. 81 หากพร้อมแล้วก็ตามไปฟังกันเลย

  • สัปดาห์ก่อน Bon Appétit ธุรกิจรอบครัวก็ได้รวบ Top 10 ร้านอาหารคาวมาให้แฟนๆ รายการและเหล่าคนรักอาหารการกินได้อิ่มหนำกันไปเรียบร้อย เมื่อคัลเจอร์การกินของบ้านเราคือกินคาวต้องกินหวาน บวกกับคำกล่าวโบราณเองก็ได้ว่าไว้ว่า ‘กินคาวไม่กินหวาน สันดานไพร่’ ก่อนบอกลาสัปดาห์สุดท้ายของปี และเจอกันใหม่ในปีหน้า Bon Appétit เลยรวบรวม Top 10 ร้านของหวานที่ Bon Appétit หลงรักที่สุดประจำปี 2023 มาให้เหล่าแฟนๆ รายการที่ติดตามกันมาได้ไปเติมความหวานวันหยุดยาว 

  • ในที่สุดเราก็เดินทางกันมาจนถึงช่วงสุดท้ายของปี ผ่านเรื่องราวและฝ่าฟันเหตุการณ์ต่างๆ มามากมาย โดยเฉพาะการพา Podcast Bon Appétit เดินทางมาถึงตอนที่ 80 
    .
    ในเดือนสุดท้ายของปี 2023 Bon Appétit ธุรกิจรอบครัว จึงได้มัดรวม Top 10 ร้านของคาวที่ Bon Appétit หลงรักมาไว้ในพ็อดคาสต์ตอนนี้ เพื่อส่งมอบร้านอาหรคาวทั้ง 10 ร้านให้เหล่าแฟนๆ รายการที่ติดตามและอยู่ด้วยกันมาจนถึงสิ้นปี
    .
    Top 10 ร้านอาหารคาวที่ Bon Appétit หลงรักที่สุดประจำปี 2023 จะมีร้านไหนบ้าง ตามไปฟังพร้อมกันที่ Bon Appétit Special EP.01 กันเลย

  • ถ้าจะพูดว่าการตลาดของเบอร์เกอร์คิง (Burger King) สร้างการรับรู้แก่ผู้คนหมู่มากได้อย่างดีคงไม่เกินจริง เพราะที่ผ่านมาเรามักจะได้เห็นแคมเปญการตลาดของเบอร์เกอร์คิงผ่านตามาให้ร้องว้าวกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญล่าสุดอย่าง The Real Cheese Burger ที่เปิดขายเบอร์เกอร์โคตรชีส จนเกิดไวรัลในโลกออนไลน์ หรือจะการทำการตลาดแบบ localize ด้วยการออกแคมเปญ ‘ไก่ทอดหาดใหญ่ ชิกเก้นคิง’ เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าคนไทยที่รักการกินไก่ทอดหาดใหญ่
    .
    ปัจจุบันไทยมีธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดหลายเจ้าเข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น จึงแปลว่าแต่ละเจ้าก็ต้องหากลยุทธ์มามัดใจลูกค้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการจะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ในทุกหย่อมหญ้า แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ยากเกินไปสำหรับ Burger King แล้วแบรนด์เบอร์เกอร์สัญญาชาติอเมริกันแบรนด์นี้มีเบื้องหลังในการคิดแคมเปญการตลาดยังไงให้เป็นไวรัลได้เสมอ Podcast Bon Appétit ตอนนี้จึงได้ชวน ตุลย์–ชนินทร์ นาคะรัตนาก Digital Marketing Manager บริษัท เบอร์เกอร์คิง (ประเทศไทย) จำกัด มาแชร์สูตรลับในการทำการตลาดให้ปังครองใจคนไทยมาได้ยาวนานกว่า 23 ปี

  • เวลาพูดถึงโกโก้ เราก็จะนึกถึงทวีปแอฟริกา ด้วยเป็นแหล่งผลิตและเป็นดินแดนอุตสาหกรรมโกโก้ที่ทั้งใหญ่ แพร่หลาย และเป็นที่รู้จักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีน้อยคนที่จะรู้ว่าประเทศไทยบ้านเราก็ปลูกโกโก้ได้เช่นเดียวกัน ถ้าเจาะลึกลงไปยังพื้นที่ปลูกโกโก้ของไทย จะเห็นว่าหลายๆ จังหวัดในไทยนั้นอุดมสมบูรณ์มากพอที่จะให้ต้นโกโก้หยั่งรากลึกได้ แถมโกโก้ของแต่ละพื้นที่ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างไม่เหมือนใคร
    .
    แม้จะไม่ได้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง แต่ก็มีหญิงสาวคนหนึ่งที่มองเห็นว่าช็อกโกแลตไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก เธอคนนั้นคือ ‘ต้า – ณัฐญา ชุณหสวัสดิกุล’ จากเดิมที่บังเอิญไปเจอที่ดินผืนหนึ่งในเชียงใหม่ และหวังให้ที่ดินผืนนั้นเป็นที่ปลูกบ้านและใช้ชีวิตหลังเกษียณ แต่ด้วยเวลาที่ยาวนานหลายปีกว่าจะเกษียณ แทนที่จะปล่อยที่ดินไว้ว่างเปล่า เธอจึงเกิดไอเดียวขึ้นมาว่าต้องปลูกอะไรสักอย่าง และสิ่งนั้นก็คือโกโก้
    .
    ความตั้งใจแรกคือแค่อยากปลูกอะไรสักอย่าง กลายมาเป็นความอยากรู้อยากเห็นที่เพิ่มมากขึ้น ต้าจึงค่อยๆ ลองเรียนรู้และทำความรู้จักกับโกโก้ที่ละขั้นตอน ตั้งแต่ลองเปลี่ยนโกโก้ให้เป็นช็อกโกแลตด้วยสองมือ ลองปลูกต้นโกโกขึ้นบนที่ดินที่เชียงใหม่ กระทั่งค้นคว้าหาโกโก้รสชาติดีๆ จากพื้นที่ต่างๆ ของไทย เพื่อที่จะได้ลงลึกและรู้จักกับเจ้าพืชสีน้ำตาลตระกูลนี้ และในที่สุดเธอก็นำส่วนประกอบทั้งหมดที่มีปรุงรสออกมาเป็น KAD KOKOA แบรนด์คราฟต์โกโก้สัญชาติไทยที่สร้างชื่อเสียงไปไกลในระดับนานาชาติ
    .
    เล่าผ่านตัวหนังสืออาจไม่สนุกเท่าการฟังต้าเล่าให้ฟังด้วยตัวเธอเอง Bon Appétit EP.79 ตอนนี้จึงอยากชวนทุกคนไปฟังเธอเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำ Kad Kokoa จนถึงความยากในการปลูกโกโก้ในไทย พร้อมสัมผัสรสาติในแต่ช่วงเวลาของทำแบรนด์ ตั้งแต่รสหวาน มัน ขม ไปจนถึงเปรี้ยว เพื่อให้ได้รู้ว่าจริงๆ แล้วโกโก้และช็อกโกแลตดีๆ ที่ประเทศไทยบ้านเราก็ทำได้ดีไม่แพ้ชาติอื่น ตามไปฟังกันเลย

  • เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีไม่น้อยเลยสำหรับวงการอาหาร เพราะปลายปีนี้ Gordon Ramsey (กอร์ดอน แรมซีย์) เซเลบริตี้เชฟชื่อดังจากอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าของอาณาจักรร้านอาหารที่ขยายสาขาไปทั่วโลก กำลังจะมาเปิดร้านอาหารแนวแคชชวลไดนิ่งและร้านพิซซ่าที่มาในคอนเซปต์ ‘pizza without rules’ ที่กรุงเทพฯ ณ Emsphere ศูนย์การค้าแห่งใหม่ของย่านพร้อมพงษ์ 
    .
    ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยู่ในวงการเชฟหรือไม่นั้น แต่ถ้าคุณหลงใหลในอาหารและชอบเรื่องราวหลังม่านครัว ชื่อของการ์ดอน แรมซีย์ต้องเคยผ่านหูผ่านตามาให้ได้เห็นได้ยินอยู่บ้าง หากไม่ใช่การเห็นกอร์ดอนจากคาแร็กเตอร์เชฟเถื่อนดิบโหดตามรายการอาหาร ก็คงเคยได้ยินชื่อเขาจากการเป็นเชฟผู้มีร้านอาหารมากมายหลายสาขาทั่วโลก
    .
    แม้ปัจจุบันกอร์ดอนจะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่กว่าที่เขาจะเดินทางมาไกลได้เพียงนี้ก็ไม่ใช่เส้นทางที่ง่าย แถมการเป็นเชฟหรือการเข้ามาอยู่ในวงการอาหารก็ไม่ใช่ความฝันของเขาตั้งแต่แรก ความฝันในวัยเด็กของแรมซีย์แตกต่างจากสายงานครัวอย่างสิ้นเชิง ในวัยเยาว์เขาเคยฝันอยากเป็นนักฟุตบอล ก่อนจะพบกับความผิดหวังและเบนมายังเส้นทางสายอาหาร แม้ว่าการเป็นเชฟจะไม่ใช่ความฝันแรก แต่เขาก็นับว่าเป็นเชฟอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในวงการอาหาร
    .
    จากที่เล่าข้างต้นเป็นบางส่วนของเส้นทางชีวิตของกอร์ดอนเท่านั้น พ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.78 ตอนนี้ อยากขอชวนไปฟังเรื่องราวชีวิตของเขา ตั้งแต่เรื่องชีวิตวัยเด็กที่ไม่ได้กรุยมาด้วยดอกไม้ ความพยายามในการทำตามความฝันที่อยากเป็นนักฟุตบอล ไปจนถึงผจญเข้าไปในโลกหลังครัวผ่านเรื่องราวของกอร์ดอน ไปเต็มอิ่มกับรสชาติชีวิตของเชฟชื่อดัง ‘การ์ดอน แรมซีย์’ กันเลย

  • เทรนด์อาหารสุขภาพเรียกได้ว่ามาแรงแซงทางโค้ง และมีหลากหลายแบรนด์ทั้งในไทยและต่างประเทศผุดขึ้นมาประชัดความเฮลตี้กันไม่หยุดหย่อย แม้ในตลาดอาหารสุขภาพจะมีผู้เล่นมากมายทั้งใหม่และเก่า แต่ถ้าหากพูดถึงร้านอาหารสุขภาพ มนุษย์สายเฮลตี้ก็ต้องนึกถึงชื่อของ ‘โจนส์ สลัด’ มาเป็นอันดับแรกๆ นอกจากจะเป็นร้านที่มีเมนูอาหารให้เลือกหลากหลาย ในด้านการทำการตลาดแบรนด์เองก็โดดเด่นและหลากกลยุทธ์ไม่น้อยไปกว่าใคร 
    .
    โจนส์ สลัด เกิดขึ้นมาจากการเป็นเพียงร้านเล็กๆ ที่จามจุรีสแควร์ โดยมี ‘กล้อง-อาริยะ คำภิโล’ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เขาได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตส่วนตัว หลังจากตรวจพบชิ้นเนื้อก็ได้เริ่มหันมารักสุขภาพและให้ความสำคัญกับเรื่องการกิน จนในที่สุดก็ค้นพบรสชาติน้ำสลัดที่อร่อยและเริ่มเปิดร้านด้วยเงินหนึ่งก้อนและต้นทุนความรู้ที่มี พร้อมพยายามทำการตลาดผ่านครีคอนเทนต์ เพื่อสื่อสารให้ผู้คนได้รู้ว่าการกินผักไม่ใช่เรื่องยาก และการสร้างสุขภาพที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ
    .
    จากร้านเล็กๆ ที่จามจุรีสแควร์กลายมาเป็นร้านโจนส์ สลัดขึ้นห้างเป็นมายังไง ใช่เพราะการทำการตลาดผ่านการครีเอตคอนเทนต์ที่ให้ความรู้ด้านสุขภาพหรือไม่ วิธีคิดและการบริหารธุรกิจแบบไหนที่ทำให้แบรนด์ยืนระยะมาได้ถึงขวบปีที่ 9 กลยุทธ์ใดที่โจนส์ สลัดใช้ในการทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักของสายสุขภาพและกลุ่มคนที่เริ่มอยากรักสุขภาพ ขอชวนไปฟังคำตอบของเขาพร้อมกันในพ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.77

  • ผัดกะเพราดูจะเป็นเมนูสามัญประจำมื้อของคนไทย ถ้าคิดไม่ออกว่าจะกินอะไร มื้อนั้นเราก็มักจะตัดจบด้วยผัดกะเพราละกัน แม้จะเป็นเมนูที่ง่ายกินมื้อไหนก็ได้ แต่ถ้าอยากกินกะเพราดีๆ สักจาน หนึ่งในร้านกะเพราที่หลายคนจะนึกถึงและพุ่งตรงไป คงมีชื่อของ ‘เผ็ดมาร์ค’ ผุดขึ้นมาในลิสต์แน่นอน 
    .
    Phed Mark เผ็ดมาร์ค - Pad Kaprao คือร้านอาหารที่กิตติเดช วิมลรัตน์ นักชิมและนักวิจารณ์อาหารชื่อดัง, พงศ์เทพ อนุรัตน์ นักชิม นักกิน และศิลปิน, มาร์ค วีนส์ ยูทูบเบอร์สายอาหารชื่อดังที่มีสโลแกนว่า ‘ไม่เผ็ดไม่กิน’ และเชฟกิ๊ก-กมล ชอบดีงาม ร่วมกันปลุกปั้นขึ้นด้วยอยากยกระดับอาหารไทยอย่างผัดกะเพราที่เป็นเมนูธรรมดาๆ ให้พิเศษขึ้น พวกเขาจึงเริ่มต้นรีเสิร์ชผัดกะเพราะผ่านการตะเวนกินกะเพราจากทุกร้านที่ขึ้นชื่อ ก่อนจะพัฒนาสูตรจนออกมาเป็นเผ็ดมาร์ค ซึ่งไม่เพียงครองใจเหล่านักกินคนไทย เพราะอาหารของร้านแห่งนี้โด่งดังชนิดที่นักชิมต่างชาติแวะเวียนมาลิ้มรสความเผ็ด
    .
    ด้วยเมนูที่ขายนั้นแสนธรรมดา จึงน่าสนใจว่าเผ็ดมาร์คทำยังไงให้กะเพราและเมนูอาหารจานอื่นๆ เป็นที่รักของเหล่านักกิน อะไรทำให้ร้านกะเพราแห่งนี้ให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบของอาหาร ตั้งแต่การเลือกข้าวไปจนถึงการจัดจานที่ละเมียดละไม ทำไมแค่ผัดกะเพราเพียงหนึ่งจานต้องผ่านขั้นตอนของการรีเสิร์ชมากมาย ตามไปสนทนากับทีมผู้ก่อตั้งทั้งสามคนที่แล้วที่พ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.76 กันเลย

  • ถ้าถามว่าเรื่องไหนทิพย์ที่สุดในปีนี้สำหรับวงการอาหารคงต้องยกให้เรื่องราวของ Mehran’s Steak House ร้านสเต๊กเฮาส์ทิพย์แห่งนิวยอร์กที่ไม่มีอยู่จริง มีเพียงชื่อและรีวิว 5 ดาวในกูเกิลแมปส์ที่ถูกสร้างขึ้นไว้เท่านั้น 
    .
    หลายคนคงสงสัยว่าถ้าเป็นร้านที่ไม่มีอยู่จริง แล้วทำไมถึงมีชื่อในกูเกิลแมปส์ และมีคนเข้าไปรีวิวชื่นชม? 
    .
    จุดเริ่มต้นของ Mehran’s Steak House มาจากการหยอกล้อของเหล่าเพื่อนที่รู้สึกพิเศษในรสมือของเพื่อนรักนักปรุงอาหารที่ชื่อ Mehran Jalali จึงได้ไปรีวิวฝีมือการทำสเต๊กของเพื่อนไว้บนกูเกิลแมปส์แล้วตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า Mehran’s Steak House
    .
    และหลังจากนั้นเรื่องราวความโกลาหลปนน่ารักก็เกิดขึ้น เมื่อผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา ณ ย่านอัปเปอร์อีสต์ไซด์เข้าใจผิดว่านี่คือร้านสเต๊กจริงจนอยากมาลิ้มรสชาติสเต๊กของเมห์รัน มีคนเดินมาเคาะประตูที่หน้าบ้านกันอย่างไม่ขาดสาย จนเพื่อนคนหนึ่งในบ้านที่เป็นไอทีอยู่แล้วก็นึกครึ้มขึ้นมาในใจว่า ลองมาเก็บสถิติกันดูหน่อยเป็นไรว่าจะมีคนอยากลองมากินสเต๊กของเมห์รันสักกี่คนกัน
    .
    สุดท้ายมีคนมาลงชื่อเกือบ 3,000 คน
    .
    เรื่องราวสุดโกลาหลจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ตามไปฟังเรื่องราวทั้งหมดจาก มณีเนตร วรชนะนันท์ พร้อมกันที่พ็อดแคสต์ Bon Appétit EP. 75 ตอนนี้

  • ช่วงเดือนที่ผ่านมา ในโลกโซเชียลได้มีประเด็นร้อนเกี่ยวกับการจดเครื่องหมายการค้า ซึ่งทำให้เรื่องของลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญากลับได้รับการพูดถึงกันอีกครั้งในวงกว้าง แต่อันที่จริงประเด็นที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมานั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีเหตุการณ์คล้ายกันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเคสของสตาร์บัง หรือจะเสือพ่นไฟ 
    .
    ประเด็นการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา หากมองในมิติข้อดีก็จะเห็นว่าเป็นวิธีที่จะคุ้มครองในความคิดสร้างสรรค์และป้องกันการลอกเลียนแบบได้ โดยเฉพาะสำหรับคนทำธุรกิจที่มีแบรนด์ของตัวเองและไม่ได้จดทะเบียนเพื่อปกป้องนวัตกรรมของตัวเอง คุณก็อาจกลายเป็นผู้เสียหายได้แบบไม่รู้ตัว
    .
    รายการพ็อดแคสต์ Bon Appétit ตอนนี้จึงได้ชวนอาจารย์ ‘ดิว’ -บุญยศิษย์ บุญโพธิ์ มาพูดคุยถึงเรื่องกฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องอาหาร ตั้งแต่เรื่องของลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ไปสิทธิบัตร เพื่อให้เหล่าร้านค้า ร้านอาหาร และผู้ประกอบการได้ศึกษาและเข้าใจถึงการจดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างลงลึก หากพร้อมแล้วตามไปฟังได้ใน Bon Appétit EP.74 กันเลย

  • อาจกล่าวได้ว่า ไวน์คือเครื่องดื่มที่แทรกซึมอยู่ในทุกอารยธรรม ทุกดินแดนแห่งหน โดยเฉพาะดินแดนอย่างฝรั่งเศส ไวน์เป็นเสมือนเครื่องดื่มประจำชาติ เป็นของสามัญประจำบ้านและร้านอาหาร แถมคนฝรั่งเศสก็ไม่ดื่มเฉพาะวันเลี้ยงฉลองเท่านั้น แต่ดื่มไวน์กันทุกวัน จนไวน์ถือเป็นเครื่องดื่มกระแสหลักของชาวปารีเซียง
    .
    ไวน์ในฝรั่งเศสมีภาพอย่างที่เล่ามาข้างต้น จนเมื่อเดือนที่ผ่านมา ไวน์อันเป็นสินค้าสามัญประจำฝรั่งเศสเกิดสภาวะล้นตลาดและตัวเลขการดื่มไวน์เองก็ลดลง ส่งผลให้ราคาไวน์ในตลาดลดฮวบอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการซื้อและการผลิตที่ไม่สัมพันธ์กัน รัฐบาลฝรั่งเศสจึงทุ่มงบหลายล้านยูโรเพื่อทำลายไวน์ทิ้ง 
    .
    นอกจากต้องแก้ปัญหาไวน์ล้นตลาดด้วยการทำลายไวน์แล้ว ความต้องการไวน์ที่ลดลงยังส่งผลต่อเกษตรกรผู้ปลูกองุ่น รัฐบาลฝรั่งเศสทำวิธีไหนเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกร และเรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจโลกยังไง ตามมณีเนตร วรชนะนันท์ ไปหาคำตอบพร้อมกันในพ็อดแคสต์ Bon Appétit EP.73 ตอนนี้